استحباب صيام تاسوعاء مع عاشوراء

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: استحباب صيام تاسوعاء مع عاشوراء
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: سؤال أجاب عنه فضيلة الشيخ محمد صالح المنجد - حفظه الله -، ونصه: «أريد أن أصوم عاشوراء هذه السنة، وأخبرني بعض الناس بأن السنة أن أصوم مع عاشوراء اليوم الذي قبله (تاسوعاء). فهل ورد أن النبي - صلى الله عليه وسلم - أرشد إلى ذلك؟».
تأريخ الإضافة: 2009-12-20
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/261182
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์)
356.5 KB
فتح: ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์).doc
2.
ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์)
354.3 KB
فتح: ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์).pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์)

 

คำถาม:

ฉันประสงค์ที่จะถือศีลอดวันอาชูอรออ์ในปีนี้ และก็มีบางคนได้บอกแก่ฉันว่าที่เป็นสุนนะฮฺคือการที่ฉันถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวันพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ ดังกล่าวนี้มีอ้างอิงจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ปฏิบัติเช่นนั้นหรือไม่ ?

 

คำตอบ:

อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมาเล่าว่า:

حِينَ صَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ إِنَّهُ يَوْمٌ تُعَظِّمُهُ الْيَهُودُ وَالنَّصَارَى فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «فَإِذَا كَانَ الْعَامُ الْمُقْبِلُ إِنْ شَاءَ اللهُ صُمْنَا الْيَوْمَ التَّاسِعَ» قَالَ فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّيَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

ความว่า: เมื่อครั้งเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์และท่านได้สั่งใช้ให้ผู้คนได้ถือศีลอดนั้น ปรากฏว่ามีเศาะหาบะฮฺได้กล่าวแก่ท่านว่า "โอ้เราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงมันคือวันที่ชาวยิวและชาวคริสต์เทิดทูนมัน" ดังนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า: "เมื่อถึงปีหน้า อินชาอัลลอฮฺ พวกเราจะถือศีลอดวันที่เก้าด้วย" ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า: "และไม่ทันที่ปีหน้าจะมาถึง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เสียชีวิต" [บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่: 1916]

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์และบรรดาสหายของท่าน อิมามอะหฺมัด อิสหาก และอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ กล่าวว่า: "ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าและวันที่สิบด้วยกัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดวันที่สิบ และได้ตั้งใจที่จะถือศีลอดวันที่เก้า"

และด้วยประการนี้ ระดับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ที่ต่ำที่สุดคือการถือศีลอดวันที่สิบเพียงวันเดียว และที่ดีกว่านั้นคือการถือศีลอดวันที่เก้าด้วย และหากถือศีลอดให้มากในเดือนมุหัรฺร็อมก็ถือว่าประเสริฐกว่าและดีกว่า

และหากท่านจะถามว่า: อะไรคือวิทยปัญญาที่ให้ถือศีลอดวันที่เก้าพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ?

คำตอบคือ ท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า: บรรดาอุลุมาอ์ในมัซฮับของเราและอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ ได้ระบุถึงวิทยปัญญาหลายประการที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าด้วยดังนี้

1. เพื่อเป็นการขัดแย้งกับการปฏิบัติของชาวยิวที่ถือศีลอดเฉพาะวันที่สิบ และนี่คือรายงานจากท่านอิบนุอับบาส

2. เพื่อเป็นการต่อการถือศีลอดวันอาชูรออ์ด้วยกับการถือศีลอดอีกวันหนึ่ง ดังที่ได้ห้ามการศีลอดเฉพาะวันศุกร์วันเดียว

3. เพื่อเป็นการเผื่อในการถือศีลอดวันที่สิบ กล่าวคือเกรงว่าเดือนจะขาด และอาจเกิดความผิดพลาด ดังนั้นวันที่เก้าอาจจะเป็นวันที่สิบ

และทรรศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวคัมภีร์ ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมิยะฮฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า: "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการเลียนแบบชาวคัมภีร์ซึ่งมีรายงานในบรรดาหะดีษมากมาย ดังเช่นคำกล่าวของท่าน...เกี่ยวกับวันอาชูรออ์ว่า: "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้าด้วย" [อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ, เล่มที่: 6]

ท่านอิบนุหะญัรฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในการอรรถาธิบายหะดีษ  "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้า" ว่า: "การที่ท่านปราถนาจะถือศีลอดในวันที่เก้า ความหมายของมัน อาจหมายถึงว่าการไม่ได้เจาะจงถือศีลอดเฉพาะวันที่เก้า แต่หมายถึงการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเผื่อ หรือไม่ก็เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวยิวและคริสต์ และนี่คือทรรศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า และคือข้อบ่งชี้ในบางรายงานของอิมามมุสลิม" [ฟัตหุลบารีย์, 4/245]

 

คำตอบโดย เว็บ อิสลามถามตอบ

//www.islam-qa.com/ar/ref/21785

 

Go to the Top