هل يثبت أجر عاشوراء لمن نوى صيامه أثناء اليوم؟

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: هل يثبت أجر عاشوراء لمن نوى صيامه أثناء اليوم؟
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: أعلم بفضيلة صيام يوم عاشوراء وأنه يكفِّر السنة التي قبله ، ولكن لأن العمل عندنا جارٍ بالتقويم الميلادي لم أعلم بيوم عاشوراء إلا في صباحه ولم أكن أكلت شيئا فنويت الصيام ، فهل صومي صحيح ، وهل أحصَّل فضيلة هذا اليوم وتكفير السنة التي قبله ؟ . سؤال أجيب عليه في موقع الإسلام سؤال وجواب
تأريخ الإضافة: 2009-12-24
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/261381
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ผู้ที่เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ระหว่างวันจะได้รับผลบุญการถือศีลอดอาชูรออ์หรือไม่ ?
279 KB
فتح: ผู้ที่เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ระหว่างวันจะได้รับผลบุญการถือศีลอดอาชูรออ์หรือไม่ ?.doc
2.
ผู้ที่เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ระหว่างวันจะได้รับผลบุญการถือศีลอดอาชูรออ์หรือไม่ ?
297.4 KB
فتح: ผู้ที่เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ระหว่างวันจะได้รับผลบุญการถือศีลอดอาชูรออ์หรือไม่ ?.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ผู้ที่เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ระหว่างวันจะได้รับผลบุญการถือศีลอดอาชูรออ์หรือไม่ ?

 

ถาม : ฉันทราบถึงความประเสริฐของการถือศีลอดวันอาชูรออ์ว่ามันสามารถลบล้างบาปในปีที่ผ่านมาได้ แต่ว่าโดยปกติแล้วเราจะใช้ปฏิทินสุริยคติในการนับวัน ซึ่งฉันไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าวันไหนเป็นวันอาชูรออ์จนกระทั่งเวลาเลยเข้าไปในช่วงเช้าของมันแล้ว เช้านั้นฉันยังไม่ได้รับประทานอะไรและฉันก็ได้เนียตถือศีลอดตั้งแต่ตอนนั้น ขอเรียนถามว่าการถือศีลอดของฉันถูกต้องหรือไม่ และฉันจะได้รับผลบุญความประเสริฐของการถือศีลอดในวันนี้และได้รับการลบล้างบาปในปีที่ผ่านมาหรือไม่ ?

 

ตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ

ขอสรรเสริญอัลลอฮฺ ที่ได้ทรงอำนวยให้ท่านมีความพยายามที่จะปฏิบัติอะมัลต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ทำและการเชื่อฟังทำความดีต่ออัลลอฮฺ เราขอให้พระองค์ทรงทำให้เราและท่านได้ยืนหยัดบนสิ่งนั้นตลอดไปด้วยเทอญ

สิ่งที่ท่านได้ถามเกี่ยวกับประเด็นการเนียตถือศีลอดในเวลากลางคืนนั้น ได้มีรายงานยืนยันจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่บ่งชี้ว่าการถือศีลอดสุนัตโดยเนียตเจตนาในช่วงกลางวันนั้นถือว่าใช้ได้ ตราบใดที่คนผู้นั้นไม่ได้รับประทานอาหารหรือทำเหตุแห่งการละศีลอดหลังเวลาฟัจญ์รฺ(รุ่งอรุณ)แล้ว ท่านอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้าไปหาภรรยาของท่านในวันหนึ่งแล้วถามว่า “พวกท่านมีอะไรบ้าง ?” (หมายถึงมีอาหารอะไรให้ทานบ้าง) พวกเขาตอบว่า ไม่มีเลย ท่านจึงกล่าวว่า “ดังนั้น วันนี้ฉันก็จะถือศีลอด” (บันทึกโดย มุสลิม 170, 1154)

หะดีษนี้ชี้ว่าอนุญาตให้เริ่มตั้งเจตนาเนียตถือศีลอดสุนัตในช่วงกลางวันได้ ซึ่งไม่เหมือนกับการถือศีลอดวาญิบที่จำเป็นต้องเนียตในเวลากลางคืนเท่านั้น เนื่องจากมีหะดีษว่า

«من لم يبيّت الصيام قبل الفجر فلا صيام له»

ความว่า “ผู้ใดที่ไม่เนียตถือศีลอดในเวลากลางคืนก่อนรุ่งอรุณ ก็จะไม่มีการถือศีลอดสำหรับเขา” (อบู ดาวูด 2454 อัต-ติรมิซีย์ 726 อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเศาะฮีหฺ ใน เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 6535)

 

ความหมายของการถือศีลอดในหะดีษนี้ก็คือการถือศีลอดที่เป็นฟัรฎู

 

ด้วยเหตุนี้ การถือศีลอดของท่านที่ท่านได้ถามมานั้นจึงถือว่าถูกต้อง ส่วนผลบุญจากการถือศีลอดที่ว่านั้นจะได้เท่ากับหนึ่งวันเต็มหรือเท่ากับครึ่งวันเท่านั้น ? ประเด็นนี้ท่านเชค อัล-อุษัยมีน ได้กล่าวว่า

“เรื่องนี้มีสองทัศนะในหมู่อุละมาอ์ ทัศนะแรกเห็นว่า เขาจะได้รับผลบุญเต็มตั้งแต่เริ่มเวลากลางวัน เพราะการถือศีลอดตามหลักศาสนบัญญัตินั้นย่อมต้องเริ่มนับตั้งแต่เช้าช่วงที่เริ่มเวลากลางวัน

ทัศนะที่สองเห็นว่า เขาจะไม่ได้รับผลบุญนอกเสียจากตั้งแต่เวลาที่เขาเริ่มตั้งใจเนียตเท่านั้น ถ้าเขาเริ่มเนียตช่วงที่ตะวันคล้อยไปแล้วเขาก็จะได้รับผลบุญแค่ครึ่งวัน นี่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง เพราะวจนะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า “การงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาเนียต และทุกๆคนจะได้รับตามที่เขาตั้งเจตนา” ในเมื่อคนผู้นี้เริ่มเนียตระหว่างเวลากลางวัน เขาก็จะได้รับการคิดผลบุญให้ตั้งแต่เวลาที่เขาเริ่มเนียต

ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่านี่เอง หากว่าการถือศีลอดนั้นเป็นการถือศีลอดที่เจาะจงเป็นวัน เช่น วันจันทร์ วันพฤหัสบดี วันเดือนขึ้น หรือการถือศีลอดสามวันในแต่ละเดือน โดยได้ตั้งเจตนาเนียตถือศีลอดระหว่างวัน(ไม่ได้เนียตในช่วงเวลากลางคืน) ผลบุญของการถือศีลอดสำหรับวันนั้นๆ ก็ไม่อาจที่จะยืนยันแก่เขาได้” (อัช-ชัรหุล มุมติอฺ 6/373)

หุก่มที่ว่านี้สอดคล้องกับกรณีที่คนผู้หนึ่งไม่ได้เนียตถือศีลอดอาชูรออ์ในเวลากลางคืนด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เขาจะไม่ได้รับผลบุญการลบล้างบาปหนึ่งปีที่ผ่านมาตามที่ระบุไว้สำหรับการถือศีลอดอาชูรออ์ เพราะกรณีดังกล่าวไม่นับว่าเขาได้ถือศีลอดอาชูรออ์(อย่างสมบูรณ์) แต่เขาได้ถือศีลอดแค่ส่วนหนึ่งของอาชูรออ์เท่านั้น คือนับตั้งแต่เวลาที่เขาเริ่มตั้งเจตนา

อย่างไรก็ตาม เขายังคงได้รับผลบุญตามปกติจากการถือศีลอดในเดือนมุหัรร็อม ซึ่งเป็นการถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน (ตามที่ระบุในหะดีษซึ่งรายงานโดยมุสลิม 1163)

และอาจเป็นไปได้ว่า สาเหตุที่ท่านและคนส่วนใหญ่ทั่วไปไม่ทราบว่าวันไหนเป็นวันอาชูรออ์ – เช่นเดียวกับวันอื่นๆ เช่น วันเดือนขึ้น – นอกเสียจากเมื่อมันเลยเวลาเข้าไประหว่างวันแล้วเท่านั้น เป็นเพราะว่าเราใช้ปฏิทินสุริยคติเป็นเกณฑ์เสียส่วนมาก ดังนั้น จึงหวังว่าการพลาดความประเสริฐเช่นนี้คงจะเป็นแรงผลักดันให้ท่านและคนอื่นๆ ที่อัลลอฮฺประทานให้เขายืนหยัดบนการปฏิบัติตนทำความดี ให้กลับมาใช้ปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺตามแบบจันทรคติ – ซึ่งเป็นการนับคำนวนวันที่อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติและทรงโปรดปรานแก่ปวงบ่าวของพระองค์ – แม้ว่าจะจำกัดในวงแคบๆ เกี่ยวกับงานส่วนตัวของเขาหรือการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างพวกเขากันเองก็ตามที เพื่อเป็นการฟื้นฟูการใช้ปฏิทินนี้และเพื่อให้รำลึกถึงโอกาสต่างๆ ตามศาสนบัญญัติ และเพื่อให้สวนทางกับบรรดาอะฮฺลุลกิตาบที่เราถูกสั่งใช้ให้ปฏิบัติแตกต่างและพิเศษไปจากพวกเขาในด้านเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ต่างๆ ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว การใช้ปฏิทินจันทรคตินี้เป็นปฏิทินเดียวกันที่บรรดานบีก่อนหน้าได้เคยใช้มาแล้ว อันเป็นผลสรุปที่วิเคราะห์ได้มาจากหะดีษที่พวกยิวระบุถึงสาเหตุที่พวกเขาถือศีลอดในวันอาชูรออ์ – ซึ่งเป็นวันที่รู้กันโดยใช้ปฏิทินจันทรคติ – ว่า มันเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงให้นบีมูซาได้ปลอดภัยจากศัตรู หะดีษนี้ชี้ว่าพวกเขาใช้ปฏิทินจันทรคติ ไม่ใช่ปฏิทินสุริยคติตามเดือนของพวกตะวันตกแต่ประการใด (อัช-ชัรหุล มุมติอฺ 6/671)

เราหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงทำให้การพลาดความประเสริฐที่จำเพาะนี้เป็นสิ่งที่ดีแก่ท่านและผู้ที่มีความมุมานะในการทำความดีเยี่ยงท่าน ด้วยการที่ท่านได้รู้สึกว่าท่านพลาดผลบุญนี้ไป ซึ่งมันจะเรียกร้องให้เขาเพิ่มความพยายามที่จะทำความดี อันเป็นเหตุที่จะนำไปสู่การทำความดีต่างๆ อีกมากมายที่อาจจะมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการทำความดีอันหนึ่งอันใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจจะเป็นงานเพียงประเภทเดียวที่เขาใส่ใจมัน จนทำให้เขาเกียจคร้านที่จะทำดีอื่นๆอีก และมันอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเกิดความลำพองในตนเองและอวดอ้างกับอัลลอฮฺด้วยการทำความดีนั้นๆ

เราวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ประทานความประเสริฐและผลบุญของพระองค์ และขอพระองค์ทรงช่วยเหลือเราในการรำลึกและการขอบคุณต่อพระองค์ด้วยเทอญ

 

เว็บไซต์อิสลามถามตอบ

ฟัตวาหมายเลข 21819

 

Go to the Top