หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด

บทความ การ์ดของข้อมูล
หัวข้อ: หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด
ภาษา: ไทย
ผู้เขียน: อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์
ผู้แปล: ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
คำอธิบายโดยย่อ: จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ
วันที่เพิ่ม: 2010-08-23
ลิงก์แบบย่อ: http://IslamHouse.com/320461
:: หัวข้อนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ ::
คำแปลของการ์ดข้อมูลในภาษาต่างๆ: อาหรับ
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล ( 2 )
1.
หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด
462 KB
: หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด.doc
2.
หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด
173.3 KB
: หะดีษที่ 23 - ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด.pdf
คำอธิบายโดยละเอียด

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

หะดีษบทที่ 23

ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารละศีลอด

 

عَنْ زَيْدِ بْنِ خَالِدٍ الْجُهَنِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا». (الترمذي رقم735، صحيح سنن الترمذي رقم647: صحيح)

 

ความว่า จากท่านซัยดฺ อิบนุ คอลิด อัล-ญุฮะนีย์ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ใดที่เลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ถือศีลอด(ที่เขาให้อาหาร) โดยที่ผลบุญนั้น (หมายถึงผลบุญเดิมของผู้ถือศีลอดที่เขาเลี้ยงอาหาร) ไม่ได้ลดน้อยลงไปจากผู้ถือศีลอดนั้นแต่อย่างใด(รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 735 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 647 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

 

บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของผู้ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญอย่างเต็มเปี่ยม เหมือนคนที่ถือศีลอด โดยที่ผลบุญดังกล่าวจะไม่ลดไปจากผู้ถือศีลอดที่เขาเลี้ยงอาหารนั้นแม้แต่น้อย

2.  ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ถือศีลอด ไม่ว่าเขาจะเป็นคนที่ร่ำรวยหรือยากจน

3.   อาหารหรือเครื่องดื่มที่จัดเตรียมให้แก่ผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะต้องมาจากทรัพย์สินที่หะลาล

4.   ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นลักษณะของผู้ที่เป็นมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเราะมะฎอน

5.   สังคมอิสลามเป็นสังคมที่มีความรักใคร่ปรองดองกัน มีการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง ( 22 )
Go to the Top