من أركان الإيمان : الإيمان بالرسل

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: من أركان الإيمان : الإيمان بالرسل
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: مقالة مُترجَمة إلى اللغة التايلندية مقتبسة من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد بن إبراهيم التويجري - أثابه الله - وتحتوي على بيان العناصر التالية:
• معنى الإيمان بالرسل • تربية الأنبياء وأتباعهم • بعث الأنبياء والرسل • عدد الأنبياء والرسل • أولو العزم من الرسل • أول الرسل • آخر الرسل • إلى مَنْ بعث الله الأنبياء والرسل • الحكمة من بعثة الأنبياء والرسل • صفات الأنبياء والرسل • خصائص الأنبياء والرسل • حكم الإيمان بالأنبياء والرسل • ثمرات الإيمان بالأنبياء والرسل.
تأريخ الإضافة: 2007-10-17
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/57642
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي - بنغالي - مليالم - بوسني - أوزبكي - إنجليزي
نبذة موسعة

การศรัทธาต่อบรรดารอซูล คือการเชื่ออย่างสัตย์จริงและแน่วแน่ว่าอัลลอฮฺตะอาลาได้ส่งรอซูลไปยังทุกประชาชาติ เพื่อทำหน้าที่เรียกร้องสู่การภักดีและเคารพบูชาอัลลอฮฺตะอาลาแต่เพียงผู้เดียว และปฏิเสธการกราบไหว้บูชาและเคารพภักดีนอกเหนือจากพระองค์ บรรดารอซูลทั้งหมดเป็นศาสนทูตที่ซื่อสัตย์ และพวกเขาได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ทุกอย่างตามที่ได้รับคำสั่งมาจากอัลลอฮฺ ในบรรดารอซูลทั้งหลายมีผู้ที่อัลลอฮฺได้ให้พวกเราได้รับรู้ในชื่อของพวกเขา และมีผู้ที่อัลลอฮฺได้ปกปิดมิให้พวกเราได้รับรู้แต่อย่างใด

- การอบรมสั่งสอนบรรดานบีและผู้เจริญรอยตามทางเดินของบรรดานบี

            อัลลอฮฺตะอาลาได้อบรมสั่งสอนบรรดานบี และผู้เจริญรอยตามนบี ด้วยการพยายามตนเองให้ซึมซับในอีมานเป็นอันดับแรกด้วยการหมั่นปฏิบัติในอิบาดะฮฺ การตัซกิยะฮฺ(การชำระจิตใจ) การพินิจพิเคราะห์ การคิดใคร่ครวญ การอดทน การเสียสละทุกอย่างเพื่อศาสนา การทุ่มเทและอุทิศตนเพื่อประกาศศักดาของศาสนากระทั่งความศรัทธาได้สมบูรณ์ในชีวิตของพวกเขา และจิตใจของพวกเขาเต็มด้วยความเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสร้างทุกอย่าง และทุกสรรพสิ่งอยู่ในเอื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์ผู้เดียวที่ควรแก่เคารพภักดีและสักการะบูชา  แล้วพวกเขาก็จะพยายามปกปักษ์รักษาอีมาน(การศรัทธา) ด้วยการรักษาความเป็นอยู่ของสภาวะแวดล้อมที่ดีด้วยวิธีต่างๆ อาทิเช่น การบำรุงรักษามัสยิดด้วยการฟื้นฟูให้เปี่ยมด้วยอีมานและอามัลศอลิหฺ

            พวกเขาจะพยายามทำงานเพื่อความจำเป็นของศาสนาและความจำเป็นของพวกเขาเองด้วยการพึ่งความช่วยเหลือจากการศรัทธา ด้วยการที่พวกเขาเชื่อด้วยความมั่นอกมั่นใจว่าอัลลอฮฺจะอยู่กับพวกเขาแม้พวกเขาจะอยู่ หนแห่งใดก็ตาม อัลลอฮฺจะคอยช่วยเหลือ ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และให้การสนับสนุนพวกเขา ดังเช่นที่อัลลอฮฺได้ให้ความช่วยเหลือกับบรรดามุสลิมในสงครามบัดร์ ตอนเปิดนครมักกะห์ สงครามหุนัยน์ และสงครามอื่นๆ พวกเขาจะมอบความเชื่อมั่นแก่อัลลอฮฺ และพวกเขาจะไม่มอบความเชื่อมั่นใดๆแก่ผู้อื่นและสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว และพวกเขายังมีความพยายามในการเผยแผ่ศรัทธาในหมู่ชนของพวกเขาและผู้คนที่พวกเขาถูกส่งมา เพื่อให้พวกเขาเคารพภักดีและสักการะบูชาแด่อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ และพวกเขายังได้สั่งสอนความรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ และได้อ่านโองการต่างๆของพระเจ้าให้พวกเขาได้รับฟัง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الأمِّيِّينَ رَسُولا مِنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلالٍ مُبِينٍ، وَآخَرِينَ مِنْهُمْ لَمَّا يَلْحَقُوا بِهِمْ وَهُوَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ، ذَلِكَ فَضْلُ اللَّهِ يُؤْتِيهِ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ ذُو الْفَضْلِ الْعَظِيمِ»

ความว่า "พระองค์เป็นผู้แต่งตั้งรอซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเองเพื่อสาธยายโองการต่างๆ ของพระองค์แก่พวกเขา ให้เขาอบรมพวกเขาเหล่านั้นให้ผุดผ่อง ให้สอนคัมภีร์และหิกมะฮฺ(ความรู้แห่งวิทยปัญญา)แก่พวกเขา และแท้จริง ก่อนนี้พวกเขาอยู่ในทางหลงผิดอย่างชัดแจ้ง  และคนอื่นๆ ในกลุ่มพวกเขาที่จะติดตามมาภายหลัง(หมายถึงบรรดาผู้ศรัทธาที่ไม่ได้อยู่ในยุคสมัยของท่านรอซูล) และพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ นั่นคือความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่ทรงประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง (อัล-ญุมุอะฮฺ : 2-4)

รอซูล หมายถึง ผู้ที่อัลลอฮฺได้ประทานวะห์ยูเกี่ยวกับชะรีอะฮฺ(บัญญัติต่างๆ) และคำบัญชาของพระองค์  เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้ที่ไม่รู้หรือผู้ที่รู้แต่ยังปฏิเสธ

            นบี หมายถึง  ผู้ที่อัลลอฮฺได้ประทานวะห์ยูด้วยชะรีอะฮฺเดิมของศาสนทูตก่อนหน้าเขา เพื่อที่พวกเขาได้เผยแพร่ไปยังบรรดาพรรคพวกและกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายของชะรีอะฮฺดังกล่าว เพื่อฟื้นฟูให้บรรดาคนเหล่านั้นได้มาปฏิบัติชะรีอะฮฺอีกครั้ง รอซูลทุกคนเป็นนบี แต่ตรงกันข้ามกันคือนบีทุกคนอาจจะไม่ใช่รอซูล

- การแต่งตั้งนบีและรอซูล

            ไม่มีประชาชาติใดที่ไม่มีรอซูลที่อัลลอฮฺได้ส่งมาพร้อมกับบัญญัติต่างๆ ที่เป็นเอกเทศไปยังกลุ่มชนของพวกเขา  หรือนบีที่อัลลอฮฺประทานวะห์ยูแก่เขาด้วยชะรีอะฮฺที่เคยถูกประทานลงมาก่อนหน้านั้นเพื่อการฟื้นฟูหรือบูรณะขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ»

ความว่าและโดยแน่นอน เราได้ส่งรอซูลมาในทุกประชาชาติ(โดยให้เขากล่าวว่า) พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด (อัน-นะห์ลุ : 36)

2. และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า

«إِنَّا أَنْزَلْنَا التَّوْرَاةَ فِيهَا هُدًى وَنُورٌ يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّونَ الَّذِينَ أَسْلَمُوا لِلَّذِينَ هَادُوا وَالرَّبَّانِيُّونَ وَالأحْبَارُ»

ความว่าแท้จริงเราได้ให้อัต-เตารอตลงมา โดยที่ในนั้นมีข้อแนะนำและแสงสว่าง  ซึ่งบรรดานบีที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัต-เตารอตตัดสินบรรดาผู้ที่เป็นยิว บรรดาผู้รู้ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมจรรยาและบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ใช้อัต-เตารอตตัดสินเช่นกัน” (อัล-มาอิดะฮฺ : 44)

จำนวนนบีและรอซูลของอัลลอฮฺ

            จำนวนนบีและรอซูลของอัลลอฮฺมีมากมายหลายท่าน

            หนึ่ง ในบรรดานบีและรอซูลมีจำนวนหนึ่งที่อัลลอฮฺได้กล่าวชื่อของพวกเขาในอัลกุรอานและอัลลอฮฺได้เล่าประวัติของพวกเขาให้พวกเราได้รับรู้  บรรดานบีและรอซูลดังกล่าวนี้มีจำนวน   25  คน

1. อาดัม ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับอาดัมในอัลกุรอานว่า

«وَلَقَدْ عَهِدْنَا إِلَى آدَمَ مِنْ قَبْلُ فَنَسِيَ وَلَمْ نَجِدْ لَهُ عَزْمًا»

ความว่า "และโดยแน่นอน เราได้เอาสัญญากับอาดัมแต่กาลก่อน ทว่าเขาได้ลืม และเราไม่พบความมุ่งมั่นในตัวเขา(หลังจากที่เขาลืม)" (ฏอฮา : 115)

2. นบีและรอซูลจำนวนหนึ่ง ที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงในอัลกุรอานว่า

«وَتِلْكَ حُجَّتُنَا آتَيْنَاهَا إِبْرَاهِيمَ عَلَى قَوْمِهِ نَرْفَعُ دَرَجَاتٍ مَنْ نَشَاءُ إِنَّ رَبَّكَ حَكِيمٌ عَلِيمٌ، وَوَهَبْنَا لَهُ إِسْحَاقَ وَيَعْقُوبَ كُلا هَدَيْنَا وَنُوحًا هَدَيْنَا مِنْ قَبْلُ وَمِنْ ذُرِّيَّتِهِ دَاوُدَ وَسُلَيْمَانَ وَأَيُّوبَ وَيُوسُفَ وَمُوسَى وَهَارُونَ وَكَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ، وَزَكَرِيَّا وَيَحْيَى وَعِيسَى وَإِلْيَاسَ كُلٌّ مِنَ الصَّالِحِينَ، وَإِسْمَاعِيلَ وَالْيَسَعَ وَيُونُسَ وَلُوطًا وَكُلا فَضَّلْنَا عَلَى الْعَالَمِينَ ، وَمِنْ آبَائِهِمْ وَذُرِّيَّاتِهِمْ وَإِخْوَانِهِمْ وَاجْتَبَيْنَاهُمْ وَهَدَيْنَاهُمْ إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ، ذَلِكَ هُدَى اللَّهِ يَهْدِي بِهِ مَنْ يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ وَلَوْ أَشْرَكُوا لَحَبِطَ عَنْهُمْ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ،  أُولَئِكَ الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ وَالْحُكْمَ وَالنُّبُوَّةَ»

ความว่า "และนั่นคือ หลักฐานของเราที่ได้ให้แก่ท่านอิบรอฮีมโดยมีฐานะเหนือกลุ่มชนของเขา  เราจะยกขึ้นหลายชั้นแก่ผู้ที่เราประสงค์ แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้านั้นเป็นผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้   และเราได้ประทานให้แก่เขาซึ่งอิสหากและยะอฺกูบ ทั้งหมดนั้นเราได้แนะนำแล้ว และนูหฺเราได้แนะนำแล้วก่อนหน้านั้น และจากลูกหลานของเขานั้นคือดาวูดและสุลัยมาน อัยยูบและยูซุฟ มูซาและฮารูน และทำนองนั้นแหละเราจะตอบแทนแก่ผู้กระทำดีทั้งหลาย  และซะกะรียา ยะหฺยา อีซา และอิลยาส ทุกคนนั้นอยู่ในหมู่คนดี  และอิสมาอีล อัลยะสะอฺ ยูนุส และลูฏ  แต่ละคนนั้นเราได้ให้ดีเด่นเหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย  และ(เราได้ให้ดีเด่นอีก)ซึ่งส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษของพวกเขา และลูกหลานของพวกเขาและพี่น้องของพวกเขา และเราได้เลือกพวกเขา  และได้แนะนำพวกเขาไปสู่ทางอันเที่ยงตรง นั่นแหละคือคำแนะนำของอัลลอฮฺโดยที่พระองค์จะทรงแนะนำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์  และหากพวกเขาได้ให้มีภาคีขึ้นแล้ว  แน่นอนสิ่งที่พวกเขาเคยกระทำกันมา ก็สูญสิ้นไปจากพวกเขา  ชนเหล่านี้คือผู้ที่เราได้ประทานคัมภีร์ให้แก่พวกเขาและประทานความรู้ในคัมภีร์ให้ และประทานการเป็นนบีให้ด้วย" (อัล-อันอาม : 83-89)

3. นบีอิดรีส ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้กล่าวเกี่ยวกับนบีอิดรีสว่า

«وَاذْكُرْ فِي الْكِتَابِ إِدْرِيسَ إِنَّهُ كَانَ صِدِّيقًا نَبِيًّا»

ความว่า "และจงกล่าวถึงเรื่องอิดรีสที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์ในฐานะนบี" (มัรยัม : 56)

4. นบีฮูด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้กล่าวเกี่ยวกับฮูดว่า

«كَذَّبَتْ عَادٌ الْمُرْسَلِينَ، إِذْ قَالَ لَهُمْ أَخُوهُمْ هُودٌ أَلا تَتَّقُونَ، إِنِّي لَكُمْ رَسُولٌ أَمِينٌ»

ความว่า "หมู่ชนอ๊าดได้ปฏิเสธบรรดารอซูล ขณะที่พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือฮูดได้กล่าวแก่พวกเขาว่า โอ้พวกท่านไม่ยำเกรงกันบ้างหรือ แท้จริงฉันคือรอซูลผู้ซื่อสัตย์สำหรับพวกท่าน" (อัช-ชุอะรออ์ : 123-125)

5. นบีศอลิหฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้กล่าวเกี่ยวกับนบีศอลิหฺว่า

«كَذَّبَتْ ثَمُودُ الْمُرْسَلِينَ، إِذْ قَالَ لَهُمْ أَخُوهُمْ صَالِحٌ أَلا تَتَّقُونَ، إِنِّي لَكُمْ رَسُولٌ أَمِينٌ»

ความว่า หมู่ชนษะมู๊ดได้ปฏิเสธบรรดารอซูล ขณะที่พี่น้องของพวกเขาคือศอลิหฺ ได้กล่าวแก่พวกเขา โอ้พวกท่านไม่ยำเกรงบ้างหรือ แท้จริงฉันคือรอซูลผู้ที่ซื่อสัตย์สำหรับพวกท่าน(อัช-ชุอะรออ์ : 141-143)

6. นบีชุอัยบ์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับนบีชุอัยบ์ว่า

«كَذَّبَ أَصْحَابُ الأيْكَةِ الْمُرْسَلِينَ، إِذْ قَالَ لَهُمْ شُعَيْبٌ أَلا تَتَّقُونَ، إِنِّي لَكُمْ رَسُولٌ أَمِينٌ»

ความว่า  "พวกที่(บูชา)อัยกะฮฺ(ต้นไม้ชนิดหนึ่ง)ได้ปฏิเสธบรรดารอซูล ขณะที่ชุอัยบ์ได้กล่าวแก่พวกเขาว่า โอ้พวกท่านไม่ยำเกรงบ้างหรือ แท้จริงฉันคือรอซูลผู้ซื่อสัตย์สำหรับพวกท่าน" (อัช-ชุอะรออ์ : 176-178)

7. นบีซุลกิฟลี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้กล่าวเกี่ยวกับนบีซุลกิฟลีว่า

«وَاذْكُرْ إِسْمَاعِيلَ وَالْيَسَعَ وَذَا الْكِفْلِ وَكُلٌّ مِنَ الأخْيَارِ»

ความว่า  "และจงกล่าวถึงอิสมาอีล และอัลยะสะอฺ และซุลกิฟลี ทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ" (ศอด : 48)

8. นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้กล่าวเกี่ยวกับนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«مَا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِنْ رِجَالِكُمْ وَلَكِنْ رَسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ»

ความว่า "มุหัมมัดไม่ได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และเป็นคนสุดท้ายแห่งบรรดานบี" (อัล-อะหฺซาบ : 40)   

สอง และในบรรดานบีและรอซูล(อะลัยฮิสสลาม) จำนวนหนึ่งที่เราไม่ได้รับรู้ในชื่อของพวกเขา และอัลลอฮฺก็ไม่ได้บอกเล่าประวัติของพวกเขาให้พวกเราได้รับรู้เช่นกัน  แต่เราก็ศรัทธาต่อพวกเขาโดยรวม

            1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلا مِنْ قَبْلِكَ مِنْهُمْ مَنْ قَصَصْنَا عَلَيْكَ وَمِنْهُمْ مَنْ لَمْ نَقْصُصْ عَلَيْكَ»

ความว่า "และโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูลมาก่อนหน้าเจ้า บางคนในหมู่พวกเขามีผู้ที่เราบอกเล่าแก่เจ้า และบางคนในหมู่พวกเขามีผู้ที่เรามิได้บอกเล่าแก่เจ้า" (ฆอฟิร : 78)

            2. หะดีษที่รายงานจากอบี อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า

قال أبو ذر رضي الله عنه : قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ كَمْ وَفَّى عِدَّةُ الأَنْبِيَاءِ؟ قَالَ : «مِائَةُ أَلْفٍ وَأَرْبَعَةٌ وَعِشْرُونَ أَلْفًا، الرُّسُلُ مِنْ ذَلِكَ ثَلَاثُ مِائَةٍ وَخَمْسَةَ عَشَرَ، جَمًّا غَفِيرًا»

ความว่า ท่านอบู ซัร ได้กล่าวว่า ฉันได้เอ่ยถามท่านรอซูลว่า : โอ้ ท่านผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จำนวนบรรดานบี(จำนวนที่ไม่ขาดไม่เกิน)ทั้งหมดมีจำนวนเท่าใด? ท่านรอซูลได้ตอบว่า (จำนวนนบีทั้งหมดมี)หนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันคน และในจำนวนนบีเหล่านั้นมีที่เป็นรอซูลด้วยสามร้อยสิบห้าคน นี่เป็นจำนวนที่มาก (หะดีษ เศาะฮีหฺ ลิ ฆ๊อยริฮฺ, บันทึกโดย อะห์มัด : 22644, อัต-เฏาะบะรอนีย์ 8:217, ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 2668)

- บรรดารอซูลที่ถูกยกย่องให้เป็นอุลุลอัซม

            อุลุลอัซมิ(คือ บรรดารอซูลที่มีจิตใจตั้งมั่น หมายถึงบรรดาผู้ที่มีประวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ต้องพบพานกับอุปสรรคที่สาหัส และได้รับการยกย่องจากอัลลอฮฺให้เป็นรอซูลที่มีฐานะที่สูงกว่าบรรดารอซูลคนอื่นๆ - ผู้แปล)ในบรรดารอซูลมีทั้งหมด 5 คน นั่นก็คือ นูหฺ อิบรอฮีม มูซา อีซา และมุหัมมัด (อะลัยฮิมุสสลาม) อัลลอฮฺ ตะอาลาได้กล่าวถึงบรรดารอซูลเหล่านี้ในอัลกุรอานว่า

«شَرَعَ لَكُمْ مِنَ الدِّينِ مَا وَصَّى بِهِ نُوحًا وَالَّذِي أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَمَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى أَنْ أَقِيمُوا الدِّينَ وَلا تَتَفَرَّقُوا فِيهِ»

ความว่า "พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูหฺ และที่เราได้ประทานวะห์ยูแก่เจ้า และที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีม มูซา และอีซา ว่าพวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้มั่นคง และอย่าแตกแยกกันในเรื่องของศาสนา" (อัช-ชูรอ : 13)

- รอซูลคนแรก

            รอซูลคนแรกคือ นูหฺ (อะลัยฮิสสาลาม)

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَإِذْ أَخَذَ اللَّهُ مِيثَاقَ النَّبِيِّينَ لَمَا آتَيْتُكُمْ مِنْ كِتَابٍ وَحِكْمَةٍ ثُمَّ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مُصَدِّقٌ لِمَا مَعَكُمْ لَتُؤْمِنُنَّ بِهِ وَلَتَنْصُرُنَّهُ قَالَ أَأَقْرَرْتُمْ وَأَخَذْتُمْ عَلَى ذَلِكُمْ إِصْرِي قَالُوا أَقْرَرْنَا قَالَ فَاشْهَدُوا وَأَنَا مَعَكُمْ مِنَ الشَّاهِدِينَ»

ความว่า และจงรำลึกเถิด เมื่อครั้งที่อัลลอฮฺได้เอาสัญญากับบรรดานบีทั้งหลายว่า แม้นว่าข้าได้ประทานแก่พวกเจ้าทั้งคัมภีร์และความรู้ให้ ครั้นเมื่อมีรอซูลคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับรองสิ่งที่อยู่กับพวกเจ้าได้มาถึง พวกเจ้าจะศรัทธาต่อเขาและให้ความช่วยเหลือเขา พระองค์ตรัสว่า พวกเจ้าจะยอมรับไหม และจะยอมรับสัญญาอันหนักแน่นนั้นไหม? พวกเขาตอบว่า เรายอมรับ พระองค์จึงตรัสว่า ดังนั้นจงเป็นสักขีเถิด และข้าก็จะร่วมเป็นสักขีหนึ่งพร้อมกับพวกเจ้า (อาล อิมรอน : 81)

2. อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า 

«إِنَّا أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ كَمَا أَوْحَيْنَا إِلَى نُوحٍ وَالنَّبِيِّينَ مِنْ بَعْدِهِ»

ความว่า "แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้า เช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูหฺและบรรดานบีหลังจากเขา"  (อัน-นิสาอ์ : 163)

3. หะดีษที่รายงานโดยอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ที่กล่าวเกี่ยวกับอัช-ชะฟาอะฮฺ(ความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ) ในหะดีษดังกล่าวนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เล่าว่า

«اذْهَبُوا إِلَى نُوحٍ، فَيَأْتُونَ نُوحًا فَيَقُولُونَ : يَا نُوحُ أَنْتَ أَوَّلُ الرُّسُلِ إِلَى أَهْلِ الْأَرْضِ»

ความว่า "(นบีอาดัมได้กล่าวแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า)พวกเจ้าทั้งหลายจงไปหานูหฺเถิด แล้วพวกเขาทั้งหลายก็ได้ไปพบนูหฺ และพวกเขาได้กล่าวไว้ว่า โอ้นูหฺ ท่านเป็นรอซูลคนแรกที่ได้ถูกส่งมายังมนุษย์โลก.." (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3340 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 194)

- รอซูลคนสุดท้าย

       รอซูลคนสุดท้าย คือ มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«مَا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِنْ رِجَالِكُمْ وَلَكِنْ رَسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ»

ความว่า  "มุหัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นรอซูลของอัลลอฮฺและคนสุดท้ายแห่งบรรดานบี" (อัล-อะห์ซาบ : 40)

- อัลลอฮฺได้ส่งบรรดานบีและรอซูลไปยังผู้ใด?

1. อัลลอฮฺได้ส่งบรรดานบีและรอซูล(อะลัยฮิมุสสลาม)ไปยังกลุ่มชนหรือประชาชาติของพวกเขาเองโดยเฉพาะ  ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:

«وَلِكُلِّ قَوْمٍ هَادٍ»

ความว่า และสำหรับทุกๆ หมู่ชนย่อมมีผู้ชี้แนะแนวทาง (อัร-เราะอฺดุ  : 7

2. อัลลอฮฺได้ส่งนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มายังมวลมนุษย์ทุกคน มุหัมมัดเป็นนบีและรอซูลคนสุดท้าย และเป็นนบีและรอซูลที่ประเสริฐที่สุดในบรรดานบีและรอซูลทั้งหลาย และท่านยังเป็นผู้นำในบรรดาลูกหลานอาดัม และเป็นผู้ที่ถือธงที่แสดงถึงการสรรเสริญทั้งมวลแด่องค์อัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ  และอัลลอฮฺได้ส่งนบีมุหัมมัดมาเพื่อเมตตาธรรมแก่ประชาชาติทั้งหลาย

            1) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า 

«وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلا كَافَّةً لِلنَّاسِ بَشِيرًا وَنَذِيرًا وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لا يَعْلَمُونَ»

ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลายแต่มนุษย์ส่วนมากไม่รู้ (สะบะอ์ : 28)

2) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلا رَحْمَةً لِلْعَالَمِينَ»

ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย (อัล-อันบิยาอ์ : 107)

- หิกมะฮฺ(เหตุผล)จากการที่อัลลอฮฺได้ส่งนบีและรอซูล

1. เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีแด่อัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และห้ามปรามการภักดีและกราบไหว้บูชาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ»

ความว่า และโดยแน่นอน เราได้ส่งรอซูลมาในทุกประชาชาติ(โดยให้พวกเขากล่าวเชิญชวนว่า)พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกเลี่ยงให้ห่างจากพวกเจว็ด (อัน-นะห์ลุ : 36)

2. อธิบายถึงแนวทางไปสู่อัลลอฮฺตะอาลา

«هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الأمِّيِّينَ رَسُولا مِنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلالٍ مُبِينٍ»

ความว่า "พระองค์เป็นผู้แต่งตั้งรอซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเองเพื่อสาธยายโองการต่างๆ ของพระองค์แก่พวกเขา ให้เขาอบรมพวกเขาเหล่านั้นให้ผุดผ่อง ให้สอนคัมภีร์และหิกมะฮฺ(ความรู้แห่งวิทยปัญญา)แก่พวกเขา และแท้จริง ก่อนนี้พวกเขาอยู่ในทางหลงผิดอย่างชัดแจ้ง (อัล-ญุมุอะฮฺ : 2)

3. อธิบายความเป็นอยู่ของมนุษย์หลังจากที่พวกเขาได้ไปพบอัลลอฮฺในวันกิยามัต อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«قُلْ يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّمَا أَنَا لَكُمْ نَذِيرٌ مُبِينٌ، فَالَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَهُمْ مَغْفِرَةٌ وَرِزْقٌ كَرِيمٌ، وَالَّذِينَ سَعَوْا فِي آيَاتِنَا مُعَاجِزِينَ أُولَئِكَ أَصْحَابُ الْجَحِيمِ»

ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงฉันคือ ผู้ตักเตือนอันชัดแจ้งแก่พวกท่าน ดังนั้นบรรดาผู้ศรัทธาและผู้ทำความดีทั้งหลาย สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมีเกียรติ (คือ สวนสวรรค์) และบรรดาผู้ที่เพียรพยายามอย่างผู้ใช้ความสามารถเพื่อลบล้างโองการทั้งหลายของเรานั้น ชนเหล่านั้น คือ ชาวนรก (อัล-หัจญ์ : 49-51)

4. เพื่อแสดงหลักฐานต่อมนุษย์โลกทั้งมวล อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«رُسُلا مُبَشِّرِينَ وَمُنْذِرِينَ لِئَلا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَى اللَّهِ حُجَّةٌ بَعْدَ الرُّسُلِ»

ความว่า คือบรรดารอซูลในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และในฐานะผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใดๆ อ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากบรรดารอซูลเหล่านั้น(ได้มาสั่งสอนแล้ว) (อัน-นิสาอ์ : 165)

5. เพื่อความโปรดปรานและเมตตาธรรมต่อมนุษย์ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلا رَحْمَةً لِلْعَالَمِينَ»

ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย (อัล-อันบิยาอ์ : 107)

- คุณลักษณะของนบีและรอซูล

1. นบีและรอซูลทุกคนมาจากมนุษย์ที่เป็นบุรุษเพศ อัลลอฮฺตะอาลาทรงเป็นผู้เลือกสรรเองจากบรรดาบ่าวของพระองค์ อัลลอฮฺทรงยกฐานะของพวกเขาด้วยตำแหน่งของการเป็นนบีและรอซูล และอัลลอฮฺทรงยกย่องพวกเขาด้วยการให้สาส์นแห่งอิสลาม และทรงรับรองและยืนยันฐานะการเป็นนบีและรอซูลด้วยการให้สิ่งมหัศจรรย์(มุอฺญิซาต)แก่พวกเขา  และทรงบัญชาพวกเขาให้เผยแผร่สาส์นดังกล่าวไปยังมนุษย์เพื่อพวกเขาได้เคารพภักดีและสักการะบูชาแด่องค์อัลลอฮฺเพียงผู้เดียวและหลีกห่างจากการกราบไหว้บูชานอกเหนือจากพระองค์ และพระองค์ยังได้ให้คำมั่นสัญญาจากการปฏิบัติดังกล่าวด้วยการตอบแทนสวนสวรรค์ และพวกเขาได้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่แล้วอย่างซื่อสัตย์และไม่ขาดตกบกพร่องในภาระหน้าที่ที่ได้รับมาแต่อย่างใดเลย

1) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَمَا أَرْسَلْنَا مِنْ قَبْلِكَ إِلا رِجَالا نُوحِي إِلَيْهِمْ فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ»

ความว่า และเรามิได้ส่งผู้ใดมาก่อนหน้าเจ้า นอกจากเป็นบุรุษที่เราได้ประทานวะหฺยูแก่พวกเขาดังนั้นพวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้หากพวกเจ้าทั้งหลายไม่รู้ (อัน-นะห์ลุ : 43)

2) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَى آدَمَ وَنُوحًا وَآلَ إِبْرَاهِيمَ وَآلَ عِمْرَانَ عَلَى الْعَالَمِينَ»

ความว่า  แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือก อาดัมและนูหฺ และวงค์วานของอิบรอฮีม และวงค์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย (อาล อิมรอน : 33)

3) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ»

ความว่า และโดยแน่นอน เราได้ส่งรอซูลมาในทุกประชาชาติ(โดยให้พวกเขากล่าวเชิญชวนว่า)พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกเลี่ยงให้ห่างจากพวกเจว็ด (อัน-นะห์ลุ : 36)

            2. อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ทรงสั่งบรรดานบีและรอซูลในการเชิญชวน(ดะอฺวะฮฺ)สู่อัลลอฮฺ เชิญชวนสู่อิบาดะฮฺแด่พระองค์แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ และได้กำหนดศาสนบัญญัติ(ชะรีอะฮฺ)ที่เหมาะสมให้กับแต่ละกลุ่มชน  ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

«لِكُلٍّ جَعَلْنَا مِنْكُمْ شِرْعَةً وَمِنْهَاجًا»

ความว่า สำหรับแต่ละประชาชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทาง (อัล-มาอิดะฮฺ : 48)

3. หลังจากที่อัลลอฮฺได้เลือกสรรบรรดานบีและรอซูล พระองค์ยังได้อธิบายถึงคุณลักษณะของพวกเขาคือการเป็นบ่าวที่แท้จริง(อัล-อุบูดียะฮฺ)ต่อพระองค์ในระดับที่สูงสุด ดังที่พระองค์กล่าวถึงคุณลักษณะของนบีมุหัมมัดในอัลกุรอานว่า

«تَبَارَكَ الَّذِي نَزَّلَ الْفُرْقَانَ عَلَى عَبْدِهِ لِيَكُونَ لِلْعَالَمِينَ نَذِيرًا»

ความว่า  ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงประทานอัลฟุรกอน แก่บ่าวของพระองค์(มุฮัมมัด)เพื่อเขาจะได้เป็นผู้ตักเตือนแก่ปวงบ่าวทั้งมวล (อัล-ฟุรกอน : 1)

และอัลลอฮฺตะอาลากล่าวถึง นบีอีซา บุตร มัรยัม อะลัยฮิสลาม ว่า

«إِنْ هُوَ إِلاَّ عَبْدٌ أَنْعَمْنَا عَلَيْهِ وَجَعَلْنَاهُ مَثَلا لِبَنِي إِسْرَائِيلَ»

ความว่า เขา(อีซา)มิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นบ่าวคนหนึ่ง ซึ่งเรา(อัลลอฮฺ)ได้ให้ความโปรดปรานแก่เขา และเราได้ทำให้เขาเป็นแบบอย่างที่ดีแก่วงค์วานอิสรอเอล(อัซ-ซุครุฟ : 59)

4. บรรดานบีและรอซูลทุกคนล้วนแล้วแต่มาจากมนุษย์ทั้งสิ้น และพวกเขาเป็นผู้ถูกสร้างที่ดื่มกิน มีการลืมและต้องนอน มีเจ็บมีป่วยแล้วก็ตายในวันหนึ่ง พวกเขาก็เหมือนคนอื่นๆ ที่ไม่ครอบครองคุณลักษณะความเป็นพระเจ้าผู้ทรงสร้างหรือพระเจ้าที่ควรแก่การกราบไหว้แต่อย่างใด พวกเขาไม่ได้ครอบครองการให้คุณประโยชน์หรือการให้โทษแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น พวกเขาไม่ได้ครอบครองคลังแห่งอัลลอฮฺแม้เพียงสักนิด และพวกเขาหามีความรู้ในสิ่งเร้นลับใดเว้นเสียแต่อัลลอฮฺได้ทรงให้พวกเขาได้รับรู้ในสิ่งดังกล่าวเท่านั้น อัลลอฮฺได้กล่าวแก่นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«قُلْ لا أَمْلِكُ لِنَفْسِي نَفْعًا وَلا ضَرًّا إِلاَّ مَا شَاءَ اللَّهُ وَلَوْ كُنْتُ أَعْلَمُ الْغَيْبَ لاسْتَكْثَرْتُ مِنَ الْخَيْرِ وَمَا مَسَّنِيَ السُّوءُ إِنْ أَنَا إِلاَّ نَذِيرٌ وَبَشِيرٌ لِقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ»

ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่าฉันไม่ได้ครอบครองอำนาจการให้คุณและโทษใดๆ เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตัวฉัน นอกจากสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์เท่านั้น และหากฉันเป็นผู้ที่รู้สิ่งเร้นลับแล้ว แน่นอนฉันก็ย่อมกอบโกยสิ่งที่ดีไว้มากมายแล้ว และความชั่วร้ายก็ย่อมไม่อาจต้องฉันได้(แต่ความเป็นจริงมิใช่เช่นนั้น) ฉันมิใช่ใครอื่น นอกจากผู้ตักเตือน และผู้ประกาศข่าวดีแก่มนุษย์ที่ศรัทธาเท่านั้น (อัล-อะอฺรอฟ : 188)

- คุณสมบัติพิเศษของบรรดานบีและรอซูล

บรรดานบีและรอซูลเป็นผู้ที่มีจิตใจที่ขาวสะอาดที่สุด เป็นผู้ที่มีปัญญาเลิศที่สุด เป็นผู้ที่มีอีมานเข้มแข็งและมั่นคงที่สุด มีกริยามารยาทที่ดีงามที่สุด มีศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นผู้ที่มีความเป็นบ่าวที่ดีที่สุด มีร่างกายที่สมบูรณ์ที่สุด และยังมีรูปลักษณ์ที่เลิศที่สุดอีกด้วย และอัลลอฮฺได้ทรงเลือกสรรพวกเขาด้วยคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้

1. อัลลอฮฺได้เลือกสรรพวกเขาด้วยการประทานวะห์ยูและสาส์นแห่งอิสลามแก่พวกเขา อัลลอฮฺได้อธิบายว่า

«اللَّهُ يَصْطَفِي مِنَ الْمَلائِكَةِ رُسُلا وَمِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ سَمِيعٌ بَصِيرٌ»

ความว่า อัลลอฮฺทรงคัดเลือกบรรดาทูตจากหมู่มลาอิกะฮฺและจากหมู่มนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยิน(และ)ทรงเห็นเสมอ (อัล-หัจญ์ 75)

และอัลลอฮฺได้อธิบายอีกว่า

«قُلْ إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ مِثْلُكُمْ يُوحَى إِلَيَّ أَنَّمَا إِلَهُكُمْ إِلَهٌ وَاحِدٌ»

ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) แท้จริงฉันเป็นเพียงสามัญชนคนหนึ่งเยี่ยงพวกท่าน มีวะห์ยูแก่ฉันว่า แท้จริง พระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น(อัล-กะห์ฟุ : 110)

2. พวกเขาทั้งหลายเป็นผู้ที่ถูกปกป้องจากสิ่งผิดและบาปต่างๆ ในการเชิญชวน(ดะอฺวะฮฺ)มนุษย์ไปสู่อิสลามทั้งในเรื่องของการศรัทธา(อะกีดะฮฺ)และบัญญัติต่างๆ แต่หากแม้นว่าพวกเขาได้ทำอะไรผิดพลาดลงไป อัลลอฮตะอาลาจะช่วยปรับและดึงพวกเขาให้กลับมาในสัจธรรมและความถูกต้อง อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า

«وَالنَّجْمِ إِذَا هَوَى، مَا ضَلَّ صَاحِبُكُمْ وَمَا غَوَى، وَمَا يَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى، إِنْ هُوَ إِلا وَحْيٌ يُوحَى، عَلَّمَهُ شَدِيدُ الْقُوَى»

ความว่า ขอสาบานด้วยดวงดาวเมื่อมันคล้อยตกลงมา สหายของพวกเจ้า(นบีมุหัมมัด)มิได้หลงผิด และเขามิได้พูดจากอารมณ์ สิ่งที่เขาพูดนั้นมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะห์ยูที่ถูกประทานลงมา ผู้ทรงพลังอำนาจมากมาย(ญิบรีล)ได้สอนเขา(อัน-นัจญ์มุ : 1-5)

3. ไม่มีการสืบทอด ในมรดกต่างๆของพวกเขาหลังจากที่พวกได้เสียชีวิตแล้ว เล่าจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

«لاَ نُورَثُ، مَا تَرَكْنَا صَدَقَةٌ»

ความว่า พวกเราไม่มีการสืบทอด(ในทรัพย์สินต่างๆ) และสิ่งที่เราทิ้งไว้(หลังจากเสียชีวิต)เป็นเศาะดะเกาะฮฺ(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6730 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 1757)

4. บรรดานบีและรอซูลจะนอนหลับแต่ดวงตา ทว่าจิตใจของพวกเขาจะไม่หลับตามไปด้วย จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานหะดีษอิสรออ์ มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า

وَالنَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَائِمَةٌ عَيْنَاهُ، وَلاَ يَنَامُ قَلْبُهُ، وَكَذَلِكَ الْأَنْبِيَاءُ تَنَامُ أَعْيُنُهُمْ وَلاَ تَنَامُ قُلُوبُهُمْ

ความว่า และนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ดวงตาทั้งสองของท่านจะนอนหลับ แต่ใจของท่านไม่ได้หลับ และบรรดานบีทั้งหลายก็เช่นกันซึ่งดวงตาทั้งสองของพวกเขาจะนอนหลับ และดวงใจของพวกเขาไม่ได้นอนหลับ(ตามไปด้วย) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3570)

5. บรรดานบีและรอซูลมีสิทธิที่จะเลือกระหว่างโลกดุนยากับโลกอาคิเราะฮฺในขณะที่ถึงเวลาเสียชีวิต เล่าจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮาได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«مَا مِنْ نَبِيٍّ يَمْرَضُ إِلاَّ خُيِّرَ بَيْنَ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ»

ความว่า  ไม่มีนบีคนใดที่เมื่อได้ป่วยลง(ใกล้เสียชีวิต) นอกจากจะให้เลือกระหว่างโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮฺ(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 4586 สำนวนเป็นของท่าน, มุสลิม : 2444)

6. บรรดานบีและรอซูล(รอฎิยัลลอฮุอันฮุม)จะถูกฝังในสถานที่ที่พวกเขาได้เสียชีวิต จากอบู บักร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«لَنْ يُقْبَرَ نَبِيٌّ إِلاَّ حَيْثُ يَمُوتُ»

ความว่า นบีคนหนึ่งคนใดจะไม่ถูกฝังลง นอกจาก ณ สถานที่ที่เขาได้เสียชีวิตลง (หะดีษเศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอะห์มัด : 27, ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ : 5201)

7. ร่างกายของบรรดานบีและรอซูลจะไม่ถูกดินกัดกร่อน เล่าจากเอาส์ บิน เอาส์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إِنَّ مِنْ أَفْضَلِ أَيَّامِكُمْ يَوْمَ الْجُمُعَةِ ... »، وفيه : قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ وَكَيْفَ تُعْرَضُ صَلاَتُنَا عَلَيْكَ وَقَدْ أَرِمْتَ؟ يَقُولُونَ بَلِيتَ، فَقَالَ : «إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ حَرَّمَ عَلَى الأَرْضِ أَجْسَادَ الأَنْبِيَاءِ»

ความว่า แท้จริงวันของพวกท่านที่มีความประเสริฐมากที่สุด คือ วันศุกร์... (และในหะดีษนี้มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า) บรรดาเศาะหาบะฮฺได้ถามท่านนบีว่า โอ้ ท่านรอซูลุลลอฮฺ คำเศาละวาตของเราจะถูกเสนอแก่ท่านได้อย่างไรในขณะที่ท่านได้สลายไปกับดินไปแล้ว? ท่านนบีได้ตอบไปว่า แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ห้ามดินมิให้กลืนกินร่างกายของบรรดานบี (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1047, ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 925)

8. พวกเขาจะมีชีวิตอยู่ในหลุมศพและละหมาดในนั้น

              1) จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«الأَنْبِيَاءُ أَحْيَاءُ فِيْ قُبُورِهِمْ يُصَلُّونَ»

ความว่า บรรดานบีจะอยู่ในกุบูรอย่างคนที่มีชีวิตโดยที่พวกเขาจะทำการละหมาด(หะดีษสายรายงานดี, บันทึกโดย อบู ยะอฺลา : 3425, ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ :  621)

 2)  จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«مَرَرْتُ عَلَى مُوسَى لَيْلَةَ أُسْرِيَ بِي عِنْدَ الْكَثِيبِ الأَحْمَرِ وَهُوَ قَائِمٌ يُصَلِّي فِي قَبْرِهِ»

ความว่า ฉันได้เดินทางผ่านมาทางนบีมูซา ณ เนินทรายสีแดง ในคืนอิสรออ์ซึ่งนบีมูซากำลังยืนทำการละหมาดในกุบูรของท่าน (บันทึกโดยมุสลิม : 2375)

9. บรรดาภรรยาของพวกเขาจะไม่แต่งงานกับใครอื่นหลังจากที่ได้เป็นภรรยาของพวกเขาแล้ว อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่า

«وَمَا كَانَ لَكُمْ أَنْ تُؤْذُوا رَسُولَ اللَّهِ وَلا أَنْ تَنْكِحُوا أَزْوَاجَهُ مِنْ بَعْدِهِ أَبَدًا إِنَّ ذَلِكُمْ كَانَ عِنْدَ اللَّهِ عَظِيمًا»

ความว่า และไม่เป็นการบังควรแก่พวกเจ้าที่จะก่อความรำคาญให้แก่รอซูลของอัลลอฮฺ และพวกเจ้าจะต้องไม่แต่งงานกับบรรดาภริยาของท่านหลังจากท่าน(ได้สิ้นชีพไปแล้ว)เป็นอันขาด แท้จริงในการนั้น ณ ที่อัลลอฮฺเป็นเรื่องที่ใหญ่หลวงนัก (อัล-อะห์ซาบ : 53)

วาญิบที่จะต้องศรัทธากับบรรดานบีและรอซูลทุกคน ใครผู้ใดก็ตามที่ปฏิเสธ(ไม่ศรัทธา)กับนบีคนใดหรือรอซูลคนไหน แท้จริงเขาผู้นั้นได้ปฏิเสธนบีและรอซูลทั้งหมดแล้ว และวาญิบที่จะต้องศรัทธาและเชื่ออย่างแน่วแน่ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาที่มีสายรายงานที่เศาะฮีหฺ และต้องเจริญรอยตามพวกเขาในเรื่องการศรัทธาที่ซื่อสัตย์ การศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺที่สมบูรณ์แบบ การมีกริยามารยาทที่ดีงาม และการปฏิบัติตามชะรีอะฮฺของผู้ที่ถูกส่งมายังพวกเรานั่นก็คือ นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นบีคนสุดท้ายและนบีที่ประเสริฐที่สุดที่ถูกส่งมายังมนุษย์ทั้งมวล อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا آمِنُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِي نَزَّلَ عَلَى رَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِي أَنْزَلَ مِنْ قَبْلُ وَمَنْ يَكْفُرْ بِاللَّهِ وَمَلائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلالا بَعِيدًا»

ความว่า ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เถิด และจงศรัทธาต่อคัมภีร์ที่พระองค์ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์และคัมภีร์ที่ประทานลงมาก่อนนั้น และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์และวันปรโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาก็ได้หลงทางไปอย่างสุดกู่ (อัน-นิสาอ์ :136)

- ผลจากการศรัทธาต่อนบีและรอซูล

- ได้ทราบถึงความโปรดปรานและความดูแลของอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ที่พระองค์ได้ส่งบรรดารอซูลเพื่อเป็นผู้ชี้ทางเขาสู่การอิบาดะฮฺ(เคารพภักดีและสักการะบูชา)แด่พระเจ้าของพวกเขาและได้สั่งสอนถึงวิธีการอิบาดะฮฺที่ถูกต้องว่าต้องทำเช่นใด

- ผลจากการศรัทธาต่อนบีและรอซูลอย่างหนึ่ง คือ การได้ขอบคุณและการสรรเสริญแด่องค์อัลลอฮฺในนิอฺมัตของพระองค์อันมากมาย

- ผลจากการศรัทธาต่อนบีและรอซูลอย่างหนึ่ง คือ ความรักและการยกย่องที่มีต่อรอซูลโดยไม่เลยเถิดเพราะพวกเขาเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ พวกเขาได้ปฏิบัติอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ได้เผยแพร่สาส์นแห่งอิสลามและได้กล่าวตักเตือนบรรดาบ่าวของพระองค์

Go to the Top