من أركان الإيمان : الإيمان بالملائكة

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: من أركان الإيمان : الإيمان بالملائكة
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: مقالة مُترجَمة إلى اللغة التايلندية تبين: • معنى الإيمان بالملائكة • عدد الملائكة • أسماء وأعمال الملائكة • وظيفة الكرام الكاتبين • عظمة خلق الملائكة • ثمرات الإيمان بالملائكة. والمقالة مقتبسة من كتاب مختصر الفقه الإسلامي، للشيخ محمد التويجري - أثابه الله -.
تأريخ الإضافة: 2007-10-17
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/57638
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي - بنغالي - مليالم - بوسني - أوزبكي - إنجليزي
نبذة موسعة

- การศรัทธาต่อมลาอิกะฮ

            การศรัทธาต่อมลาอิกะฮฺ คือ การเชื่ออย่างแน่วแน่และสัตย์จริงว่าอัลลอฮฺมีบรรดาบริวารที่เป็นมลาอิกะฮฺจริง และเชื่อในชื่อของบรรดามลาอิกะฮฺที่อัลลอฮฺได้ทรงบอกชื่อ อาทิเช่น ญิบรีล เป็นต้น และเราเชื่อต่อบรรดามลาอิกะฮฺที่เราไม่รู้จักชื่อโดยที่เราศรัทธาในภาพรวม  รวมทั้งศรัทธาในคุณลักษณะและการงานของพวกเขาตามที่เราได้รับรู้

- มลาอิกะฮฺในแง่ของสถานะ

            บรรดามลาอิกะฮฺเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีเกียรติยิ่ง พวกเขาเป็นบ่าวที่ยืนหยัดในการทำอิบาดะฮฺตลอดและสม่ำเสมอ  พวกเขาหาได้มีคุณสมบัติของความเป็นพระเจ้าที่เป็นผู้สร้าง ผู้ดูแล และผู้รับผิดชอบจักรวาลไม่  และพวกเขาก็หาได้มีคุณสมบัติของความเป็นพระเจ้าที่สมควรแก่การกราบไหว้แต่อย่างใด พวกเขาเป็นผู้ที่ถูกสร้างที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ อัลลอฮฺได้สร้างพวกเขามาด้วยนูรฺ(รัศมี)

- มลาอิกะฮฺในแง่ของการทำหน้าที่และงาน

            บรรดามลาอิกะฮฺเป็นบ่าวที่ปฏิบัติอิบาดะฮฺ(เคารพภักดี)  และกล่าวตัสบีหฺ(แซ่ซ้องสดุดี)ต่ออัลลอฮฺ  สม่ำเสมอ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

«وَلَهُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَمَنْ عِنْدَهُ لا يَسْتَكْبِرُونَ عَنْ عِبَادَتِهِ وَلا يَسْتَحْسِرُونَ. يُسَبِّحُونَ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ لا يَفْتُرُونَ»

ความว่า และย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ซึ่งผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดิน และผู้ที่อยู่ ณ พระองค์  (นั่นคือบรราดามลาอิกะฮฺ) พวกเขาจะไม่ลำพองตนในการเคารพภักดีพระองค์ และพวกเขาจะไม่เหนื่อยหน่าย  พวกเขาจะแซ่ซ้องสดุดีพระองค์ในเวลากลางคืนและกลางวันโดยไม่ขาดระยะ  (อัล-อัมบิยาอ์ : 19–20)

- บรรดามลาอิกะฮฺในแง่การเชื่อฟังอัลลอฮฺ

            อัลลอฮฺได้ประทานให้บรรดามลาอิกะฮฺมีความจงรักภักดีต่อคำบัญชาของพระองค์อย่างสิ้นเชิง และได้ประทานให้พวกเขามีกำลังความสามารถในการปฏิบัติการงานตามที่พระองค์ได้มีบัญชา พวกเขาถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดีและเชื่อฟังต่อพระองค์  ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

«لا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ»

ความว่า ...พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา  และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา (อัต-ตะหฺรีม : 6)

- จำนวนของมลาอิกะฮฺ

            มลาอิกะฮฺมีจำนวนมากมายมหาศาล จำนวนดังกล่าวนี้ไม่สามารถนับได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ในบรรดามลาอิกะฮฺมีหน้าที่แตกต่างกันไป บางส่วนมีหน้าที่คอยแบกและค้ำบัลลังก์ของอัลลอฮฺบางส่วนมีหน้าที่เฝ้าดูแลสวนสวรรค์ บางส่วนมีหน้าที่เฝ้านรก บางส่วนมีหน้าที่ปกปักษ์รักษามนุษย์บางส่วนมีหน้าที่คอยจดบันทึกบ้างและมีหน้าที่อื่นๆ และในบรรดามลาอิกะฮฺอีกบางส่วนมีหน้าที่ละหมาดในบัยตุลมะอฺมูรฺในทุกๆ วัน จำนวนถึงเจ็ดหมื่นมลาอิกะฮฺ  และเมื่อพวกเขาได้ออกมาจากบัยตุล มะอฺมูรฺ พวกเขาจะไม่ย้อนกลับมาอีกเลยซึ่งจะเป็นครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายที่จะได้อยู่ในนั้น  ตามรายงานในหะดีษอัล-มิอฺรอจญ์ (การเดินทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากมัสยิดอัล-อักศอไปยังฟากฟ้า) เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มาถึง ณ ฟ้าชั้นเจ็ด หะดีษดังกล่าวมีว่า :

«... فرفع لي البيت المعمور فسألت الجبريل فقال : هذا البيت المعمور يصلي فيه كل يوم سبعون ألف ملك إذا خرجوا لم يعودوا إليه آخر ما عليهم» متفق عليه

ความว่า ...เมื่อฉันได้ขึ้นมาถึงบัยตุล มะอฺมูรฺ ฉันก็ได้ถามญิบรีลเกี่ยวกับบัยตุล มะอฺมูรฺ ญิบรีลได้ตอบว่า นี่คือบัยตุล มะอฺมูรฺ ที่มีเหล่าบรรดามลาอิกะฮฺมาทำการละหมาดทุกๆ วัน วันละเจ็ดหมื่นมลาอิกะฮฺ เมื่อบรรดามลาอิกะฮฺเหล่านี้ได้ออกมาจากบัยตุล มะอฺมูรฺนี้แล้ว พวกเขาจะไม่หวนกลับไปยังบัยตุล มะอฺมูรฺอีกเลย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายสำหรับพวกเขา’ ” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ :3207 และมุสลิม : 162)  

- ชื่อและการงานของบรรดามลาอิกะฮ

            มลาอิกะฮฺเป็นบ่าวที่มีเกียรติ อัลลอฮฺได้ทรงสร้างพวกเขาเพื่อให้จงรักภักดี เชื่อฟัง และเคารพภักดีต่อพระองค์ ในบรรดาเหล่ามลาอิกะฮฺมีที่พระองค์ได้ทรงบอกชื่อและการงานต่างๆ ให้เราได้รับรู้ อีกบางส่วนพระองค์ไม่ได้บอกให้เรารู้โดยพระองค์ได้สงวนไว้เฉพาะในความรอบรู้ของพระองค์เท่านั้น ส่วนบรรดามลาอิกะฮฺที่พระองค์ได้มอบหมายการงานให้ปฏิบัติมีดังต่อไปนี้ :

            1. มลาอิกะฮฺ ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม  มีหน้าที่นำวะห์ยู(วิวรณ์แห่งอัลลอฮฺแก่บรรดานบีและเราะสูลทั้งหลาย

            2. มลาอิกะฮฺ มีกาอีล  มีหน้าที่กำกับดูแลเม็ดฝนและพืชพรรณต่างๆ

            3. มลาอิกะฮฺ อิสรอฟีล  มีหน้าที่เป่า อัศ-ศูรฺ (แตร)

            พวกเขาเหล่านี้เป็นมลาอิกะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับสาเหตุแห่งชีวิต นั่นคือ ญิบรีลเป็นผู้นำวะห์ยูอันเป็นเหตุแห่งการมีชีวิตของจิตใจ มิกาอีลนั้นดูแลเม็ดฝนซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการมีชีวิตของพื้นดินหลังจากที่มันเป็นซากแห้งกรัง ส่วนอิสรอฟีลคือผู้ดูแลการเป่าแตร อัศ-ศูรฺ ซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟื้นคืนชีพอีกครั้งของร่างมนุษย์หลังจากที่ได้ตายไปแล้ว

4. มลาอิกะฮฺ มาลิก คอซินุนนารฺ  มีหน้าที่คอยดูแลนรก

            5. มลาอิกะฮฺ ริฎวาน คอซินุลญันนะฮฺ มีหน้าที่คอยดูแลสวนสวรรค์

            ยังมีมลาอิกะฮฺ มะละกุลเมาต์ มีหน้าที่คอยรับวิญญาณผู้ที่เสียชีวิต มลาอิกะฮฺอื่นๆ ที่มีหน้าที่คอยแบกและค้ำบัลลังก์ของอัลลอฮฺ ยังมีมลาอิกะฮฺผู้ดูแลสวนสวรรค์และไฟนรก รวมทั้งมลาอิกะฮฺที่มีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลมนุษย์และคอยจดบันทึกการกระทำของพวกเขาแต่ละคน

            บางส่วนของมลาอิกะฮฺมีหน้าที่ซึ่งต้องคอยผลัดเปลี่ยนทั้งกลางวันและกลางคืน บางส่วนของพวกเขามีหน้าที่คอยติดตามมัจลิสซิกิรฺ(การรวมกลุ่มเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺหรือเพื่อเรียนรู้ศาสนาของอัลลอฮฺ)

            ในบรรดามลาอิกะฮฺมีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลทารกในท้องมารดา คอยจดบันทึกริซกี(ปัจจัยยังชีพ)ของเขา การกระทำของเขา วันที่จะเสียชีวิต โชคดีและโชคร้ายของเขาในโลกหน้าตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ

            มลาอิกะฮฺบางส่วนมีหน้าที่ไต่สวนผู้ที่เสียชีวิตในหลุมฝังศพ ไต่สวนในเรื่องพระเจ้า ศาสนา และศาสนทูตของพระองค์

มีมลาอิกะฮฺอื่นๆ อีกมากมายที่มีภาระหน้าที่ต่างๆซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาลที่ไม่มีผู้ใดสามารถรับรู้นอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น

- ภาระหน้าที่ของมลาอิกะฮฺ อัล-กิรอม อัล-กาติบีน

            อัลลอฮฺได้ทรงสร้างเหล่ามลาอิกะฮฺ อัล-กิรอมุ อัล-กาติบีน และได้มอบหมายหน้าที่ในการเฝ้าดูแลพวกเราชาวมนุษย์  โดยการคอยจดบันทึกการกระทำ คำพูด และนิยาต(การตั้งเจตนา)ของพวกเรา มนุษย์แต่ละคนจะมีมลาอิกะฮฺอยู่ด้วยสองท่าน มลาอิกะฮฺท่านแรกจะอยู่ด้านขวาเรียกว่า ศอฮิบุล ญะมีน หมายถึงผู้อยู่ด้านขวา มีหน้าที่คอยบันทึกการกระทำอันดีงามทุกอย่าง และมลาอิกะฮฺอีกท่านหนึ่งอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า ศอฮิบุช ชิมาล หมายถึงผู้อยู่ด้านซ้าย มีหน้าที่คอยจดบันทึกการกระทำที่ไม่ดีทุกอย่างเช่นกัน

            และยังมีมลาอิกะฮฺอีกสองท่านที่มีหน้าที่คอยปกปักษ์รักษาดูแลมนุษย์ มลาอิกะฮฺท่านแรกอยู่ด้านหน้าและอีกท่านหนึ่งอยู่ด้านหลัง

1.อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَإِنَّ عَلَيْكُمْ لَحَافِظِينَ، كِرَاماً كَاتِبِينَ، يَعْلَمُونَ مَا تَفْعَلُونَ»

ความว่า และแท้จริงมีผู้คุ้มกันรักษาพวกเจ้าอยู่ คือ(มลาอิกะฮฺ)ผู้ทรงเกียรติเป็นผู้บันทึก พวกเขารู้ในสิ่งที่พวกเจ้าทำ (อัล-อินฟิฏอรฺ : 10–12)   

            2.และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า

«إِذْ يَتَلَقَّى الْمُتَلَقِّيَانِ عَنِ الْيَمِينِ وَعَنِ الشِّمَالِ قَعِيدٌ، مَا يَلْفِظُ مِنْ قَوْلٍ إِلَّا لَدَيْهِ رَقِيبٌ عَتِيدٌ»

ความว่าจงรำลึกขณะที่มลาอิกะฮฺผู้บันทึกสองท่านบันทึก ท่านหนึ่งนั่งทางขวาและอีกท่านนั่งทางซ้าย ไม่มีคำพูดใดที่เขา(มนุษย์)กล่าวออกมา เว้นแต่ใกล้ๆเขานั้นมี(มลาอิกะฮฺ)ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อม(ที่จะบันทึก) (กอฟ : 17–18) 

            3. และอัลลอฮฺได้ตรัสในสูเราะฮฺ อัร-เราะอฺด์ ว่า :

«لَهُ مُعَقِّبَاتٌ مِنْ بَيْنِ يَدَيْهِ وَمِنْ خَلْفِهِ يَحْفَظُونَهُ مِنْ أَمْرِ اللَّهِ»

ความว่า สำหรับเขา(มนุษย์)นั้นมีมลาอิกะฮฺผู้เฝ้าติดตามทั้งข้างหน้าและข้างหลังเขา ดูแลปกป้องเขาตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ...  (อัร-เราะอฺด์  : 11)

            4. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يقول الله : إذا أراد عبدي أن يعمل سيئة فلا تكتبوها عليه حتى يعملها ، فإن عملها فاكتبوا بمثلها، وإن تركها من أجلي فاكتبوها له حسنة، وإذا أراد أن يعمل حسنة فلم يعملها فاكتبوها له حسنة، فإن عملها فاكتبوا لها له بعشر أمثالها إلى سبعمائة ضعف» متفق عليه.

ความว่า อัลลอฮฺได้ตรัส(แก่มลาอิกะฮฺ)ว่า เมื่อบ่าวของข้าต้องการกระทำในสิ่งที่ไม่ดีอย่างหนึ่ง พวกเจ้าจงอย่าได้บันทึกในสิ่งดังกล่าวในทันทีทันใดจนกว่าบ่าวของข้าผู้นั้นได้กระทำในสิ่งดังกล่าวเสียก่อน ดังนั้นหากว่าบ่าวของฉันผู้นั้นได้กระทำมันขึ้นมา ดังนั้นพวกเจ้าจงบันทึกให้เหมือนกับสิ่งที่เขาได้กระทำบาปันั้น และหากว่าเขาผู้นั้นได้เลิกการกระทำดังกล่าวเพราะยำเกรงต่อข้า พวกเจ้าจงบันทึกแก่เขาในสิ่งนั้นหนึ่งความดี และหากบ่าวผู้นั้นต้องการกระทำในความดีสักหนึ่งอย่าง แต่เขากลับไม่ได้กระทำในสิ่งนั้น พวกเจ้าจงบันทึกมันไว้สำหรับเขาหนึ่งความดี แต่หากว่าเขาได้กระทำความดีนั้นขึ้นมา พวกเจ้าจงบันทึกมันให้เขาเท่ากับสิบความดีจนถึงเจ็ดร้อยผลบุญแห่งความดี  (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 7501 และมุสลิม : 128

- ความยิ่งใหญ่ของสิ่งถูกสร้างที่มีชื่อว่ามลาอิกะฮ

            1. หะดีษที่รายงานโดย ญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า :

«أذن لي أن أحدث عن ملك من ملائكة الله من حملة العرش، إن ما بين شحمة أذنه إلى عاتقه مسيرة سبعمائة عام» أخرجه أبو داود.

ความว่า ฉันได้รับอนุญาตให้กล่าวถึงมลาอิกะฮฺท่านหนึ่งจากจำนวนบรรดามลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่แบกและค้ำบัลลังก์ของอัลลอฮฺ แท้จริงมลาอิกะฮฺ(ท่านนี้)ระยะระหว่างติ่งหูจนถึงหัวไหล่ของท่านมี(ความห่างเป็น)ระยะเวลา(การเดินทาง) 700 ปี  (รายงานโดยอบู ดาวูด : 3727, เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ ดูใน เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3953 และรวมหะดีษเศาะฮีหฺของอัล-อัลบานีย์ : 151)

            2. หะดีษที่รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เห็นมลาอิกะฮฺญิบรีลมีปีกทั้งหมด 600 ปีก (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ : 4857 และมุสลิม : 174)

- ผลที่ได้จากการศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺ

            1.ได้ทราบถึงความยิ่งใหญ่ เดชานุภาพ อำนาจ และหิกมะฮฺ(วิทยปัญญา)ของพระองค์อัลลอฮฺ ตะอะลา ผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่  พระองอ์ได้ทรงสร้างมลาอิกะฮฺโดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถรับรู้ได้ถึงจำนวนของบรรดามลาอิกะฮฺทั้งหมดนอกจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว พระองค์ได้ทรงทำให้มลาอิกะฮฺที่มีหน้าที่คอยแบกและค้ำบัลลังก์ของพระองค์ แค่เพียงมลาอิกะฮฺท่านเดียวมีความยิ่งใหญ่ขนาดระยะความกว้างระหว่างติ่งหูถึงหัวไหล่เป็นระยะเวลาถึง 700 ปี แล้วบัลลังก์ของพระองค์จะมีความไพศาลถึงเพียงไหน ? และพระองค์คือผู้ที่อยู่เหนือบัลลังก์จะมีความยิ่งใหญ่เพียงไร ? มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺที่ได้ตรัสว่า :

«وَلَهُ الْكِبْرِيَاءُ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَهُوَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ»

ความว่า ความยิ่งใหญ่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาน (อัล-ญาซิยะฮฺ : 37) 

2. ได้สำนึกด้วยการขอบคุณและสรรเสริญทั้งมวลแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงให้การคุ้มครองและปกป้องดูแลบรรดาลูกหลานอาดัมด้วยการส่งตัวแทนจากบรรดามลาอิกะฮฺที่คอยทำหน้าที่คุ้มครอง ช่วยเหลือ และคอยจดบันทึกการกระทำและการงานของพวกเขา 

3. ได้เกิดความรักความผูกพันต่อบรรดามลาอิกะฮฺในสิ่งที่พวกเขาคอยปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอะลา ซึ่งพวกเขาได้ขอพรและขอลุแก่โทษแก่บรรดาศรัทธาชน  ดังที่อัลลอฮฺผู้สูงส่งได้กล่าวถึงบรรดามลาอิกะฮฺผู้ที่คอยแบกและค้ำบัลลังก์ของพระองค์และผู้ที่อยู่รอบๆบัลลังก์ว่า :

«

ความว่า บรรดา(มลาอิกะฮฺ)ผู้แบกบัลลังก์และผู้ที่อยู่รอบๆ บัลลังก์ต่างก็แซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธาว่า ข้าแต่ผู้อภิบาลของเรา ความเมตตาและความรอบรู้แห่งพระองค์นั้นครอบคลุมไปทั่วทุกสิ่ง ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้ขอลุแก่โทษ และดำเนินตามแนวทางของพระองค์ และทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรก ข้าแต่พระเจ้าของเรา และขอพระองค์ทรงให้พวกเขาได้เข้าในสวนสวรรค์หลากหลายอันสถาพร ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาแก่พวกเขาและแก่ผู้มีคุณธรรมทั้งหลายในหมู่ปู่ย่าตายายของพวกเขา คู่ครองของพวกเขา และลูกหลานของพวกเขา แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอำนาจผู้ทรงปรีชาญาน และขอพระองค์ทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากความชั่วทั้งหลาย และผู้ใดที่พระองค์ทรงคุ้มครองให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายในวันนั้น แน่นอน แสดงว่าพระองค์ได้เมตตาเขาแล้วและนั่นคือความสำเร็จอันใหญ่หลวง’”  (ฆอฟิรฺ : 7-9)

(จากหนังสือ มุคตะศ็อรฺ ฟิกฮุล อิสลามีย์ โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ แปลโดย อิบรอฮีม อาลหูเซ็น)

الَّذِينَ يَحْمِلُونَ الْعَرْشَ وَمَنْ حَوْلَهُ يُسَبِّحُونَ بِحَمْدِ رَبِّهِمْ وَيُؤْمِنُونَ بِهِ وَيَسْتَغْفِرُونَ لِلَّذِينَ آمَنُوا رَبَّنَا وَسِعْتَ كُلَّ شَيْءٍ رَحْمَةً وَعِلْماً فَاغْفِرْ لِلَّذِينَ تَابُوا وَاتَّبَعُوا سَبِيلَكَ وَقِهِمْ عَذَابَ الْجَحِيمِ، رَبَّنَا وَأَدْخِلْهُمْ جَنَّاتِ عَدْنٍ الَّتِي وَعَدْتَهُمْ وَمَنْ صَلَحَ مِنْ آبَائِهِمْ وَأَزْوَاجِهِمْ وَذُرِّيَّاتِهِمْ إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ، وَقِهِمُ السَّيِّئَاتِ وَمَنْ تَقِ السَّيِّئَاتِ يَوْمَئِذٍ فَقَدْ رَحِمْتَهُ وَذَلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ»
موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top