حديث رقم 16 - استحباب تعجيل الفطر

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: حديث رقم 16 - استحباب تعجيل الفطر
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: مقالة مقتبسة من سلسلة 40 حديثاً في شهر رمضان المبارك، وفيها شرح مختصر لحديث سهل بن سعد وأبي هريرة رضي الله عنهما في استحباب تعجيل الفطر، مع بيان ما يستفاد من الحديث.
تأريخ الإضافة: 2010-08-21
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/320365
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
หะดีษที่ 16 - ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา
493.5 KB
فتح: หะดีษที่ 16 - ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา.doc
2.
หะดีษที่ 16 - ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา
189.5 KB
فتح: หะดีษที่ 16 - ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

หะดีษบทที่ 16

ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา

 

عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «لاَ يَزَالُ النَّاسُ بِخَيْرٍ مَا عَجَّلُوا الْفِطْرَ». (البخاري رقم 1821، مسلم رقم 1838)

                                                            

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «لاَ يَزَالُ الدِّينُ ظَاهِرًا مَا عَجَّلَ النَّاسُ الْفِطْرَ، لأََنَّ الْيَهُودَ وَالنَّصَارَى يُؤَخِّرُونَ». (أبو داود رقم 2006، صحيح سنن أبي داود للألباني رقم2063: حسن)

 

ความว่า จากท่าน สะหฺล์ อิบนุ สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้คนทั้งหลายจะยังคงมีสุขภาพดี ตราบใดที่พวกเขารีบละศีลอดทันที(ที่ถึงเวลา) (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1821 และมุสลิม เลขที่ 1838)

 

และจากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ศาสนาจะยังคงเชิดเด่น ตราบใดที่ผู้คนยังรีบละศีลอดทันที(เมื่อถึงเวลา) เพราะพวกยิวและคริสต์จะชักช้า(ไม่รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา)  (รายงานโดย อบู ดาวูด เลขที่ 2006 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด ของอัล-อัลบานีย์ หมายเลข 2063 เป็นหะดีษหะสัน)

 

คำอธิบายหะดีษ

            จากหะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ในเรื่องการให้รีบละศีลอดเป็นความประเสริฐในหลักคำสอนอิสลามที่ต่างจากหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆ เช่น ยิวและคริสต์ และศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มุสลิมมีคุณลักษณะแตกต่างไปจากผู้ที่นับถือในศาสนาคริสต์และยิว ซึ่งในรายงานของอบู ฮุร็อยเราะฮฺได้ระบุเพิ่มเติมว่า เพราะว่าบรรดาชาวยิวและคริสต์นั้นจะล่าช้าในการละศีลอด

           

ในรายงานอิบนุ หิบบาน และอัล-หากิมระบุว่า “ประชาชาติของฉันจะคงอยู่บนสุนนะฮฺของฉัน ตราบใดพวกเขาไม่รอคอยการละศีลอดกระทั่งดวงดาวโผล่ออกมา”

           

อัล-มุฮัลลับ กล่าวว่า วิทยปัญญาดังกล่าวเพื่อมิให้การเพิ่มเวลากลางวันในเวลากลางคืน  และให้ละศีลอดทันที ซึ่งเป็นการเพิ่มความอ่อมน้อมถ่อมตนแก่ผู้มีศีลอด ขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มพลังในการประกอบอิบาดะฮฺ (ฟัตหุลบารีย์ 4/194)

           

ในรายงานบทหนึ่งของอบู ฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวถึงพระดำรัสของอัลลอฮฺว่า บ่าวของฉันที่รักฉันมากที่สุดก็คือผู้ที่ละศีลอดทันที(เมื่อถึงเวลา)” อัต-ติรมีซีย์มีทัศนะว่า เป็นหะดีษหะสันเฆาะรีบ

 

อัฏ-ฏ็อยบีย์ กล่าวว่า เป็นการหวังว่าจะได้รับความกรุณาปรานีจากอัลลอฮฺ อันเนื่องมาจากการเจริญรอยตามสุนนะฮฺของท่านรอซูลและห่างไกลจากบิดอะฮฺ และเป็นการขัดแย้งกับชาวคัมภีร์

 

อัล-กอรีย์กล่าวว่า ในหะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความประเสริฐของประชาชาติของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การเจริญรอยตามซุนนะฮฺ และเป็นการยืนยันว่าจะได้รับความกรุณาปรานีจากอัลลอฮฺ ตามที่พระองค์ได้ตรัสว่า

﴿قُلْ إِن كُنتُمْ تُحِبُّونَ اللهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللهُ﴾ (آل عمران : 31 )

ความว่า จงกล่าวเถิดมุหัมมัด หากพวกท่านรักใคร่อัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว ดังนั้นพวกท่านก็จงตามฉัน แน่แท้อัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน (อาล อิมรอน 31)

           

อัมร์ บิน มัยมูน อัล-เอาดีย์ กล่าวว่า แท้จริงบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีนั้น จะละศีลอดทันที (เมื่อถึงเวลาละศีลอด) และเป็นผู้ที่ล่าช้าที่สุดในการรับประทานอาหารสะหูรฺ      (ตุหฺฟะตุล อะหฺวะซีย์ 3/386)

 

 

บทเรียนจากหะดีษ

1.      ศาสนาอิสลามยังคงเป็นศาสนาที่สูงส่งและประสบชัยชนะเหนือศาสนาอื่น ด้วยความสัจธรรมและการยอมรับจากอัลลอฮฺอันเป็นศาสนาที่พระองค์ทรงโปรดปราน

2.      อิสลามยังคงเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม ตราบใดที่ผู้ที่นับถืออิสลามยังคงยึดมั่นในหลักคำสอนอิสลามอย่างมั่นคง ประการหนึ่งคือ ด้วยการรักษาเวลาในการละศีลอด (ละทันทีเมื่อถึงเวลา)

3.      ฝึกฝนให้มุสลิมมีความเคยชินกับระเบียบและการตรงต่อเวลาในการประกอบอิบาดะฮฺ

4.      อิสลามเอาใจใส่ต่อผู้ที่ถือศีลอดและส่งเสริมให้ประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ

5.      ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่พึงพอใจหากประชาชาติของท่านล่าช้าในการละศีลอด ฉะนั้นด้วยเหตุการล่าช้าในการละศีลอดจะนำไปสู่ความเสียหายต่อศาสนาได้

6.      เพื่อให้เกิดความแตกต่างไปจากการดำเนินชีวิตของชาวยิวและคริสต์ โดยเฉพาะวิธีการละศีลอด ซึ่งหลักฐานจากหะดีษพบว่าพวกเขาจะล่าช้าในการละศีลอด

7.      การละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลานั้นเป็นซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  

8.      การละศีลอดทันทีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ถือศีลอด

انظر أيضاً ( 30 )
موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top