حديث رقم 13 - الحذر عن قول الزور أثناء الصيام

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: حديث رقم 13 - الحذر عن قول الزور أثناء الصيام
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: مقالة مقتبسة من سلسلة 40 حديثاً في شهر رمضان المبارك، وفيها شرح مختصر لحديث أبي هريرة رضي الله عنه "من لم يدع قول الزور والعمل به ... إلخ الحديث"، مع بيان ما يستفاد من الحديث.
تأريخ الإضافة: 2010-08-18
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/320119
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
หะดีษที่ 13 - ภัยจากการพูดปดขณะถือศีลอด
457.5 KB
فتح: หะดีษที่ 13 - ภัยจากการพูดปดขณะถือศีลอด.doc
2.
หะดีษที่ 13 - ภัยจากการพูดปดขณะถือศีลอด
174.2 KB
فتح: หะดีษที่ 13 - ภัยจากการพูดปดขณะถือศีลอด.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

หะดีษบทที่ 13

ภัยจากการพูดปดขณะถือศีลอด

 

 

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ لِلهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ». (البخاري رقم 1770)

 

ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ไม่ละทิ้งการพูดเท็จและยังปฏิบัติอยู่อีก(ในขณะที่ถือศีลอด) ดังนั้น ไม่ใช่ความจำเป็นเลยสำหรับ อัลลอฮฺ ที่เขาผู้นั้นต้องละทิ้งอาหารการดื่มกินของเขา (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1770)

 

 

คำอธิบายหะดีษ

            หะดีษนี้ให้หมายความว่า การถือศีลอดของเขาจะไม่มีความหมายหรือผลตอบแทนใดๆ จากอัลลอฮฺ ตราบใดที่เขาไม่ละทิ้งการพูดเท็จในขณะที่ถือศีลอด

อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า คำว่า อัลลอฮฺไม่ประสงค์ต่อการอดอาหารและการดื่มของเขาคือ อัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับการถือศีลอด

            อัล-บัยฎอวีย์ กล่าวว่า เนื่องจากการถือศีลอดนั้นไม่ใช่ความหิวและความกระหาย แต่ผลจากการถือศีลอดนั้นสามารถลดอารมณ์ใฝ่ต่ำและลดอารมณ์ชั่วร้ายได้ จนทำให้อารมณ์ดังกล่าวมีความสงบและมีความสุข (ดังนั้น เมื่อยังทำชั่วอยู่ขณะถือศีลอด ก็แสดงว่าการถือศีลอดนั้นไม่ได้ผลอะไรเลย)

            อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า  อาศัยหลักฐานจากคำกล่าวดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าการกระทำอันชั่วร้ายทำให้(มีผลกระทบต่อ)ผลบุญของการถือศีลอด คือจะทำให้มันลดลง

            อิบนุ บัฏฏ็อล กล่าวว่า (หะดีษข้างต้น) มิใช่หมายความว่าสั่งให้เขาละทิ้งการถือศีลอด แต่ความหมายของหะดีษดังกล่าวเพื่อเตือนเขาไม่ให้พูดโกหก

 

 

บทเรียนจากหะดีษ

1.      ผู้ที่ถือศีลอดจะต้องละทิ้งคำพูดที่โกหกมดเท็จ

2.      ผู้ที่ยังคงพูดจาโกหกมดเท็จขณะที่เขากำลังถือศีลอดนั้น ในความหมายที่แท้จริงแล้ว เขามิใช่เป็นผู้ที่ถือศีลอด

3.      การถือศีลอดจะไม่มีความหมาย และจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ หากเขายังพูดโกหกมดเท็จอยู่

4.      การพูดโกหกและการประพฤติเช่นนั้นเป็นตัวบ่อนทำลายผลบุญของการถือศีลอด

5.      ส่งเสริมให้รักษามารยาทของการถือศีลอดเพื่อให้การถือศีลอดของเขาได้รับการตอบรับจากอัลลอฮฺ

 

انظر أيضاً ( 30 )
موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top