هل يوصى بختم العام بالاستغفار والصيام؟

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: هل يوصى بختم العام بالاستغفار والصيام؟
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: سؤال أجاب عنه فضيلة الشيخ محمد صالح المنجد - حفظه الله -، ونصه: «مع اقتراب نهاية السنة الهجرية تنتشر رسائل الجوال بأن صحيفة الأعمال سوف تطوى بنهاية العام، وتحث على ختمه بالاستغفار والصيام؛ فما حكم هذه الرسائل؟ وهل صيام آخر يوم من السنة، إذا وافق الاثنين أو الخميس بدعة؟».
تأريخ الإضافة: 2009-12-15
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/260479
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ควรมีการสั่งเสียให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการขออภัยโทษและการถือศีลอดหรือไม่ ?
367.7 KB
فتح: ควรมีการสั่งเสียให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการขออภัยโทษและการถือศีลอดหรือไม่ ?.pdf
2.
ควรมีการสั่งเสียให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการขออภัยโทษและการถือศีลอดหรือไม่ ?
322 KB
فتح: ควรมีการสั่งเสียให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการขออภัยโทษและการถือศีลอดหรือไม่ ?.doc
نبذة موسعة

ควรมีการสั่งเสียให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการขออภัยโทษและการถือศีลอดหรือไม่ ?

 

ถาม : ทุกครั้งเมื่อใกล้จะสิ้นปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช ได้มีข้อความที่ส่งแพร่กระจายทางโทรศัพท์มือถือว่า สมุดบันทึกการงานจะถูกปิดบัญชีเมื่อสิ้นปี และสนับสนุนให้ปิดท้ายปีเก่าด้วยการอิสติฆฟารและถือศีลอด ถามว่าอะไรคือหุก่มของการส่งข้อความเหล่านี้ ? และการถือศีลอดท้ายปีที่ตรงกับวันจันทร์หรือวันพฤหัสบดีนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่ ?

 

ตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ

 

แท้จริง ได้มีหลักฐานจากสุนนะฮฺว่า การงานต่างๆ ของบ่าวนั้นจะถูกนำไปเสนอต่ออัลลอฮฺอย่างต่อเนื่อง สองครั้งในแต่ละวัน คือ กลางคืนหนึ่งครั้ง และกลางวันอีกหนึ่งครั้ง

 

ในเศาะฮีหฺ มุสลิม (179) จากอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนขึ้นให้โอวาทแก่เราด้วยห้าประโยค ท่านได้กล่าวว่า

 إِنَّ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ لا يَنَامُ ، وَلا يَنْبَغِي لَهُ أَنْ يَنَامَ ، يَخْفِضُ الْقِسْطَ وَيَرْفَعُهُ ، يُرْفَعُ إِلَيْهِ عَمَلُ اللَّيْلِ قَبْلَ عَمَلِ النَّهَارِ، وَعَمَلُ النَّهَارِ قَبْلَ عَمَلِ اللَّيْلِ 

ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺ วัซซะวะญัลลฺ ไม่ทรงนอน และไม่ใช่สิ่งคู่ควรที่พระองค์จะทรงนอน พระองค์จะทรงนำความยุติธรรมลงมาและทรงยกขึ้นสู่พระองค์ พระองค์จะทรงยกงานของกลางคืนก่อนงานของเวลากลางวัน และทรงยกงานของเวลากลางวันก่อนงานของเวลากลางคืน”

 

อัน-นะวะวีย์ กล่าวอธิบายว่า  บรรดามะลาอิกะฮฺผู้จดบันทึกจะนำบันทึกการงานของช่วงกลางคืนขึ้นไปสู่พระองค์หลังจากที่กลางคืนสิ้นสุดในช่วงเช้าตรู่ และจะนำบันทึกการงานของช่วงเวลากลางวันขึ้นสู่พระองค์หลังจากที่กลางวันสิ้นสุดในช่วงเย็น

 

มีรายงานบันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ (555) และมุสลิม (632) จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 يَتَعَاقَبُونَ فِيكُمْ مَلائِكَةٌ بِاللَّيْلِ وَمَلائِكَةٌ بِالنَّهَارِ ، وَيَجْتَمِعُونَ فِي صَلاةِ الْفَجْرِ وَصَلاةِ الْعَصْرِ ، ثُمَّ يَعْرُجُ الَّذِينَ بَاتُوا فِيكُمْ فَيَسْأَلُهُمْ وَهُوَ أَعْلَمُ بِهِمْ : كَيْفَ تَرَكْتُمْ عِبَادِي ؟ فَيَقُولُونَ : تَرَكْنَاهُمْ وَهُمْ يُصَلُّونَ وَأَتَيْنَاهُمْ وَهُمْيُصَلُّونَ 

ความว่า “บรรดามะลาอิกะฮฺของช่วงกลางคืนและมะลาอิกะฮฺของช่วงกลางวันจะสับเปลี่ยนมาอยู่กับพวกท่าน พวกเขาจะพบเจอกันในช่วงละหมาดศุบหฺและละหมาดอัศรฺ แล้วมะลาอิกะฮฺที่อยู่ในช่วงกลางคืนกับพวกท่านก็จะขึ้นไปสู่พระองค์อัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็จะทรงถามพวกเขา ทั้งๆ ที่พระองค์นั้นรู้ดียิ่งกว่าพวกเขาแล้ว ว่า พวกเจ้าจากปวงบ่าวของข้ามาในลักษณะเช่นใด ? พวกเขาจะกล่าวตอบว่า เราจากพวกเขามาในขณะที่พวกเขากำลังละหมาด และเราได้ไปหาพวกเขาในขณะที่พวกเขากำลังละหมาดเช่นเดียวกัน”

 

อัล-หาฟิซ อิบนุ หะญัร ได้กล่าวว่า ในหะดีษมีบทเรียนว่า การงานทั้งหลายจะถูกยกขึ้นในช่วงท้ายของกลางวัน ใครที่อยู่ในภาวะการทำความดีในขณะนั้นเขาก็จะได้รับความจำเริญในริซกีและอะมัลของเขา วัลลอฮุอะอฺลัม ซึ่งมันนำไปสู่เหตุผลที่ว่าเราควรต้องหมั่นรักษาและให้ความสำคัญกับละหมาดศุบหฺและละหมาดอัศรฺให้ดี (จบการอ้าง)

 

หลักฐานจากสุนนะฮฺได้บ่งชี้ว่า ในทุกสัปดาห์การงานจะถูกนำเสนอต่ออัลลอฮฺด้วยเช่นกัน คือสัปดาห์ละสองครั้ง

 

มุสลิม (2565) ได้บันทึกรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า

 تُعْرَضُ أَعْمَالُ النَّاسِ فِي كُلِّ جُمُعَةٍ مَرَّتَيْنِ يَوْمَ الِاثْنَيْنِ وَيَوْمَ الْخَمِيسِ فَيُغْفَرُ لِكُلِّ عَبْدٍ مُؤْمِنٍ إِلا عَبْدًا بَيْنَهُ وَبَيْنَ أَخِيهِ شَحْنَاءُ فَيُقَالُ : اتْرُكُوا هَذَيْنِ حَتَّى يَفِيئَا 

ความว่า “การงานทั้งหลายของมนุษย์จะถูกนำเสนอในทุกๆ สัปดาห์สองครั้ง คือในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี แล้วพระองค์ก็จะทรงอภัยโทษให้กับบ่าวผู้ศรัทธาทุกคน ยกเว้นบ่าวที่มีความบาดหมางกับพี่น้องของเขา ซึ่งจะถูกกล่าวว่า ปล่อยสองคนนี้ก่อนจนกว่าเขาทั้งสองจะไกล่เกลี่ยคืนดีกัน”

 

และยังมีหลักฐานจากสุนนะฮฺที่ชี้ว่าทุกปีจะมีการยกอะมัลต่างๆ ขึ้นสู่อัลลอฮฺโดยเหมารวมทั้งหมดหนึ่งครั้งในเดือนชะอฺบาน

 

อัน-นะสาอีย์ (2357) บันทึกจากอุสามะฮฺ บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ฉันได้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ฉันไม่เคยเห็นท่านถือศีลอดเดือนไหนเหมือนที่ท่านถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน ! ท่านรอซูลตอบว่า

 ذَلِكَ شَهْرٌ يَغْفُلُ النَّاسُ عَنْهُ بَيْنَ رَجَبٍ وَرَمَضَانَ ، وَهُوَ شَهْرٌ تُرْفَعُ فِيهِ الأَعْمَالُ إِلَى رَبِّ الْعَالَمِينَ فَأُحِبُّ أَنْ يُرْفَعَ عَمَلِي وَأَنَا صَائِمٌ 

ความว่า “นั่นเป็นเดือนที่มนุษย์หลงลืม เป็นเดือนระหว่างเราะญับกับเราะมะฎอน เป็นเดือนที่การงานทั้งหลายจะถูกยกขึ้นสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้น ฉันชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกยกขึ้นไปในขณะที่ฉันถือศีลอด” (อัล-อัลบานีย์ วินิจฉัยว่าหะสัน ใน เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ)

 

สรุปจากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้แล้ว เราพบว่าการงานต่างๆ ของบ่าวนั้นจะถูกนำเสนอต่ออัลลอฮฺแบ่งเป็นสามประเภทของการนำเสนอ คือ

- การนำเสนอประจำวัน คือสองครั้งในแต่ละวัน

- การนำเสนอประจำสัปดาห์ คือสองครั้งในแต่ละสัปดาห์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

- การนำเสนอประจำปี คือหนึ่งครั้งในแต่ละปี ในเดือนชะอฺบาน

 

อิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า การงานของแต่ละปีจะถูกยกขึ้นไปในเดือนชะอฺบาน เช่นที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกไว้ และการงานแต่ละสัปดาห์จะถูกยกขึ้นไปในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ส่วนการงานของกลางวันจะถูกยกขึ้นในช่วงท้ายของวันก่อนถึงเวลากลางคืน และการงานของกลางคืนจะถูกยกขึ้นในช่วงท้ายของคืนก่อนถึงเวลากลางวัน การยกขึ้นไปในแต่ละวันจะจำเพาะเจาะจงกว่าการส่งขึ้นในแต่ละปี และเมื่อมนุษย์หมดอายุขัยแล้ว การงานในชีวิตของเขาทั้งหมดก็จะถูกยกขึ้นและสมุดบันทึกการงานของเขาก็จะถูกม้วนเก็บ (จบการอ้างอย่างสรุปจาก หาชิยะฮฺ สุนัน อบี ดาวูด)

 

หะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงการยกการงานสู่อัลลอฮฺนี้ ได้บ่งชี้สนับสนุนให้เราเพิ่มการทำความดีในช่วงที่มีการนำเสนออะมัลต่อพระองค์ เช่นที่ท่านรอซูลได้กล่าวว่า “ดังนั้น ฉันชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกส่งขึ้นไปในขณะที่ฉันถือศีลอด”

 

ในสุนัน อัต-ติรมิซีย์ (747) บันทึกจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 تُعْرَضُ الأَعْمَالُ يَوْمَ الاثْنَيْنِ وَالْخَمِيسِ ؛ فَأُحِبُّ أَنْ يُعْرَضَ عَمَلِي وَأَنَا صَائِمٌ 

ความว่า “การงานทั้งหลายจะถูกนำเสนอในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกนำเสนอในขณะที่ฉันถือศีลอด” (อัล-อัลบานีย์ วินิจฉัยว่าเศาะฮีหฺ ใน อิรวาอ์ อัล-เฆาะลีล 949)

 

ตาบิอีนบางท่านถึงกับร้องไห้ต่อหน้าภรรยาและภรรยาของเขาก็ร้องไห้กับเขาในวันพฤหัสบดี พร้อมๆ กับกล่าวรำพึงรำพันว่า วันนี้เป็นวันที่การงานของเราถูกนำเสนอต่ออัลลอฮฺ วัซซะวะญัลลฺ !! (อิบนุ เราะญับได้กล่าวถึงใน ละฏอิฟุล มะอาริฟ)

 

จากที่เราได้กล่าวมาทั้งหมดจึงเป็นที่ชัดเจนว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับช่วงปิดท้ายปีเก่าหรือขึ้นปีใหม่ ว่าสมุดบันทึกการงานจะถูกปิดบัญชีและมีการนำเสนอการงานต่ออัลลอฮฺในช่วงนี้แต่อย่างใด แต่การนำเสนอประเภทต่างๆ จะเกิดขึ้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งหลักฐานได้ระบุเจาะจงเวลาอื่น(ไม่ใช่ช่วงปีใหม่) และได้ชี้ถึงแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในการประกอบความดีให้มากในช่วงเวลาเหล่านั้น

 

ท่านเชคศอลิหฺ อัล-เฟาซาน กล่าวถึงการสะกิดเตือนให้นึกถึงการสิ้นปีในแต่ละปีว่า ไม่มีหลักฐานในเรื่องนั้น การเจาะจงทำอิบาดะฮฺเฉพาะเช่นการถือศีลอดในช่วงส่งท้ายปีเก่าถือเป็นบิดอะฮฺที่มุงกัร (จบการอ้าง)

 

ส่วนการถือศีลอดวันจันทร์หรือวันพฤหัสบดีนั้น ถ้าหากคนผู้หนึ่งได้เคยทำมาอย่างเป็นกิจวัตร หรือถือศีลอดเพราะหลักฐานตามที่มีระบุถึงการสนับสนุนให้ถือศีลอดในสองวันนี้ ก็ไม่ห้ามแต่ประการใดถ้าหากว่าเขาจะถือศีลอดสองวันนี้ซึ่งไปตรงกับวันสิ้นปีหรือวันขึ้นปีใหม่โดยบังเอิญ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีเจตนาถือศีลอดเพราะมันตรงกับวันสิ้นปีหรือวันปีใหม่ หรือเป็นการคาดคิดของเขาว่าการถือศีลอดวันจันทร์หรือวันพฤหัสบดีในช่วงเทศกาลนี้มีความประเสริฐที่จำเพาะเจาะจง

 

วัลลอฮุอะอฺลัม

 

คำตอบโดย เว็บไซต์ อิสลามถามตอบ

ฟัตวาหมายเลข 44021

موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top