സമയം പാഴാക്കല്‍

ലേഖനങ്ങള്‍ ഇനം-വിവരണം
അഡ്രസ്സ്: സമയം പാഴാക്കല്‍
ഭാഷ: തായ്‌
പരിശോധകര്‍: സ്വാഫി ഉസ്മാന്‍
സംക്ഷിപ്തം: അല്ലാഹുവിന്‍റെ അനുഗ്രഹമായ സമയം പാഴാക്കുന്നതിന്‍റെ അപകടങ്ങള്‍ വിവരിക്കുന്നു.
ചേര്‍ത്ത തിയ്യതി: 2007-12-30
ബ്രീഫ് ലിങ്ക്: http://IslamHouse.com/70450
താഴെ വരുന്ന ഇനങ്ങള് വിഷയാടസ്ഥാനത്തില് ക്രമീകരിക്കപ്പെട്ടവ
താഴെ പറയുന്ന ഭാഷയിലേക്ക് ഈ കാര്ഢ് ഭാഷാന്തരം ചെയ്തിരിക്കുന്നു: തായ്‌ - അറബി - ബെങ്കാളി - ബോസ്നിയന്‍ - ഉസ്ബക്‌ - ഇംഗ്ലീഷ് - തുര്‍കിഷ്‌
സംക്ഷിപ്തങ്ങളുടെ വിവരണം

เวลาคืออายุของชีวิต เป็นนิอฺมัต(คุณค่า)ที่สำคัญสำหรับมนุษย์  อัลลอฮฺได้กล่าวถึงนิอฺมัตอันสำคัญนี้ว่า

وَسَخَّر لَكُمُ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ دَآئِبَينَ وَسَخَّرَ لَكُمُ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ (سورة إبراهيم:33) 

และพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า โดยโคจรเป็นปกติ และทรงให้กลางคืนและกลางวันเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า(อัล-  กุรอาน สูเราะฮฺ อิบรอฮีม: 33)

อายุขัยของมนุษย์บนโลกนี้นั้นแสนสั้น เมื่อเทียบกับเวลาในโลกหน้า หน้าที่ของมนุษย์ในขณะที่มีชีวิตในโลกนี้จึงเป็นการตักตวงและใช้ประโยชน์จากเวลาที่มีอยู่ให้มากที่สุด เพื่อเตรียมสัมภาระที่จำเป็นและพร้อมสำหรับการเดินทางอันแสนยาวนานในโลกหน้า

ด้วยเพราะความจำกัดของเวลาที่มีอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงควรรู้จักใช้เวลาให้ดีที่สุด ไม่ปล่อยให้เวลาและอายุขัยของชีวิตหลุดลอยไปโดยไร้ประโยชน์ใดๆ ต่อตัวเอง การละเลยต่อการใช้เวลาให้คุ้มค่าในชีวิตนี้ถือว่าเป็นความขาดทุนที่ใหญ่หลวง แต่กระนั้นก็ยังมีมนุษย์มากมายจมอยู่ในสภาพของการใช้เวลาไม่เป็น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า นิอฺมัตสองประการที่มนุษย์หลงลืมและใช้อย่างเสียหายมากที่สุด นั่นคือสุขภาพที่ดีและเวลาว่าง (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)

การหลงลืมของมนุษย์ต่อการใช้เวลานั้น มีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือการหลงลืมความเป็นจริงของชีวิต ว่าตนเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ มีหน้าที่ต้องศรัทธาต่อพระองค์ ต้องปฏิบัติความดีงาม เพื่อใช้เป็นสัมภาระในโลกหน้า มนุษย์จะขาดทุนอย่างมหาศาลถ้าหากในชีวิตของเขาไม่ได้นึกถึงสิ่งเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเขาใช้เวลาในชีวิตเพื่อปรนเปรอความต้องการของตัวเองและอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพื่อความสุขสนุกสนานชั่วครู่ชั่วคราวบนโลกนี้เพียงอย่างเดียว

ดังนั้น การป้องกันการขาดทุนจากการใช้เวลาคือการกลับไปสู่คำสอนของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

وَالْعَصْرِ، إِنَّ الْإِنسَانَ لَفِي خُسْرٍ، إِلاَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ (سورة العصر) 

ขอสาบานด้วยเวลา แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุนอย่างแน่นอน ยกเว้นผู้ที่ศรัทธาและปฏิบัติความดีงาม และผู้ที่สั่งเสียและตักเตือนกันใน      สัจธรรมความถูกต้อง และสั่งเสียกันให้มีความอดทน (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ)

ความขาดทุนที่ใหญ่หลวงคือความขาดทุนในโลกหน้า เพราะปล่อยปะละเลยเวลาในโลกนี้ โดยไม่ใช้ประโยชน์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเดินทางไปยังโลกอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

قُلْ إِنَّ الْخَاسِرِينَ الَّذِينَ خَسِرُوا أَنفُسَهُمْ وَأَهْلِيهِمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَلاَ ذَلِكَ هُوَ الْخُسْرَانُ الْمُبِينُ (سورة الزمر:15) 

จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) แท้จริงบรรดาผู้ขาดทุนนั้นคือผู้ที่ทำให้ตัวเองและครอบครัวเสียหายในวันกิยามะฮฺ พึงรู้เถิดว่านั่นคือการขาดทุนที่ชัดแจ้ง (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัซ-ซุมัรฺ : 15)

เพื่อหลีกเลี่ยงความขาดทุนในชีวิตอันยาวนานในโลกหน้า มนุษย์จึงต้องรักษาความศรัทธาและการปฏิบัติความดีของตนอยู่เสมอ และต้องรู้จักฉกฉวยโอกาสที่มีอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตนเองเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในโลกหน้า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกำชับไว้มีความว่า จงฉวยโอกาสในห้าอย่าง ก่อนอีกห้าอย่างจะมาถึง นั่นคือความหนุ่มก่อนความแก่ สุขภาพดีก่อนการเจ็บไข้ ความมั่งมีก่อนจะยากไร้ เวลาว่างก่อนจะไม่มีเวลา และการมีชีวิตก่อนความตายมาเยือน (รายงานโดย อัล-หากิม)

 

1. เวลามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ เพราะหมายถึงอายุขัยและชีวิตของเขา

2.เวลาในโลกนี้แสนสั้นยิ่งนักเมื่อเทียบกับเวลาในโลกหน้า ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรู้จักใช้เวลาให้เป็น

3.อัลลอฮฺสั่งให้มนุษย์ใช้เวลาในชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของเขาในโลกหน้า

4.การปล่อยปะละเลยเวลาในชีวิตถือเป็นความขาดทุนและความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

5.มนุษย์จะพ้นจากความขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ถ้าหากสามารถรักษาอีมานหรือความศรัทธาของตนต่อพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งหมั่นปฏิบัติความดีอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเป็นสม่ำเสมอ

 

1. ท่านคิดว่าวัยหนุ่มมีความสำคัญสำหรับมนุษย์อย่างไรบ้าง? กรุณาแสดงความคิดเห็น

2.ท่านมีวิธีใดบ้างเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์?

3.ท่านคิดว่าควรจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ขาดทุนในวัน   อาคิเราะฮฺ?

- คำถามหลังบทเรียน- ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน
Go to the Top