ليلة النصف من شعبان لا تخصص بالعبادة

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: ليلة النصف من شعبان لا تخصص بالعبادة
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: قرأت في أحد الكتب أن صيام ليلة النصف من شعبان بدعة من البدع ، و قرأت في مصدر آخر أن من الأيام التي يستحب الصيام فيها ليلة النصف من شعبان … ما الحكم القطعي في ذلك ؟ . سؤال أجاب عليه فضيلة الشيخ محمد صالح المنجد في موقع الإسلام سؤال وجواب
تأريخ الإضافة: 2010-07-20
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/316646
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ไม่เจาะจงทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟูชะอฺบาน
445 KB
فتح: ไม่เจาะจงทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟูชะอฺบาน.doc
2.
ไม่เจาะจงทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟูชะอฺบาน
166.7 KB
فتح: ไม่เจาะจงทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟูชะอฺบาน.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ไม่เจาะจงทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟูชะอฺบาน(กลางเดือนชะอฺบาน)

 

ถาม

ฉันเคยอ่านตำราบางเล่มพบว่าการถือศีลอดกลางเดือนชะอฺบานเป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรม)อย่างหนึ่ง และเช่นเดียวกันนั้น ฉันได้อ่านตำราอีกบางแหล่งบอกว่าการถือศีลอดในช่วงวันดังกล่าวเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ ... ดังนั้นในประเด็นดังกล่าวมีหุก่มข้อชี้ขาดว่าอย่างไร ?

 

ตอบ   อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

ไม่ปรากฏว่ามีหะดีษเศาะฮีหฺซึ่งสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้ที่สืบสายจนถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่บ่งบอกถึงความประเสริฐของคืนกลางเดือนชะอฺบานถึงแม้ว่าจะเป็นหะดีษในเรื่องของความประเสริฐในการปฏิบัติความดีงามต่างๆ ก็ตาม

ที่มีปรากฏก็คือ เพียงแค่ร่องรอยสายรายงาน(อาษารฺ) บางส่วนที่มาจากบรรดาตาบิอีนซึ่งสืบสายไม่ถึงยังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ซึ่งสายรายงานที่ดีที่สุดของเรื่องนี้แล้วยังอยู่ในระดับปลอม (เมาฎูอฺ) หรืออ่อนมาก(เฎาะอีฟ ญิดดัน) และสายรายงานต่างๆ นั้นเป็นที่แพร่หลายในหลายประเทศที่เป็นสังคมซึ่งมีความรู้น้อย ซึ่งพวกเขาเชื่อกันว่าในคืนนั้นอัลลอฮฺจะกำหนดวาระต่างๆ และจะเปลี่ยนเรื่องอายุขัยใหม่ ...

ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีบทบัญญัติให้กระทำสิ่งใดเป็นกรณีพิเศษในค่ำคืนนี้ ไม่มีการเจาะจงถือศีลอดในตอนกลางวัน ไม่มีการทำอิบาดะฮฺรูปแบบเฉพาะ และไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องที่ว่ามีผู้คนที่ไม่รู้จำนวนมากปฏิบัติมันอยู่ วัลลอฮุอะอฺลัม

            อ้างจาก เชค อิบนุ ญับรีน

ดังนั้น เมื่อเขาต้องการจะปฏิบัติอะมัลในค่ำคืนดังกล่าวเสมือนที่เขาเคยปฏิบัติในค่ำคืนอื่นๆ –โดยไม่ปฏิบัติเพิ่มเติม หรือมีความทุ่มเทเป็นพิเศษ และไม่ได้เจาะจงปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น - ในกรณีเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นไร

และในทำนองเดียวกัน หากเขาถือศีลอดในวันที่สิบห้าของเดือนชะอฺบาน เพราะว่ามันเป็นช่วงของ อัยยามุลบัยฎฺ(คืนเดือนขึ้น) โดยถือศีลอดในวันที่สิบสี่และสิบสามพร้อมไปด้วย หรือเพราะถือศีลอดในวันจันทร์วันพฤหัสบดีเมื่อวันที่สิบห้าไปตรงกับวันจันทร์หรือวันพหัสบดีพอดี ก็ถือว่าไม่เป็นไรเช่นกัน เมื่อเขาไม่ได้ยึดมั่นว่ามันมีความประเสริฐเพิ่มพูนขึ้นหรือมีผลบุญอื่นอีก ...

วัลลอฮุตะอะลาอะอฺลัม

เชค มุฮัมมัด ศอลิฮฺ อัลมุนัจญิด

 

ที่มา islamqa.info หมายเลขฟัตวา 8907

 

Go to the Top