ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา

บทความ การ์ดของข้อมูล
หัวข้อ: ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา
ภาษา: ไทย
ผู้เขียน: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
ผู้แปล: ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน: อัสรัน นิยมเดชา
เผยแพร่โดย: สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
คำอธิบายโดยย่อ: จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดย เชค มุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์ อธิบายลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษาคดีความของกอฎีย์
วันที่เพิ่ม: 2010-05-04
ลิงก์แบบย่อ: http://IslamHouse.com/293408
:: หัวข้อนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ ::
คำแปลของการ์ดข้อมูลในภาษาต่างๆ: อาหรับ
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล ( 2 )
1.
ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา
426 KB
: ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา.doc
2.
ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา
150.2 KB
: ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา.pdf
คำอธิบายโดยละเอียด

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ลักษณะของการตัดสินพิพากษา

 

เมื่อคู่กรณีพิพาททั้งสองฝ่ายมายังผู้พิพากษา  ให้ผู้พิพากษาถามว่าใครเป็นโจทก์ (เป็นผู้กล่าวหา) หรือเขาอาจจะสงบนิ่งเพื่อที่จะให้คู่กรณีคนใดคนหนึ่งได้พูด  ผู้เป็นโจทก์ให้เริ่มเป็นผู้ให้การก่อน  และหากจำเลยยอมรับก็ให้ตัดสินไปตามนั้น

ในกรณีที่จำเลยให้การปฏิเสธ  ผู้พิพากษาจะกล่าวแก่โจทก์ว่าจงนำหลักฐานมาแสดง  ดังนั้นเมื่อเขานำหลักฐานมาแสดงผู้พิพากษาก็จะรับฟังและตัดสินไปตามนั้น  และเขาจะไม่ตัดสินตามที่รู้มานอกจากในกรณีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

หากโจทก์กล่าวว่าฉันไม่มีหลักฐาน  ผู้พิพากษาก็จะให้เขากล่าวสาบาน  และหากโจทย์ต้องการให้จำเลยสาบานด้วย (ในกรณีที่เขาไม่ยอมรับ ผู้แปล)  ผู้พิพากษาก็ใช้ให้จำเลยสาบานแล้วก็ปล่อยเขาไป

ในกรณีที่จำเลยไม่ยอมสาบาน  ผู้พิพากษาก็จะต้องตัดสินไปตามนั้น  เนื่องจากการนิ่งเฉยเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่าโจทย์มีความสัจจริงและผู้พิพากษาจะให้โจทย์สาบานซ้ำเมื่อจำเลยไม่ยอมมสาบานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำหนักอยู่ฝ่ายโจทย์  ดังนั้นเมื่อโจทย์ได้สาบานแล้วก็ให้ตัดสินไปตามนั้น

และในกรณีที่จำเลยได้สาบานแล้วผู้พิพากษาได้ปล่อยเขาไปแล้ว  ต่อจากนั้นโจทก์ได้นำหลักฐานมาแสดงก็ให้ตัดสินไปตามหลักฐาน  เนื่องจากการสาบานของจำเลยก็เพื่อให้รอดพ้นจากความผิดมิได้ให้พ้นจากความเป็นจริง  และการตัดสินของผู้พิพากษาจะไม่ถูกรื้อฟื้นนอกจากจะมีความขัดแย้งกับอัลกุรอาน  หะดีษ  หรือการวินิฉัยปัญหา (อิจมาอฺ)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง ( 4 )
Go to the Top