أحكام اللباس من حيث لونه

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: أحكام اللباس من حيث لونه
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: ما المقصود بالثوب ( المعصفر ) في الحديث ؟ وهل يجوز لبس الثوب النباتي أو السكري ؟ أم هناك دليل بكراهيته ؟ سؤال أجيب عليه في موقع الإسلام سؤال وجواب
تأريخ الإضافة: 2009-10-05
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/236014
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
หุก่มเกี่ยวกับสีของเสื้อผ้า
241 KB
فتح: หุก่มเกี่ยวกับสีของเสื้อผ้า.doc
2.
หุก่มเกี่ยวกับสีของเสื้อผ้า
136.6 KB
فتح: หุก่มเกี่ยวกับสีของเสื้อผ้า.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

หุก่มเกี่ยวกับสีของเสื้อผ้า

 

คำถาม อะไรคือความหมายของเสื้อผ้าที่ย้อมแสด(ย้อมด้วยดอกคำฝอยหรือดอกแสด)ที่ระบุในหะดีษ? และสามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่คล้ายสีพืชหรือสีขาวออกเหลือง(คล้ายสีอ้อย)ได้หรือไม่? และมีปรากฏหลักฐานที่บอกว่ามันมักรูฮฺหรือไม่?

 

ตอบ อัลหัมดุลิลลาฮฺ

หนึ่ง

โดยพื้นฐานนั้น  เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่อนุมัติ (มุบาหฺ)  ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า

(هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي الأَرْضِ جَمِيعاً ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ) (البقرة : 29 )

ความว่า “พระองค์คือผู้ที่ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกสำหรับพวกเจ้า ต่อมาได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า แล้วได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” [อัลบะเกาะเราะฮฺ 2:29]

 

และอัลลอฮฺได้ทรงบอกถึงความโปรดปรานของพระองค์แก่เรา โดยทรงให้เราได้มีเสื้อผ้าสวมใส่

(يَا بَنِي آدَمَ قَدْ أَنزَلْنَا عَلَيْكُمْ لِبَاساً يُوَارِي سَوْءَاتِكُمْ وَرِيشاً وَلِبَاسُ التَّقْوَىَ ذَلِكَ خَيْرٌ ذَلِكَ مِنْ آيَاتِ اللّهِ لَعَلَّهُمْ يَذَّكَّرُونَ) (الأعراف : 26 )

ความว่า “ลูกหลานอาดัมเอ๋ย แท้จริงเราได้ประทานเครื่องนุ่งห่ม ที่ปกปิดสิ่งอันน่าละอายของพวกเจ้าแก่พวกเจ้าแล้ว และเครื่องนุ่งห่มที่ให้ความสวยงาม และเครื่องนุ่งห่มแห่งความยำเกรง นั่นคือสิ่งที่ดียิ่ง นั่นแหละ คือส่วนหนึ่ง จากบรรดาโองการของอัลลอฮฺ เพื่อว่าเขานั้นจะได้รำลึก” [อัลอะอฺรอฟ7:26]

 

ดังนั้นผู้ที่อ้างว่า บางชนิดของเสื้อผ้า หรือ บางสีนั้นเป็นสิ่งที่ต้องห้าม เขาจะต้องนำหลักฐานมาสำหรับคำพูดเหล่านั้นด้วย

 

สอง

บรรดานักวิชาการได้มีความเห็นขัดแย้งกัน สำหรับหุก่มการแต่งกายของผู้ชาย ใน 3 สีต่อไปนี้

1.      สีแดง ขัดแย้งในกรณีใช้สีแดงบริสุทธิ์ ไม่มีสีอื่นปะปน ส่วนสีแดงที่ไม่บริสุทธิ์ (มีสีอื่นปนอยู่) นั้น นักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันว่า เป็นที่อนุมัติ (ได้ตอบไปแล้วในคำตอบที่ 8341)

2.      สีที่ย้อมด้วยดอกคำฝอย (อัลอุศฟุร คือ พืชชนิดหนึ่งที่ให้สีแดงหรือสีแสดเวลาย้อมบนผ้า) เป็นสีแดงแสดๆ ส่วนสีแดงที่ย้อมด้วยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดอกคำฝอยนั้น นักวิชาการเห็นพ้องกันว่าเป็นที่อนุมัติ

3.      สีที่ย้อมด้วยหญ้าฝรั่น (อัซซะอฺฟะรอน คือ พืชชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองเวลาย้อมบนผ้า) ส่วนสีเหลืองที่ย้อมด้วยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่หญ้าฝรั่นนั้น นักวิชาการเห็นพ้องกันว่าเป็นที่อนุมัติ

 

หุก่มการแต่งกายสำหรับสีที่ย้อมด้วยดอกคำฝอย (อัลอุศฟุร) นักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งเป็น 3 ทรรศนะ

ทรรศนะที่หนึ่ง ไม่อนุญาต (หะรอม) ในมัซฮับ อัซซอฮิรียะฮฺ และ อิบนุล ก็อยยิม โดยมีหลักฐานคือ

หะดีษรายงานโดย มุสลิม (2077) จาก อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร อิบนุ อัลอาศ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้เห็นฉันสวมเสื้อผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำฝอย ท่านได้กล่าวว่า “เสื้อผ้านี่เป็นของกุฟฟาร ดังนั้นท่านจงอย่าสวมใส่มัน”  และมีอีกรายงานหนึ่ง  “แม่ของท่านได้สั่งให้ท่านสวมสิ่งนี้หรือ?” ฉันกล่าวว่า “จะให้ฉันซักมันหรือไม่?” ท่านนบีได้กล่าวว่า “แต่ทว่า ท่านจงเผามัน”  และหะดีษ รายงานโดย มุสลิม (2077) จากท่านอะลี กล่าวว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้ห้ามการสวมเสื้อผ้าที่ย้อมจากดอกคำฝอย

 

ทรรศนะที่สอง  ไม่ควรกระทำ (มักรูฮฺ) (อัลหะนะฟียะฮฺ  และอัลมาลิกียะฮฺ และ รายงานหนึ่งที่ยึดกันจาก หะนาบิละฮฺ)  พวกเขากล่าวว่า (จากหะดีษข้างต้น) การห้ามของท่าานนบี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  นั้นถือเป็นการห้ามเพราะไม่ชอบให้กระทำ (ไม่ใช่ห้ามเพราะสิ่งนั้นหะรอม) โดยรายงานจาก อัลบัรรออ์ บิน อาซิบ กล่าวว่า ฉันได้เห็นท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ในชุดเครื่องแต่งกายสีแดง(รายงานโดย อัลบุคอรี, 3551; และมุสลิม, 2337)

 

ทรรศนะที่สาม  อนุญาต (อัชชาฟีอียะฮฺ)

(อัลมัจญมูอฺ, 4/450; อัลมุฆนี, 2/299; อัลมุหัลลา, 4/69; ตะฮฺซีบ สุนัน อะบี ดาวูด, 11/117; หาชียะฮฺ อิบนุ อาบิดีน, 5/228)

สำหรับทรรศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด (วัลลอฮุอะอฺลัม) คือ ทรรศนะแรกที่บอกว่าหะรอม  เพราะความหมายที่แท้จริงของการห้ามก็คือ การไม่อนุญาต และการใส่สีแดงของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  นั้นไม่ได้หมายความว่า สีแดงนั้นมาจากการย้อมด้วยดอกคำฝอยอย่างเดียว แต่สีแดงที่ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ใส่นั้นอาจย้อมด้วยกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดอกคำฝอยก็ได้ (มะอาลิม อัสสุนัน, 4/179)

 

ส่วนการสวมเสื้อผ้าด้วยสีที่ย้อมด้วยหญ้าฝรั่น (อัซซะอฟะรอน) นั้น นักวิชาการก็มีความเห็นแตกต่างกัน 3 ทรรศนะเช่นกัน แต่ที่ถูกต้องที่สุดคือ ทรรศนะของ อัชชาฟีอียะฮฺ และรายงานหนึ่งจาก มัซฮับหันบะลีย์ คือ หะรอม (ไม่อนุมัติ) สำหรับผู้ชายที่จะใส่เสี้อผ้าที่ย้อมจากหญ้าฝรั่น และหลักฐานในเรื่องดังกล่าว จากท่านอะนัส อิบนุ มาลิก กล่าวว่า ท่านร่อซูล  ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้ห้ามไม่ให้ผู้ชายสวมใส่สิ่งที่ย้อมจากหญ้าฝรั่น (รายงานโดย อัลบุคอรี, 5846; และมุสลิม, 2101)

อัชชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน กล่าวว่า ทรรศนะที่ถูกต้องคือ ไม่อนุญาตสำหรับผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำฝอย และการย้อมด้วยหญ้าฝรั่นก็เช่นเดียวกัน (หมายถึงห้ามเหมือนกัน) (ชัรหฺ อัลมุมติอฺ, 2/218)

(ดู อัตตัมฮีด, 2/180; อัลอินศอฟ, 1/481; อัลมุหัลลา, 4/76; อัลมัจญมูอฺ, 4/449; หาชียะฮฺ อิบนุ อาบิดีน, 5/228; อัลมุฆนี, 2/299)

 

สาม

สีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีที่กล่าวมาข้างต้น นักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันว่าอนุมัติให้ใส่ได้ และจากคำพูดของท่านเหล่านั้น อิมามอันนะวะวี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัจญมูอฺ (4/337) ว่า อนุมัติให้ใส่เสื้อผ้าสีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียว ลายเส้น และอื่นๆ เหนือจากนี้ และไม่มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องนี้  และไม่มีการรังเกียจในการสวมใส่สีเหล่านี้

จากหนังสือ อัลเมาซูอะฮฺ อัลฟิกฮียะฮฺ (6/132-136) นักวิชาการได้เห็นพ้องว่า การใส่เสื้อผ้าสีขาวนั้นเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ (มุสตะหับ) และเห็นพ้องกันว่า การใส่สีเหลืองนั้นเป็นที่อนุมัติ หากสีเหลืองนั้น ไม่ได้มาจากการย้อมด้วยดอกคำฝอยหรือหญ้าฝรั่น

 

สำหรับสตรีนั้น สามารถสวมใส่สีอะไรก็ได้ที่นางต้องการ ตราบที่ไม่ได้เปิดเผยต่อผู้ชายที่ไม่ใช่มะหร็อม  ส่วนการห้ามใส่สีที่มาจากการย้อมด้วยดอกคำฝอยและหญ้าฝรั่นนั้น ห้ามเฉพาะสำหรับผู้ชายเท่านั้น

อิบนุ อับดิลบัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน (อัตตัมฮีด, 16/123) ว่า สำหรับสตรีนั้น นักวิชาการไม่มีความเห็นขัดแย้งกัน ในการอนุญาตให้เธอเหล่านั้น สวมใส่เสื้อผ้าที่ ย้อมด้วยดอกคำฝอย (อัลอุศฟุร) หรือสีแดงเข้ม (อัลมุฟัดดัม) หรือสีแดงอ่อน (อัลมุวัรร๊อด) หรือสีแดงที่ย้อมด้วยดิน (อัลมุมัชชัก)

 

สรุป

สีที่คล้ายสีของพืชหรือสีขาวออกเหลืองนวล(เหมือนสีอ้อย)  เป็นสีที่อนุญาต  และไม่ปรากฏหลักฐานการห้ามใดๆ ในสีเหล่านั้น  ยกเว้นว่าสีเหล่านั้นเป็นสีที่ถูกย้อมโดยดอกคำฝอย (อัลอุศฟุร) หรือหญ้าฝรั่น (อัซซะอฺฟะรอน) เท่านั้น และเป็นสีที่ไม่อนุมัติสำหรับผู้ชายเท่านั้น (แต่อนุมัติสำหรับสตรี)

และนี่เป็นทรรศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด จากความเห็นของนักวิชาการทั้งหลาย วัลลอฮุอะอฺลัม

 

เว็บอิสลามถามตอบ

 

ที่มา : islamqa.info  ฟัตวาหมายเลขที่ 72878

Go to the Top