كيف نفهم النزول الإلهي والليل مختلف في البلدان؟

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: كيف نفهم النزول الإلهي والليل مختلف في البلدان؟
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: ورد في الحديث : ( ينزل الله سبحانه وتعالى كل ليلة إلى سماء الدنيا في الثلث الأخير من الليل ) الحديث ، متى يبدأ الثلث الأخير ومتى ينتهي ، وكيف يكون النزول الإلهي في البلدان المختلفة ؟.
تأريخ الإضافة: 2009-07-07
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/222262
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?
222 KB
فتح: เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?.doc
2.
เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?
120.9 KB
فتح: เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?

 

คำถาม : มีรายงานในหะดีษว่า "อัลลอฮฺจะลงมาในทุกๆ คืน ยังฟากฟ้าของดุนยาในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน" (อัลหะดีษ)

เมื่อไหร่จะเริ่มหนึ่งส่วนสามสุดท้าย  และจะสิ้นสุดเมื่อใด ?  และการลงมาของอัลลอฮฺจะเป็นอย่างไรในประเทศที่มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำกัน ?

 

คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ

มีหะดีษจำนวนมากจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ยืนยันในเรื่องของการลงมาของอัลลอฮฺ คือ คำกล่าวของท่านบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า  :

«ينزل ربنا إلى سماء الدنيا كل ليلة حين يبقى ثلث الليل الآخر فيقول من يدعوني فأستجيب له من يسألني فأعطيه من يستغفرني فأغفر له»

ความว่า "พระผู้อภิบาลของเราจะลงมายังฟากฟ้าของดุนยาในทุกๆ คืนในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน  และจะมีดำรัสว่า  ผู้ใดที่วิงวอนข้า ข้าจะตอบรับเขา  ผู้ใดที่ขอข้า ข้าจะให้เขา  ผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้า ข้าจะอภัยให้เขา"

 

อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺเห็นตรงกันในการยืนยันถึงการลงมา(ของพระองค์อัลลอฮฺ)ที่เหมาะสมกับพระองค์ โดยไม่เหมือนสิ่งถูกสร้างใดๆ ในด้านคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์  อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  :

﴿قُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ ، اللهُ الصَّمَدُ ، لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ ، وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ﴾

ความว่า "จงล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ  อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง  พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ  และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"  (ซูเราะฮฺ อัลอิคลาศ) 

 

และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า  :

﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ ﴾

ความว่า "ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น" (ซูเราะฮฺ อัชชูรอ : 11)

 

จำเป็นสำหรับชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺที่จะต้องให้โองการต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิฟาต  (คุณลักษณะ)  และหะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิฟาตเป็นไปตามที่ได้มีมา  โดยไม่มีการบิดเบือน ตัดทอน กำหนดวิธีการ เปรียบเทียบ พร้อมกับการศรัทธาต่อคุณลักษณะต่างๆ  และจะต้องเชื่อมั่นตามที่มีหลักฐานต่างๆ  บ่งถึงว่าเป็นจริง  ไม่มีการเปรียบเทียบต่ออัลลอฮฺแต่ประการใดกับสิ่งถูกสร้าง  และไม่มีการกำหนดวิธีการในคุณลักษณะของพระองค์   ยิ่งไปกว่านั้นการกล่าวถึงของพวกเขาที่เกี่ยวกับศิฟาต(คุณลักษณะ)ต่างๆ ก็เหมือนกับการกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวกับตัวของพระองค์ ในการที่อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺได้ยืนยันศรัทธาในตัวของพระองค์  โดยไม่กำหนดวิธีการ(ตักยีฟ) และไม่เปรียบเทียบ(ตัมษีล) และเช่นเดียวกันศิฟาตต่างๆ ของพระองค์ก็จะต้องยืนยันโดยไม่บอกวิธีการและไม่เปรียบเทียบ

การลงมาของอัลลอฮฺในทุกๆประเทศ  ก็ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ  เพราะการลงมาของอัลลอฮฺนั้น  ไม่เหมือนกับการลงมาของสิ่งถูกสร้าง  โดยที่อัลลอฮฺนั้นได้ถูกบอกลักษณะว่าได้ลงมาในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืนในทุกที่ของโลก  ที่เหมาะสมกับพระองค์โดยไม่รู้ถึงวิธีการลงมาของพระองค์นอกจากพระองค์เอง  ดังเช่นที่ไม่รู้ถึงวิธีการ(รูปแบบ)เกี่ยวกับตัวของพระองค์นอกจากพระองค์เอง  อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  :

﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ ﴾

ความว่า "ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น"  (ซูเราะฮฺ อัชชูรอ : 11)

 

และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า

﴿فَلا تَضْرِبُوا لِلهِ الأَمْثَالَ إِنَّ اللهَ يَعْلَمُ وَأَنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ﴾

ความว่า "ดังนั้น พวกเจ้าอย่ายกอุทาหรณ์(การเปรียบเทียบ)ทั้งหลายกับอัลลอฮฺเลย แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ และพวกเจ้าไม่รู้เท่าพระองค์"  (ซูเราะฮฺ อันนะห์ลฺ  :  74)

 

หนึ่งส่วนสามแรกและหนึ่งส่วนสามสุดท้ายเป็นที่รู้ในทุกๆ เวลาที่ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง  ถ้าหากเวลากลางคืนมีเก้าชั่วโมง  ดังนั้นเริ่มแรกของการลงมาก็คือช่วงแรกของชั่วโมงที่เจ็ดจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น  และถ้ากลางคืนมีสิบสองชั่วโมง ช่วงแรกของหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน  คือเริ่มแรกของชั่วโมงที่เก้าจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น  และก็จะเป็นเช่นนี้ไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยาวและสั้นของกลางคืนในทุกๆ ที่  และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ให้เตาฟีก

 

จาก หนังสือ มัจญมูอฺ ฟะตาวา วะมากอลาต มุตะเนาวิอะฮฺ  ของท่านชัยคฺ อับดุลอะซีซ  อิบนฺ  อับดิลลาฮฺ  อิบนฺ บาซ  ยัรหะมุฮุลลอฮฺ  เล่ม  4  หน้า  420

 

islamqa.info

ฟัตวาหมายเลข 34810

Go to the Top