การสวมเสื้อผ้าสีแดง

ฟัตวา การ์ดของข้อมูล
หัวข้อ: การสวมเสื้อผ้าสีแดง
ภาษา: ไทย
มุฟตี: มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
ผู้แปล: ทีมงาน บะนาตุลฮุดา
ผู้ตรวจทาน: ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์
เผยแพร่โดย: ถาม-ตอบอิสลาม islam-qa.com
คำอธิบายโดยย่อ: ฉันได้ยินมาว่าการที่ผู้ชายสวมเสื้อผ้าสีแดงนั้นเป็นบาป เป็นความจริงหรือไม่?
วันที่เพิ่ม: 2009-04-23
ลิงก์แบบย่อ: http://IslamHouse.com/205472
:: หัวข้อนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ ::
คำแปลของการ์ดข้อมูลในภาษาต่างๆ: อาหรับ
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล ( 2 )
1.
การสวมเสื้อผ้าสีแดง
226.5 KB
: การสวมเสื้อผ้าสีแดง.doc
2.
การสวมเสื้อผ้าสีแดง
175.5 KB
: การสวมเสื้อผ้าสีแดง.pdf
คำอธิบายโดยละเอียด

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การสวมเสื้อผ้าสีแดง

 

คำถาม:

          ฉันได้ยินมาว่าการที่ผู้ชายสวมเสื้อผ้าสีแดงนั้นเป็นบาป เป็นความจริงหรือไม่?

 

คำตอบ:

            มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

            บรรดานักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการที่ผู้ชายสวมเสื้อผ้าสีแดง และมีหลายหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางหะดีษบ่งชี้ว่าการสวมสีแดงเป็นที่ต้องห้าม ขณะที่หะดีษอื่นบอกว่ามันเป็นที่อนุมัติ มันเป็นไปได้ที่จะรวมเอาหลักฐานเหล่านั้น الحمد لله ที่จริงมันไม่ได้ขัดแย้งกัน เพราะมีที่มาเดียวกัน ทรรศนะที่ถูกต้องสำหรับเรื่องนี้มีระบุในหะดีษต่อไปนี้

            อนุญาตให้สวมเครื่องแต่งกายสีแดงหากมันปนอยู่กับสีอื่น แต่ไม่อนุญาตให้สวมสีแดงล้วน เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ห้ามกระทำเช่นนั้น ต่อไปนี้คือหะดีษที่ใช้เป็นหลักฐาน

          ก.  หะดีษที่ห้ามสวมสีแดงล้วน

            จากอัลบัรรออ์ อิบนุ อาซิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ห้ามเราใช้ที่นอนนุ่มสีแดงและเกาะซียฺ (قَسِى - เสื้อผ้าที่ถูกทอด้วยเส้นไหม)” (บันทึกโดย อัลบุคอรี, 5390)

            จาก อิบนุ อับบาส กล่าวว่า “ฉันถูกห้าม (สวม) เสื้อผ้าสีแดงและแหวนทองคำ และอ่านอัลกุรอานในตอนรุกูอฺ” (บันทึกโดยอันนะซาอี, 5171 อิมามอัลอัลบานีบอกว่าสายรายงานเศาะฮีหฺ เศาะฮีหฺ สุนัน อันนะซาอี, 1068)

          จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร อิบนุ อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งเดินผ่านท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  โดยเขาสวมเสื้อผ้าสีแดงสองชิ้นแล้วให้สลาม แต่ท่านไม่ได้ตอบรับสลาม” (บันทึกโดย อัตติรมิซี, 2731; อบูดาวูด, 3574 อัตติรมิซีกล่าวว่าหะดีษนี้สายรายงานหะซันเฆาะรีบ) ตามทรรศนะของนักวิชาการ ความหมายของหะดีษนี้คือท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ชอบให้สวมเสื้อผ้าที่ถูกย้อมด้วยดอกคำฝอย (สีแดงสำหรับย้อมผ้าซึ่งได้มาจากดอกคำฝอย) แต่ท่านไม่ได้คัดค้านเสื้อผ้าที่ถูกย้อมเป็นสีแดงด้วยพืชหรือวัตถุอื่น ตราบใดที่มันไม่ได้ถูกย้อมด้วยดอกคำฝอย (อัลอัลบานีบอกว่าหะดีษนี้อยู่ในระดับฎออีฟ ใน เฎาะอีฟ สุนัน อบีดาวูด, 403; ฎออีฟ สุนันอัตติรมิซี,334 โดยบอกว่าสายรายงานอ่อน)

          ข.  หะดีษที่ทำให้เข้าใจว่าอนุญาตให้สวมสีแดงที่ปนกับสีอื่น

            จากฮิลาล อิบนุ อามิร จากพ่อของเขา กล่าวว่า “ฉันเห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังคุฏบะฮฺที่มินา โดยนั่งบนหลังล่อที่ท่านขี่อยู่ ท่านสวมเสื้อคลุมสีแดง และมีอะลียฺอยู่ด้านหน้าท่าน ท่านอะลีทวนคำพูดที่ท่านนบีได้พูดมา (ด้วยเสียงดัง เพื่อให้ผู้คนได้ยิน)” (บันทึกโดย อบูดาวูด, 3551 อัลอัลบานีบอกว่าอยู่ในระดับเศาะฮีหฺเศาะฮีหฺ สุนัน อบีดาวูด, 767)

            หะดีษของอัลบัรรออ์ อิบนุ อาซิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคนธรรมดา ฉันเห็นท่านในชุดหุลละฮฺสีแดง และไม่เคยเห็นใครรูปงามกว่าท่านเลย” (บันทึกโดย อัลบุคอรี, 5400; มุสลิม, 4308)

            จากอัลบัรรออ์ กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นใครที่คลุมผมด้วยหุลละฮฺสีแดงแล้วดูรูปงามมากกว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านมีผมยาวถึงติ่งหู หัวไหล่กว้าง และไม่สูงหรือเตี้ย” (บันทึกโดย อัตติรมิซี, 1646 กล่าวว่า บทนี้รายงานจาก ญาบิร อิบนุ สะมุเราะฮฺ และอบูริมซะฮฺ และอบูญุหัยฟะฮฺ มีสายรายงานที่ดี)

            จากอัลบัรรออ์     กล่าวว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีผมยาวถึงติ่งหู ฉันเห็นท่านสวมหุลละฮฺสีแดง และไม่เคยเห็นใครรูปงามกว่าท่านเลย” (บันทึกโดย อบูดาวูด, 4072; อิบนุมาญะฮฺ, 3599 อัลอัลบานีบอกว่าอยู่ในระดับเศาะฮีหฺ เศาะฮีหฺสุนัน อบีดาวูด, 768)

          อัลบัยฮะกี บันทึกใน อัสสุนัน “(ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) เคยสวมเสื้อคลุมสีแดงในวันอีด”

            ความหมายของหุลละฮฺสีแดง คือ เสื้อผ้าสองชิ้นของเยเมนซึ่งถูกทอเป็นลายทางสีแดงสลับกับสีดำ หรือสีแดงสลับกับสีเขียว มันถูกเรียกว่าสีแดงเพราะมีลายสีแดงอยู่ในนั้น

            นี่คือทรรศนะของนักวิชาการหลายท่าน เช่น อัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร (ฟัตหฺ อัล บารี ชัรหฺ อะลา เศาะฮีหฺ อัลบุคอรี, 5400) และอิบนุ อัลก็อยยิม (ซาด อัลมะอาด, 1-37)

และอัลลอฮฺคือผู้ทรงรอบรู้ที่สุด

 

ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด

Islamqa.com คำถามหมายเลข 8341

เรื่องที่เกี่ยวข้อง ( 2 )
Go to the Top