نسبة الملك والتدبير للمخلوقين

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: نسبة الملك والتدبير للمخلوقين
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: هل يصح أن ينسب الملك والتدبير للمخلوق وهو من أفعال الربوبية التي يجب توحيد الله تعالى بها ؟. سؤال أجاب عليه موقع الإسلام سؤال وجواب
تأريخ الإضافة: 2009-04-09
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/203888
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
การใช้คำว่ากรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการ กับมัคลูก
328.5 KB
فتح: การใช้คำว่ากรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการ กับมัคลูก.doc
2.
การใช้คำว่ากรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการ กับมัคลูก
176.4 KB
فتح: การใช้คำว่ากรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการ กับมัคลูก.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

การใช้คำว่ากรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการกับมัคลูก

 

คำถาม

เป็นการถูกต้องหรือไม่ในการใช้คำว่ากรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการกับมัคลูก(สิ่งที่ถูกสร้าง) เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำ(กริยา)ของอัลลอฮฺในด้านรุบูบียะฮฺ  ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ต้องให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺในด้านนี้ ?

 

คำตอบ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ... เป็นความจำเป็นต่อปวงบ่าวที่ต้องยึดมั่นในเรื่องของการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺในด้านกรรมสิทธิ์  เพราะแท้จริง ไม่มีผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองเหนือสิ่งถูกสร้าง(มัคลูก)ทั้งหลาย นอกจากผู้ที่สร้างพวกเขาเท่านั้น  ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า

(وَلِله مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ) (آل عمران : 189 )ِ

ความว่า   “และอำนาจการครอบครองแห่งบรรดาชั้นฟ้าและผืนแผ่นดินทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ”  (อาล อิมรอน  189)

          

และอัลลอฮฺตรัสว่า

(قُلْ مَن بِيَدِهِ مَلَكُوتُ كُلِّ شَيْءٍ) (المؤمنون : 88 )

ความว่า  “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ผู้ใดเล่าที่อำนาจอันกว้างใหญ่ไพศาลของทุกสรรพสิ่งอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์”  (อัลมุมินูน  88)

           

ส่วนหลักฐานที่มีปรากฏในการยืนยันถึงการใช้คำว่ากรรมสิทธิ์หรือการครอบครองกับผู้อื่น นอกเหนือจากอัลลอฮฺนั้น  อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(إِلَّا عَلَىٰ أَزْوَاجِهِمْ أوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ فَإِنَّهُمْ غَيْرُ مَلُومِينَ) (المؤمنون : 6 )

ความว่า  "เว้นแต่แก่บรรดาภรรยาของพวกเขา หรือผู้ที่มือขวาของพวกเขาครอบครอง (คือทาสี) ในกรณีเช่นนี้พวกเขาจะไม่ถูกตำหนิ”  (อัลมุมินูน  6)

 

อัลลอฮฺตรัสว่า

(أَوْ مَا مَلَكْتُم مَّفَاتِحَهُ) (النور : 61 )

ความว่า  “หรือบ้านที่พวกเจ้าครอบครองกุญแจของมัน”  (อัลนูร  61)

 

ดังนั้น คำว่ากรรมสิทธิ์ต่างๆ ที่ถูกใช้กับมัคลูกเหล่านี้ จะมีความแตกต่างกับกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺในหลายด้านด้วยกัน  ส่วนหนึ่งคือ

1.  กรรมสิทธิ์ของบรรดาผู้ที่ถูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ที่มีขอบเขต ไม่ครอบคลุมสิ่งใดๆ นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  มนุษย์จะครอบครองกรรมสิทธิ์เฉพาะของที่อยู่ในมือของเขาเท่านั้น  ไม่สามารถที่จะครอบครองกรรมสิทธิ์ของที่อยู่ในมือของผู้อื่นได้

2.  เช่นเดียวกันนั้น กรรมสิทธิ์ของผู้ถูกสร้างยังเป็นกรรมสิทธิ์ที่มีข้อจำกัดในแง่ของคุณลักษณะ  เพราะมนุษย์ไม่สามารถที่จะครอบครองในสิ่งที่เขามีอยู่ได้อย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ  ด้วยเหตุอันนี้เขาไม่สามารถที่จะใช้กรรมสิทธิ์ที่เขาครอบครองอยู่ได้นอกจากต้องสอดคล้องกับสิ่งที่บทบัญญัติอนุญาติ  อาทิเช่น  หากเขาต้องการที่จะเผาทำลายทรัพย์สมบัติ หรือจะทรมานสัตว์เลี้ยงของเขา เราก็จะบอกว่านั่นไม่เป็นที่อนุญาติแก่เขา ในขณะที่พระองค์อัลลอฮฺผู้สูงส่งทรงมีกรรมสิทธิ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างครอบคลุมสมบูรณ์

ส่วนการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺในด้านการบริหารจัดการ ก็คือการที่มนุษย์เชื่อมั่นว่าไม่มีผู้บริหารจัดการใดนอกจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น  อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

(قُلْ مَن يَرْزُقُكُم مِّنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ أَمَّن يَمْلِكُ السَّمْعَ والأَبْصَارَ وَمَن يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ الْمَيِّتِ وَيُخْرِجُ الْمَيَّتَ مِنَ الْحَيِّ وَمَن يُدَبِّرُ الأَمْرَ فَسَيَقُولُونَ اللهُ فَقُلْ أَفَلاَ تَتَّقُونَ) (يونس : 31 )              

ความว่า  “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ใครเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพมาจากฟากฟ้าและแผ่นดินแก่พวกท่าน  หรือใครเป็นเจ้าของการได้ยินและการมอง  และใครเป็นผู้ให้มีชีวิตขึ้นหลังจากการตายและเป็นผู้ให้ตายหลังจากมีชีวิตมา  และใครเป็นผู้บริหารกิจการ  แล้วพวกเขาจะกล่าวตอบกันว่า ผู้นั้นคืออัลลอฮฺ  ดังนั้นจงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านยังจะไม่ยำเกรงกระนั้นหรือ”   (ยูนุส 31)

 

สำหรับการบริหารจัดการของมวลมนุษย์นั้นมีขอบเขตที่จำกัดเฉพาะในสิ่งที่มีอยู่ในมือเท่านั้น  และมีขอบเขตจำกัดในสิ่งที่บทบัญญัติอนุมัติเพียงเท่านั้น

ด้วยกับเหตุผลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้  จึงนับได้ว่าไม่เป็นไรที่จะใช้พาดพิงด้วยคำว่ากรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการกับมนุษย์  เพราะว่ามันเป็นกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการที่มีขอบเขตจำกัด  ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการโดยทั่วไปที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง  ซึ่งกรรมสิทธิ์อันนั้นไม่มีผู้ใดครอบครองนอกจากพระองค์อัลลอฮฺตะอะลาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

วัลลอฮฺ อะลัม

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ  (อัลเกาลุ อัลมุฟีด 1/13)

อิสลามถามตอบ islamqa.info หมายเลขฟัตวา 48980

موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top