จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?

ฟัตวา การ์ดของข้อมูล
หัวข้อ: จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?
ภาษา: ไทย
มุฟตี: มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
ผู้แปล: อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
เผยแพร่โดย: ถาม-ตอบอิสลาม islam-qa.com
คำอธิบายโดยย่อ: จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน? มีสุนนะฮฺให้อิหม่ามยืนอยู่ตรงกับกึ่งกลางของแถว โดยแถวแรกนั้นให้เริ่มจากข้างหลังอิหม่าม แล้วจึงขยายออกทางขวามือและซ้ายมือของอิหม่าม ซึ่งหากด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่งเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร
วันที่เพิ่ม: 2008-07-25
ลิงก์แบบย่อ: http://IslamHouse.com/167972
:: หัวข้อนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ ::
คำแปลของการ์ดข้อมูลในภาษาต่างๆ: อาหรับ
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล ( 3 )
1.
จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?
120 KB
: จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?.pdf
2.
จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?
332.5 KB
: จำเป็นไหม ที่ต้องให้แถวละหมาดด้านซ้ายและขวาเท่ากัน?.doc
3.
رابط الفتوى بالعربية
คำอธิบายโดยละเอียด

มีสุนนะฮฺให้อิหม่ามยืนอยู่ตรงกับกึ่งกลางของแถว โดยแถวแรกนั้นให้เริ่มจากข้างหลังอิหม่าม แล้วจึงขยายออกทางขวามือและซ้ายมือของอิหม่าม ซึ่งหากด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่งเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า พวกท่านจงให้อิหม่ามอยู่กึ่งกลาง บันทึกโดย อบูดาวุด (681)

อัลมุนาวีย์ กล่าวอธิบาย ว่า นั่นคือ ให้อิหม่ามอยู่ตรงกับกึ่งกลางแถว เพื่อที่ผู้ที่อยู่ทางขวามือและซ้ายมืออิหม่ามจะสามารถได้ยินการอ่านของอิหม่าม และได้อยู่ใกล้อิหม่ามในระดับที่ใกล้เคียงกัน” [ดู ฟัยฎุลเกาะดีรฺ]

แต่อุละมาอ์ส่วนใหญ่เห็นว่าหะดีษบทนี้เฎาะอีฟ [ดู เฎาะอีฟอบีดาวุด]

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีหะดีษที่เศาะหีหฺถูกต้องบทอื่นๆ ที่อาจจะมาช่วยเสริมความหมายของหะดีษบทนี้ได้ (นั่นคือให้อิหม่ามยืนอยู่ตรงกับกึ่งกลางของแถว) ดังต่อไปนี้

1-
จากท่านอิตบาน บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาเยี่ยมท่านที่บ้าน จากนั้นท่านก็กล่าวถามว่า ท่านชอบที่จะให้เราละหมาดตรงส่วนใดของบ้านท่าน?” ท่านอิตบานก็ชี้ไปยังมุมหนึ่งของบ้าน แล้วท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตักบีรฺ ส่วนพวกเราก็ตั้งแถวข้างหลังท่าน [บุคอรี : 424 และ มุสลิม : 33]

2-
จากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า มุลัยกะฮฺ (ย่าหรือยายของท่าน) ได้เชิญท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทานอาหารที่นางจัดเตรียมไว้เพื่อท่าน เมื่อท่านทานเสร็จ  ท่านก็กล่าวว่า พวกท่านจงลุกขึ้น เราจะละหมาดกัน ท่านอนัส กล่าวว่า : แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ยืนขึ้นละหมาด โดยฉันและเด็กกำพร้ายืนตั้งแถวข้างหลังท่าน ส่วนสตรีชราก็ยืนข้างหลังเรา [บุคอรี : 380 และมุสลิม : 658]

3-
จากท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่าครั้งหนึ่งฉันละหมาดกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วฉันยืนทางซ้ายมือของท่าน ท่านก็ดึงมือฉันให้ไปยืนทางขวามือของท่าน จากนั้น ญับบารฺ บิน ศ็อครฺ ก็เข้ามา เขาอาบน้ำละหมาดแล้วมายืนละหมาดทางซ้ายมือของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงดันเราทั้งสองให้ถอยลงไปอยู่ข้างหลังท่าน” [มุสลิม : 3014]


ซึ่งจากหะดีษทั้ง 3 บทข้างต้น ประโยคที่ว่า พวกเราก็ตั้งแถวข้างหลังท่าน” “ฉันและเด็กกำพร้ายืนตั้งแถวข้างหลังท่าน และ ดันเราทั้งสองให้ถอยลงไปอยู่ข้างหลังท่านแสดงให้เห็นว่าเศาะหาบะฮฺเหล่านั้นเริ่มตั้งแถวละหมาดข้างหลังท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทันที กล่าวคือท่านอยู่ตรงกับกึ่งกลางของแถวนั่นเอง

ท่านอิบนุกุดามะฮฺ เราะหิมะฮุมุลลอฮฺ กล่าวว่า ถือเป็นมุสตะหับ (ส่งเสริม) ให้อิหม่ามยืนตรงกับกึ่งกลางของแถว” [อัลมุฆนีย์ 2/27]

ท่านนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่าอุละมาอ์มัซฮับเราและมัซฮับอื่นๆต่างเห็นพ้องต้องกันว่าส่งเสริมให้ยืนละหมาดในแถวแรก โดยมีรายงานหะดีษที่ถูกต้องระบุถึงหลายตัวบทด้วยกัน...และส่งเสริมให้ยืนตั้งแถวโดยให้อิหม่ามอยู่ตรงกับกึ่งกลางของแถว และให้มะมูมยืนด้านหลังของอิหม่ามทั้งสองข้าง (ขวามือ-ซ้ายมืออิหม่าม)” [อัลมัจญฺมูอฺ : 4/192]

และเราอาจจะเสริมด้วยคำตอบของเชคอิบนุอุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ดังนี้ :

แถวขวามืออิหม่ามนั้นดีกว่าซ้ายมือ แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะถ้าหากว่าการยืนทางขวามือดีกว่าในทุกกรณี ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คงจะกล่าวว่า พวกท่านจงเติมเต็มแถวทางขวามือก่อน แต่นี่ท่านกล่าวเพียงว่า พวกท่านจงเติมเต็มแถวแรกก่อน จากนั้นก็แถวถัดไป  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเติมเต็มแถวทางขวามือก่อนแต่อย่างใด

แต่สมมุติว่าทั้งสองข้างมีจำนวนคนเท่าๆกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น ข้างขวา 5 คน ข้างซ้าย 5 คนเช่นนี้การต่อแถวทางขวามือก็เป็นการดีกว่า โดยให้คำนึงว่าจะไม่ทำเกิดความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ข้างมากนัก (คือให้สมดุลกันระหว่างด้านขวาและซ้ายมือ) แต่ถ้าหากว่าแถวขวามือขยายออกไปห่างจากอิหม่ามมากแล้ว แน่นอนว่าแถวซ้ายมือที่อยู่ใกล้อิหม่ามมากกว่าย่อมดีกว่าขวามือซึ่งอยู่ห่างจากอิหม่าม” [อัชชัรหุล มุมติอฺ 3/10]

สรุปความจาก  islamqa.info/ar/ref/66017

Go to the Top