Yolculuk Adabı (2): Yolculukta Arkadaşlık

Makaleler Materyal hakkında bilgi
Adres: Yolculuk Adabı (2): Yolculukta Arkadaşlık
Dil: Taylandça
Yazan: Muhammed b. İbrahim et-Tuveycrî
Eklenme tarihi: 2008-06-17
Kısa link: http://IslamHouse.com/153147
Bu başlık, aşağıdaki konulara göre sınıflandırılmıştır:
Bu kart aşağıdaki dillere çevrilmiştir: Taylandça - Arapça - Bengalce - Urduca - Özbekçe - Boşnakça - Malayalam - İngilizce
Ayrıntılı bilgi

ไม่เดินทางคนเดียว

1. มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

« لَوْ يَعْلَمُ النَّاسُ مَا فِى الْوَحْدَةِ مَا أَعْلَمُ مَا سَارَ رَاكِبٌ بِلَيْلٍ وَحْدَهُ »

ความว่า : “หากผู้คนรู้ผลของความโดดเดี่ยวอย่างที่ฉันรู้ ก็คงจะไม่มีนักเดินทางคนไหนเดินทางยามค่ำคืนเพียงคนเดียว  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2998)

 

2. จากอัมร์ บิน ชุอัยบฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

« الرَّاكِبُ شَيْطَانٌ وَالرَّاكِبَانِ شَيْطَانَانِ وَالثَّلاَثَةُ رَكْبٌ ».

ความว่า : “คนเดินทางคนเดียวคือชัยฏอนหนึ่งตน คนเดินทางสองคนคือชัยฏอนสองตน และคนเดินทางสามคนคือกลุ่มผู้เดินทาง (หะสัน  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 2607  เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 2271  และบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 1674  เศาะฮีหฺสุนันอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 1368)

 

เดินทางกับเพื่อนร่วมทางที่ดี

มีรายงานจากอบีมูซา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَثَلُ الْجَلِيسِ الصَّالِحِ وَالسَّوْءِ كَحَامِلِ الْمِسْكِ وَنَافِخِ الْكِيرِ، فَحَامِلُ الْمِسْكِ إِمَّا أَنْ يُحْذِيَكَ، وَإِمَّا أَنْ تَبْتَاعَ مِنْهُ، وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ رِيحًا طَيِّبَةً، وَنَافِخُ الْكِيرِ إِمَّا أَنْ يُحْرِقَ ثِيَابَكَ، وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ رِيحًا خَبِيثَةً » .

ความว่า : “อุปมาเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่ชั่วนั้น อุปมัยดังคนที่พกพาน้ำหอมและช่างตีเหล็ก ซึ่งคนพกพานำหอมนั้น เขาอาจจะแบ่งปันน้ำหอมให้แก่ท่าน หรือไม่ก็ท่านอาจจะขอซื้อน้ำหอมจากเขา หรือไม่ก็ท่านจะได้สูดกลิ่นหอมของน้ำหอมจากเขา แต่ช่างตีเหล็กนั้น เขาอาจจะทำให้เสื้อของท่านถูกไฟไหม้ หรือไม่ก็ท่านจะพบกับกลิ่นเหม็น (ติดตัวมา) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5534 และมุสลิม หมายเลข 2628)

 

ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทางและคนอื่นๆ

จากอบีสะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

بَيْنَمَا نَحْنُ فِى سَفَرٍ مَعَ النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم إِذْ جَاءَ رَجُلٌ عَلَى رَاحِلَةٍ لَهُ، قَالَ: فَجَعَلَ يَصْرِفُ بَصَرَهُ يَمِينًا وَشِمَالاً، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ  صلى الله عليه وسلم «مَنْ كَانَ مَعَهُ فَضْلُ ظَهْرٍ فَلْيَعُدْ بِهِ عَلَى مَنْ لاَ ظَهْرَ لَهُ، وَمَنْ كَانَ لَهُ فَضْلٌ مِنْ زَادٍ فَلْيَعُدْ بِهِ عَلَى مَنْ لاَ زَادَ لَهُ ».  

ความว่า : ในขณะที่เรากำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางพร้อมๆ กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ก็ได้มีชายคนหนึ่งขี่พาหนะมา เขากวาดสายตามองขวาและมองซ้าย ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  จึงกล่าวว่า ผู้ใดที่มีที่นั่งเหลือ ก็ขอให้เขาจัดให้ผู้ที่ไม่มีที่นั่งด้วย และผู้ใดที่มีเสบียงเหลือ ก็ขอให้เขาจัดให้ผู้ที่ไม่มีเสบียงด้วย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1728)

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อออกเดินทางสองคน

มีรายงานจากอบู มูซา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم بَعَثَهُ وَمُعَاذًا إِلَى الْيَمَنِ فَقَالَ « يَسِّرَا وَلاَ تُعَسِّرَا، وَبَشِّرَا وَلاَ تُنَفِّرَا، وَتَطَاوَعَا وَلاَ تَخْتَلِفَا ».    

ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งตัวเขาและมุอาซไปยังเมืองเยเมน และท่านได้กล่าวว่า ท่านทั้งสองจงทำให้ง่ายอย่าทำให้ยาก จงแจ้งข่าวดีอย่าไปตะเพิด และจงยอมโอนอ่อนให้แก่กันและจงอย่าขัดแย้งกัน (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 4344 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 1733)

 

เมื่อออกเดินทางสามคนหรือมากกว่านั้น พวกเขาต้องแต่ตั้งคนหนึ่งเป็นหัวหน้า

มีรายงานจากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

« إِذَا خَرَجَ ثَلاَثَةٌ فِى سَفَرٍ فَلْيُؤَمِّرُوا أَحَدَهُمْ ».

ความว่า : “เมื่อคนสามคนได้ออกไปในการเดินทางใดๆ พวกเขาก็จงแต่งตั้งผู้นำคนหนึ่งในหมู่พวกเขา (หะสัน  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 2608  เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 2272  ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 1322)

 

*****

จากหนังสือ มุคตะศ็อรฺ อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์ โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

แปลโดย สุกรี นูร จงรักสัตย์

Ayrıca bakınız... ( 4 )
Go to the Top