Earthly reality of Life

Articles Subject Information
Title: Earthly reality of Life
Language: Thai
Reviewing: Safi Othman
Short Discription: Is a brief wave of youth in the statement of fact this life, and extinction.
Addition Date: 2008-04-24
Short Link: http://IslamHouse.com/124847
This address categorized objectively under the following classifications
Translation of Subject Description: Thai - Arabic - Bengali - Malayalam - Bosnian - Uzbek - Turkish
Detailed Description

อัลลอฮฺได้สร้างโลกนี้ประกอบด้วยมนุษย์ สัตว์และสรรพสิ่งต่างๆ เป็นคู่ๆ มีโลกนี้และโลกหน้า มีเพศชายและเพศหญิง มีวัยรุ่นและวัยชรา มีความดีและความชั่ว มีความเป็นและความตาย มีความสุขและความทุกข์ มีสวรรค์และนรก ข้อเท็จจริงนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

وَمِن كُلِّ شَيْءٍ خَلَقْنَا زَوْجَيْنِ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ  (سورة الذاريات : 49)

และจากทุกๆ สิ่งนั้นเราได้สร้างมันขึ้นเป็นคู่ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใคร่ครวญ (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัซ-ซาริยาต:49)

จุดจบของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตคือความตาย โลกนี้ก็เช่นเดียวกัน จะมีจุดจบและจุดสิ้นสุด อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

كُلُّ نَفْسٍ ذَآئِقَةُ الْمَوْتِ وَإِنَّمَا تُوَفَّوْنَ أُجُورَكُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فَمَن زُحْزِحَ عَنِ النَّارِ وَأُدْخِلَ الْجَنَّةَ فَقَدْ فَازَ وَما الْحَيَاةُ الدُّنْيَا إِلاَّ مَتَاعُ الْغُرُورِ  (سورة آل عمران : 185)

แต่ละชีวิตนั้นจะได้ลิ้มรสแห่งความตาย และแท้จริงพวกเจ้าจะได้รับผลตอบแทนของพวกเจ้าในวันปรโลก (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน: 185)

โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีสภาพชั่วคราว ไม่นิรันดร์ ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นโลกที่ถาวร เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

وَمَا هَذِهِ الْحَيَاةُ الدُّنْيَا إِلَّا لَهْوٌ وَلَعِبٌ وَإِنَّ الدَّارَ الآخِرَةَ لَهِيَ الْحَيَوَانُ لَوْ كَانُوا يَعْلَمُونَ (سورة العنكبوت: 64)

 และโลกนี้มิใช่อื่นใดเว้นแต่เป็นการละเล่นและเป็นการสนุกสนานรื่นเริง และแท้จริงโลกหน้านั้นคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขารู้ (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อันกะบูต: 64)

วันสิ้นสุดของโลกเป็นเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว อัลลอฮฺได้ตรัสอธิบายสภาพดังกล่าวในดำรัสของพระองค์ซึ่งมีว่า

يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمْ إِنَّ زَلْزَلَةَ السَّاعَةِ شَيْءٌ عَظِيمٌ ، يَوْمَ تَرَوْنَهَا تَذْهَلُ كُلُّ مُرْضِعَةٍ عَمَّا أَرْضَعَتْ وَتَضَعُ كُلُّ ذَاتِ حَمْلٍ حَمْلَهَا وَتَرَى النَّاسَ سُكَارَى وَمَا هُم بِسُكَارَى وَلَكِنَّ عَذَابَ اللَّهِ شَدِيدٌ (سورة الحج :1-2) 

มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงต่อพระเจ้าเถิด เพราะแท้จริง ความอลหม่านของวันสิ้นโลกนั้นหนักหน่วงยิ่ง วันที่พวกเจ้าจะได้เห็นมัน (น่าพรั่นพรึงจนแม้กระทั่ง) แม่ที่กำลังให้นมลูกจะทิ้งลูกของนาง หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะคลอดลูกในท้อง (โดยไม่รู้ตัว) และเจ้าจะเห็นผู้คนทั้งหลายอยู่ในสภาพมึนเมาทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้เมา แต่ทว่าเป็นเพราะการลงโทษนั้นรุนแรงยิ่งนัก (อัล-    กุรอาน สูเราะฮฺ อัล-หัจญ์: 1-2)

ในเมื่อโลกนี้เป็นเพียงโลกชั่วคราวไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกอย่างพอเพียง ไม่โลภ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่หลอกลวง ไม่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำจนเลยขอบเขต ไม่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนพวกเราถึงวิธีการใช้ชีวิตบนโลกนี้ว่า ควรจะอยู่เยี่ยงคนแปลกหน้าหรือผู้เดินทางที่หยุดพักกลางทางเพื่อรอจะเดินทางต่อบนเส้นทางอีกยาวไกลข้างหน้า ท่านได้กล่าวไว้มีความว่า ท่านจงอาศัยอยู่บนโลกนี้ เสมือนกับว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าหรือเป็นผู้ผ่านทาง (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

โลกนี้เป็นสถานที่สำหรับประกอบคุณงามความดีต่ออัลลอฮฺ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น รางวัลที่จะได้รับนั้นคือในโลกหน้า ดังนั้นโลกนี้จึงเต็มไปด้วยการทดสอบ เพื่อทดสอบว่าใครศรัทธาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างโลกนี้และใครเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ใครปฏิบัติความดีต่อตนเองและผู้อื่น ใครทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น ใครที่สามารถยับยั้งชั่งใจ และใครที่สามารถควบคุมตนเองได้ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

أَحَسِبَ النَّاسُ أَن يُتْرَكُوا أَن يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لاَ يُفْتَنُونَ، وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِن قَبْلِهِمْ فَلَيَعْلَمَنَّ اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينَ (سورة العنكبوت : 2-3)

มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกปล่อยให้กล่าวว่า เราได้ศรัทธาแล้วโดยที่ไม่มีการทดสอบใดๆ แท้จริงแล้วเราได้ทดสอบบรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเจ้า ดังนั้นแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงจำแนกให้รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้สัจจริงและผู้ใดที่โกหกมดเท็จ(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-    อันกะบูต: 2-3)

  الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلاً وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورُ  (سورة الملك :2)

พระองค์ผู้ทรงกำหนดชีวิตและความตาย เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดที่ปฏิบัติตนได้ดีที่สุด และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจและให้อภัยเสมอ (อัล- กุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ: 2)

ดังนั้น เมื่อชีวิตอยู่บนโลกนี้มนุษย์จึงมีหน้าที่ ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่พระองค์สั่งให้ศรัทธา ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุดเพื่อขอบคุณพระองค์และหวังในความโปรดปรานของพระองค์ในโลกหน้าด้วยการปฏิบัติกิจต่างๆ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การบริจาค   ซะกาต เป็นต้น ต้องปฏิบัติต่อตนเองให้ดีที่สุดด้วยการบริโภคสิ่งที่  อัลลอฮฺ อนุมัติ หลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์ห้าม ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นให้ดีที่สุด ทั้งต่อภรรยา ลูกๆ เพื่อนบ้าน เช่นการให้เกียรติผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น    ไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการกระทำหรือคำพูด การมีมารยาท และต้องปฏิบัติต่อสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกให้ดีที่สุด เช่นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม        ใช้ทรัพยากรต่างๆ เท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยห้ามไม่ให้ปัสสาวะในบึงที่น้ำนิ่งไม่ไหล และห้าม   มิให้ถ่ายอุจจาระใต้ต้นไม้ซึ่งเป็นที่หยุดพักของผู้คน ฯลฯ

- ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.  โลกนี้เป็นสถานที่ชั่วคราว ไม่ถาวร ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นชีวิตนิรันดร์

2.  มนุษย์ต้องพบกับความตาย จึงต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมด้วยการปฏิบัติความดีต่างๆ และละเว้นจากความชั่วทั้งหลาย

3.  ชีวิตบนโลกเป็นการทดสอบว่าใครปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุด มนุษย์จึงต้องเข้มแข็งในการเผชิญกับบททดสอบในชีวิต

4.  มุสลิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนต่ออัลลอฮฺ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นให้ถูกต้องตามที่อิสลามได้สอนไว้

- คำถามหลังบทเรียน

1. ท่านคิดว่าโลกนี้และโลกหน้ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์หรือไม่ อย่างไร?

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าชีวิตนี้คือการทดสอบ?

3.  ท่านคิดว่ามนุษย์มีชีวิตเพื่ออะไร ถ้าหากไม่มีโลกหน้า?

4.  ท่านคิดว่าต้องทำอย่างไร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้?

Go to the Top