Hadždž dužnika
คำถามที่ 451: บุคคลที่มีหนี้สินจำเป็นต้องทำหัจญ์หรือไม่ ?
คำตอบ: หากว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำหัจญ์ เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:
«وَلِله عَلٰى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلاً»
ความว่า: และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์นั้นคือการมุ่งสู่บัยตุลลอฮฺ อันได้แก่ผู้ที่มีวามสามารถไปยังบียตุลลอฮฺได้ [อาลอิมรอน : 97]
ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเขาคือผู้ที่ไม่มีความสามารถ ดังนั้นจึงให้ใช้หนี้เสียก่อน และเมื่อมีความสะดวกก็ให้ทำหัจญ์
และถ้าหากว่ามีหนี้สินเพียงเล็กน้อย กล่าวคือมีความพร้อมที่จะทำหัจญ์หลังจากได้ใช้หนี้ไปแล้ว เช่นนี้ก็ให้ใช้หนี้ แล้วก็ทำหัจญ์หลังจากนั้น ไม่ว่าหัจญ์นั้นจะเป็นหัจญ์ที่วาญิบหรือสุนัตก็ตาม แต่ทว่าหากเป็นหัจญ์ที่ฟัรฏู วาญิบที่เขาจะต้องรีบเร่งในการทำ ส่วนหากเป็นหัจญ์สุนัต เขาสามารถทีจะเลือก หากประสงค์ก็ให้ทำหัจญ์สุนัตหรือไม่ก็ได้ และหากเขาไม่มีความประสงค์ที่จะทำหัจญ์สุนัตก็ไม่เป็นความผิดอะไรแก่เขา