Fasting:Definition-Rulings-Virtues

Articles Subject Information
Title: Fasting:Definition-Rulings-Virtues
Language: Thai
The Writer: Muhammad Bin Ibrahim Al-Tuwajre
Translation: Faisal AbdulHadi
Reviewing: Safi Othman
Publisher: Islamic Propagation Office in Rabwah
Short Discription: Brief information about fasting,its definitions,rulings and virtues.
Addition Date: 2008-02-21
Short Link: http://IslamHouse.com/76959
This address categorized objectively under the following classifications
Translation of Subject Description: Thai - Arabic - Bosnian - Bengali - Malayalam - Uzbek - Turkish
Attachments ( 2 )
1.
การถือศีลอด : ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐ (PDF)
281.2 KB
Open: การถือศีลอด : ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐ (PDF).pdf
2.
การถือศีลอด : ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐ (DOC
403.5 KB
Open: การถือศีลอด : ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐ (DOC.doc
Detailed Description

อัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งด้วยเดชานุภาพและความสูงส่ง ได้กำหนดให้อิบาดะฮฺมีความหลากหลายต่างชนิด ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบบ่าวของพระองค์ว่าเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์หรือจะปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา และพระองค์ได้แบ่งคำสอนของศาสนาออกเป็นประเภทที่จะต้องละเว้นจากสิ่งที่ชอบ เช่นการถือศีลอด ซึ่งจะต้องละเว้นจากสิ่งที่ชอบนั่นคือ อาหาร เครื่องดื่ม และการร่วมประเวณี ทั้งนี้ก็เพื่อแสวงหาความพึงพอใจจากพระองค์อัลลอฮฺ

และบางคำสอนก็เป็นประเภทที่จะต้องเสียสละในสิ่งที่ชอบ เช่นการจ่ายซะกาตและเศาะดะเกาะฮฺ ซึ่งจะต้องเสียสละในสิ่งที่ชอบ นั่นคือทรัพย์สินเงินทอง ทั้งนี้ก็เพื่อแสวงหาความพึงพอใจจากพระองค์อัลลอฮฺเช่นกัน

และบางทีสำหรับบางคนนั้นอาจเป็นเรื่องง่ายดายต่อเขาที่จะบริจาคเงินจำนวนหนึ่งพันเหรียญ ทั้งๆที่เขาไม่เคยถือศีลอด(หรือไม่ทนต่อการถือศีลอด)แม้แต่วันเดียว หรือตรงกันข้าม ดังนั้นอัลลอฮฺจึงให้อิบาดะฮฺมีความหลากหลายต่างชนิดกัน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ทดสอบบ่าวของพระองค์

 

จิตใจที่ดี

            จิตใจที่ดีและแน่วแน่ก็เพราะด้วยการทุ่มแรงใจทั้งหมดมุ่งสู่อัลลอฮฺแต่พระองค์เดียว และเมื่ออาหาร เครื่องดื่ม การพูด การนอน และการคลุกคลีกับพวกพ้องที่เกินแก่ความพอดีเป็นเหตุที่ทำให้เขาหันเหออกจากอัลลอฮฺ อีกทั้งมันยังเพิ่มพูนความยุ่งเหยิงแก่เขา ดังนั้น ด้วยความเมตตาและปรานีของพระองค์ พระองค์จึงได้บัญญัติให้มีการถือศีลอดเพื่อจะได้ขจัดความเกินพอดีในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งมันยังช่วยปลีกใจให้ว่างจากการคลุกเคล้าด้วยกิเลสตัญหาที่คอยเป็นอุปสรรคในการมุ่งมั่นสู่อัลลอฮฺอีกด้วย

            และพระองค์ได้บัญญัติการอิอฺติกาฟ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ความสนใจและรวบรวมจิตใจของบ่าวมุ่งสู่พระองค์ และเพื่อปลีกตัวและตัดขาดจากผู้คนเพื่อพระองค์ และได้สั่งใช้ไม่ให้พูดในสิ่งที่ไร้สาระไม่เป็นประโยชน์ต่อโลกหน้า และได้บัญญัติการละหมาดในช่วงกลางคืน ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจของเขาเอง

 

การถือศีลอด

คือ การละเว้นจากการกิน ดื่ม ร่วมประเวณี และทุกๆอย่างที่ทำให้ศีลอดเสีย เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก โดยมีเจตนาเพื่อถือศีลอดและแสวงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ

 

วิทยปัญญาที่ได้บัญญัติการถือศีลอด

1. การถือศีลอดเป็นสื่อที่นำไปสู่ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นวาญิบและละทิ้งสิ่งที่หะรอม

2. การถือศีลอดช่วยให้เคยชินกับการดูแลรักษาและยับยั้งชั่งใจตัวเอง และมันยังช่วยฝึกให้รู้จักรับผิดชอบและรู้จักอดทนต่ออุปสรรค

3. การถือศีลอดทำให้มุสลิมรู้จักกับความยากลำบากของพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ซึ่งมันจะเป็นแรงผลักดันให้เขารู้จักกับการเสียสละและทำกุศลกรรมกับคนยากจนอนาถา และด้วยเหตุนี้เองมันจะบรรลุถึงความรักใคร่กลมเกลียวและความเป็นภราดรภาพของพี่น้องมุสลิม

4. การถือศีลอดเป็นการขัดเกลาจิตใจ ช่วยชะล้างจากจรรยามารยาทที่ไม่ดีงามและโสมม และมันยังทำให้ระบบการย่อยอาหารได้ผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้เรี่ยวแรงและพละกำลังของมันฟื้นขึ้น

 

            การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นหนึ่งในหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งอัลลอฮฺได้บัญัติไว้ในปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่สอง

เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาเดือนทั้งหมด คืนสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนเป็นคืนที่ประเสริฐกว่าช่วงกลางวันสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ และช่วงกลางวันสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺประเสริฐกว่าช่วงกลางวันของสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน วันศุกร์เป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบสัปดาห์ และวันนะหฺร์เป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี และคืนอัล-ก็อดฺรเป็นคืนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาคืนต่างๆ ในรอบปี

 

หุก่มของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน

            การถือศีลอดนั้นวาญิบ(เป็นศาสนบังคับ)เหนือมุสลิมทุกคนที่อายุบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ ไม่เป็นบุคคลที่เดินทาง  ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และปราศจากจากข้อห้ามที่ไม่อณุญาตให้ถือศีลอด นั่นคือมีรอบเดือนและนิฟาส(เลือดหลังคลอดบุตร) ซึ่งมันเป็นกรณีเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น

            และอัลลอฮฺได้บัญญัติประชาชาตินี้ให้ถือศีลอดเสมือนกับที่พระองค์ได้บัญญัติแก่ประชาชาติอื่นๆก่อนหน้านี้ พระองค์ได้ตรัสว่า

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ»

ความว่า "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า เช่นกับเดียวที่ได้กำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง"  (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183)

 

ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน

            เมื่อเดือนเราะมะฎอนได้มาเยือนประตูของสรวงสวรรค์จะถูกเปิดขึ้น และทุกๆ คืนอัลลอฮฺจะปลดปล่อยชาวนรกในเป็นอิสระ และในนั้นจะมีอยู่คืนหนึ่งที่ดีกว่าหนึ่งพันเดือน

            จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«إِذَا جَاءَ رَمَضَانُ فُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ وَصُفِّدَتْ الشَّيَاطِينُ»

ความว่า "เมื่อเดือนเราะมะฎอนได้มาเยือน ประตูของสรวงสวรรค์จะถูกเปิดขึ้น ประตูของขุมนรกจะถูกปิดลง และชัยฏอนจะถูกตรวนโซ่" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3277 และมุสลิม : 1079 สำนวนนี้เป็นรายงานของท่าน)

 

ความประเสริฐของการถือศีลอด

1. จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ، الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعمِائَة ضِعْفٍ، قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلاَّ الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ، وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ»

ความว่า "ทุกๆ การงานของลูกหลานอาดัมจะเพิ่มพูนถึงสิบเท่าจนถึงเจ็ดร้อยเท่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า นอกจากการถือศีลอด แท้จริงมันเป็นสิทธิของข้าและข้าจะตอบแทนมันเอง(โดยไม่กำหนดตายตัวว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด) เขาได้ละทิ้งตัญหาและอาหารเพื่อข้า สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีสองความสุข(เบิกบานใจ) ความสุขแรกตอนที่เขาละศีลอด และความสุขที่สองตอนที่ได้พบกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา และแท้จริงกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอด ณ อัลลอฮฺนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นของชะมดเชียงเสียอีก"  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1894 และมุสลิม :1151 สำนวนนี้เป็นรายงานของท่าน)

 

2. จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»

ความว่า "ใครก็ตามที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยใจที่ศรัทธาและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺแล้ว ดังนั้นความผิดของเขาก่อนหน้านั้นจะถูกอภัยโทษ" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ : 1901 และมุสลิม : 760)

 

3. จากท่านสะฮฺล์ อิบนุ สะอัด เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ  จากท่านนบี ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«فِي الْجَنَّةِ ثَمَانِيَةُ أَبْوَابٍ، فِيهَا بَابٌ يُسَمَّى الرَّيَّانَ، لاَ يَدْخُلُهُ إِلاَّ الصَّائِمُونَ»

ความว่า "ณ สรวงสวรรค์จะมีประตูแปดบาน และในนั้นจะมีประตูหนึ่งชื่อว่าอัร-ร็อยยาน ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าประตูบานนั้นได้นอกจากผู้ที่ถือศีลอด" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 3257 สำนวนนี้เป็นรายงานของท่าน และบันทึกโดยมุสลิม : 1152)

Go to the Top