ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล

บทความ การ์ดของข้อมูล
หัวข้อ: ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล
ภาษา: ไทย
ผู้เขียน: อิหฺสาน อัลอุตัยบีย์
ผู้แปล: ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
คำอธิบายโดยย่อ: กล่าวถึงประเด็นการรวมเนียตอะมัลที่คล้ายคลึงกันสองอะมัล ด้วยเนียตเพียงเนียตเดียว เช่น การเนียตถือศีลอดหกวันเชาวาล พร้อมกับการชดใช้ของเราะมะฎอน ว่ามีหุก่มอย่างไร?
วันที่เพิ่ม: 2007-10-18
ลิงก์แบบย่อ: http://IslamHouse.com/57678
:: หัวข้อนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ ::
คำแปลของการ์ดข้อมูลในภาษาต่างๆ: อาหรับ - เบ็งกอล - มาลายาลัม - บอสเนีย - อุซเบก - ตุรกิช
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล ( 3 )
1.
ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล
332 KB
: ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล.doc
2.
ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล
117.4 KB
: ประเด็นเรื่องการรวมเนียตในการถือศีลอดหกวันเชาวาล.pdf
3.
مسألة جمع النيات
คำอธิบายโดยละเอียด

ประเด็นเรื่องการรวมเนียต ซึ่งถามกันมากโดยเฉพาะในเดือนเชาวาล

 

นั่นคือประเด็นที่ว่า "การรวมเนียตหลายๆ เนียตในการทำอิบาดะฮฺเพียงอันเดียว" ข้าพเจ้าขอแบ่งหัวข้อพูดคุยเป็นข้อๆ ดังนี้

 

1. จำเป็นที่เราต้องทราบว่า การทำอะมัลต่างๆ นั้นแบ่งอะมัลที่เป็นเอกเทศและมีความประเสริฐระบุเฉพาะตัวของมัน กับอะมัลอื่นๆ ที่มีความประเสริฐโดยรวมไม่เหมือนประเภทแรก

 

2. ตัวอย่างเช่น การละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิด กับ ละหมาดฎุหา เป็นต้น ถ้าเราสังเกตหะดีษที่ระบุเรื่องนี้ เราจะพบว่า ละหมาดฎุหานั้นมีหุก่มเฉพาะตัวและมีความประเสริฐที่ระบุเฉพาะด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นอิบาดะฮฺแบบเอกเทศโดยตัวของมัน

ในขณะที่ละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิด ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะถ้าใครที่เข้ามาในมัสยิดแล้วละหมาดฟัรฎูทันที หรือละหมาดสุนัตก่อนศุบห์ หรือละหมาดอิสติคอเราะฮฺ หรือเข้าไปละหมาดพร้อมกับญะมาอะฮฺที่ละหมาดอยู่ เป็นต้น เขาก็ได้ปฏิบัติสิ่งที่ถูกสั่งให้ทำเกี่ยวกับตะหัยยะตุล-มัสญิดแล้ว และได้พ้นไปจากข้อห้าม เขาไม่จำเป็นต้องชดใช้ละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิดแต่อย่างใด

ทั้งนี้ก็เพราะว่า บทบัญญัติในศาสนานั้นกำหนดว่า ห้ามไม่ให้ผู้ใดที่เข้ามาในมัสยิดนั่งจนกระทั่งจะละหมาดก่อน โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นละหมาดอะไรอย่างเฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้น ถ้าเขาได้ละหมาดอะไรก็ตามแต่ตอนที่เข้ามาครั้งแรก ก็ย่อมแสดงว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งและพ้นไปจากข้อห้ามนี้แล้ว

ตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น ใครที่เข้ามาในมัสยิดแล้วละหมาดสองร็อกอัตด้วยเนียตตะหัยยะตุล-มัสญิดเพียงอย่างเดียว เขาก็จะไม่ได้รับผลบุญละหมาดสุนัตก่อนซุฮร์(หรือละหมาดสุนัตอื่นๆ ตามเวลาของมัน) เป็นต้น

แต่ถ้าเขาเข้ามาแล้วละหมาดสองร็อกอัตด้วยเนียตก่อนซุฮร์ เขาก็พ้นจากข้อห้ามที่ไม่ให้นั่งจนกว่าจะละหมาดก่อน และไม่ต้องชดใช้การละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิดอีกต่อไป

ซึ่งไม่เหมือนกับอย่างแรก เพราะถ้าเขาเข้ามาแล้วละหมาดด้วยเนียตตะหัยยะตุล-มัสญิด อย่างเดียว จากนั้นก็มีการอิกอมะฮฺละหมาดซุฮร์ หลังจากละหมาดซุฮร์เสร็จ เขาสามารถที่จะชดใช้ละหมาดสุนัตก่อนซุฮร์ได้

 

3. ผู้ใดที่ทราบประเด็นที่เหมือนละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิดกับละหมาดฎุหาได้ เขาก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้เยอะโดยไม่ต้องปวดหัว

 

4. ในจำนวนสิ่งที่เหมือนกับละหมาดตะหัยยะตุล-มัสญิด คือ

ก. คำสั่งให้ละหมาดญะมาอะฮฺสำหรับคนที่ละหมาดแล้ว

มีหะดีษที่ทราบกันว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิเสธคนสองคนที่เข้ามาในมัสยิดแล้วนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ยอมละหมาดศุบห์กับญะมาอะฮฺ ทั้งนี้เพราะอ้างว่าได้ละหมาดแล้วช่วงที่อยู่ระหว่างทาง

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงสั่งให้ทั้งสองละหมาดพร้อมๆ กับญะมาอะฮฺอีกครั้ง ซึ่งมันจะเป็นละหมาดสุนัตที่ได้ผลบุญเพิ่มเติมสำหรับเขาสองคน

ความหมายก็คือ ถ้าคนที่เข้ามาในมัสยิดนั้นละหมาดพร้อมกับญะมาอะฮฺด้วยเนียตใดๆ ก็ตาม ถือว่าย่อมได้สำหรับเขา เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่ประเด็นการละหมาดญะมาอะฮฺ แต่อยู่ที่การห้ามไม่ให้นั่งเฉยๆ ในมัสยิดขณะที่คนอื่นกำลังละหมาด

ดังนั้น ถ้าเขาเข้ามาแล้วทันละหมาดกับอิมามสองร็อกอัตหลัง เขาก็สามารถที่จะให้สลามพร้อมๆ กับอิมามได้

หรือถ้าทันกับอิมามเพียงร็อกอัตเดียว(หรือสามร็อกอัต)ช่วงละหมาดอิชาอ์ เขาก็สามารถให้สลามพร้อมอิมาม โดยเนียตว่านี่เป็นการละหมาดวิติรได้

 

ข. การถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

ทั้งนี้ เพราะไม่มีการระบุความประเสริฐเฉพาะสำหรับการถือศีลอดสองวันนี้เหมือนที่มีระบุสำหรับการศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺหรือวันอาชูรออ์ เป็นต้น แต่ความหมายก็คือสองวันนี้เป็นวันที่อะมัลต่างๆ จะถูกยกขึ้นสู่อัลลอฮฺ ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงชอบที่จะให้อะมัลของท่านถูกยกขึ้นไปในขณะที่ถือศีลอดอยู่

ดังนั้น ถ้าถือศีลอดชดของเราะมะฎอน หรือบนบาน หรือกัฟฟาเราะฮฺ หรือหกวันเชาวาล หรือวันคืนเดือนขึ้น ที่ตรงกับสองวันนี้ ก็จะได้ผลตามที่ระบุในหะดีษคืออะมัลของเขาจะถูกนำขึ้นไปสู่อัลลอฮฺในขณะที่เขาถือศีลอด

ด้วยเหตุนี้ เราจึงสนับสนุนให้ถือศีลอดหกวันเชาวาล โดยเลือกถือให้ตรงกับวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

เราไม่พูดว่านี่เป็นการรวมเนียต เพราะการถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัสบดีนั้นไม่ใช่อิบาดะฮฺที่เป็นเอกเทศโดยตัวมันเอง(หมายถึง ไม่มีระบุความประเสริฐว่าได้ผลบุญเท่านั้นเท่านี้) มันจึงไม่ใช่ประเด็นรวมเนียตแต่แรกแล้ว

 

5. ที่ถูกต้องกว่าก็คือ ไม่อนุญาตให้มุสลิมรวมเนียตระหว่างสองอะมัลที่มีความประเสริฐและหุก่มที่เป็นเอกเทศเฉพาะ เช่น รวมเนียตระหว่างการถือศีลอดชดเราะมะฎอนกับถือศีลอดบนบาน

หรือการถือศีลอดชดเราะมะฎอนกับการถือศีลอดหกวันเชาวาล ทั้งนี้ เพราะความหมายที่หะดีษต้องการก็คือให้ถือศีลอดสามสิบหกวัน (หรือหนึ่งเดือนกับอีกหกวัน) ดังนั้นถ้ารวมสองเนียตเข้าด้วยกันก็จะเท่ากับการถือศีลอดแค่เดือนเดียวเท่านั้น ซึ่งมันค้านกับจุดประสงค์ของหะดีษที่ต้องการให้ถือศีลอดหนึ่งเดือนกับอีกหกวัน

ความหมายนี้ถูกอธิบายด้วยหะดีษบทอื่นซึ่งรายงานโดยอิบนุ มาญะฮฺด้วยสายรายงานที่เศาะฮีหฺว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า "ใครที่ถือศีลอดหกวันหลังอีดเขาจะได้ผลบุญเหมือนถือศีลอดหนึ่งปี เพราะความดีนั้นถูกคูณด้วยสิบเท่า" (หมายถึง หนึ่งเดือนเราะมะฎอนคูณสิบจะเท่ากับสิบเดือน หกวันเชาวาลคูณสิบเท่ากับหกสิบหรือสองเดือน ซึ่งครบปีพอดี) วัลลอฮฺ อะอฺลัม

 

 

แปลจาก:

 //saaid.net/Doat/ehsan/18.htm

Go to the Top