فضل أيام عشر ذي الحجة والأعمال الواردة فيها

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: فضل أيام عشر ذي الحجة والأعمال الواردة فيها
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: فضل أيام عشر ذي الحجة والأعمال الواردة فيها، مقالة قيمة للشيخ عبدالله ابن جبرين رحمه الله، فيها بيان فضل الأيام العشر الأوائل من شهر ذي الحجة ، وما ينبغي للمسلم الاعتناء به في هذه الأيام من أعمال وطاعات.
تأريخ الإضافة: 2010-11-06
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/326795
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺและอะมัลต่างๆ ในวันนั้น
455.5 KB
فتح: ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺและอะมัลต่างๆ ในวันนั้น.doc
2.
ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺและอะมัลต่างๆ ในวันนั้น
202.2 KB
فتح: ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺและอะมัลต่างๆ ในวันนั้น.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ความประเสริฐของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺและอะมัลต่างๆ ในวันนั้น

 

อัล-บุคอรีย์ ได้รายงานจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«مَا مِنْ أَيَّامٍ الْعَمَلُ الصَّالِحُ فِيهَا أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ» ـ يَعْنِي أَيَّامَ الْعَشْرِ ـ قَالُوا: يَا رَسُولَ اللهِ وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ؟ قَالَ: «وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ»

ความว่า ไม่มีวันใดๆ ที่การงานที่ดีจะเป็นที่ชื่นชอบขององค์อัลลอฮฺมากกว่าในวันเหล่านี้(หมายถึงสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ) เหล่าเศาะหาบะฮฺได้ถามท่านว่า แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ(ก็ยังไม่สามารถทัดเทียมการปฏิบัติอะมัลในวันเหล่านี้)กระนั้นหรือ? ท่านตอบว่า ใช่ แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ เว้นแต่บุรุษหนึ่งที่ออกไปรบด้วยตัวและทรัพย์ของเขาแล้ว(เสียชีวิตในสมรภูมิ)ไม่กลับมาอีกเลย (อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 969  และอบูดาวูด หะดีษหมายเลข 2440 สำนวนนี้เป็นของท่าน)

 

ท่านอิมาม อะหฺมัด (หมายเลข 5446) ได้รายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«مَا مِنْ أَيَّامٍ أَعْظَمُ عِنْدَ اللهِ وَلَا أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنْ الْعَمَلِ فِيهِنَّ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ، فَأَكْثِرُوا فِيهِنَّ مِنْ التَّهْلِيلِ وَالتَّكْبِيرِ وَالتَّحْمِيدِ»

ความว่าไม่มีวันใดๆ ที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รักของอัลลอฮฺเพื่อปฏิบัติอะมัลในวันเหล่านั้น มากไปกว่าสิบวันเหล่านี้ ดังนั้นพวกท่านจงกล่าวตะฮฺลีล(ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ตักบีรฺ(อัลลอฮุ อักบัรฺ) และตะหฺมีด(อัลฮัมดุลิลลาฮฺ) ให้เยอะๆ

 

อิบนุ หิบบาน ได้รายงานในหนังสือเศาะฮีหฺของท่านจากญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าไม่มีวันใดที่จะประเสริฐไปกว่าวันอะเราะฟะฮฺ (ดู เศาะฮีหฺ อิบนิ หิบบาน หมายเลข 3853)

 

 

 

อะมัลต่างๆ ในสิบวันนี้

1.      การทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดสำหรับช่วงเวลานี้ มีหะดีษมากมายที่กล่าวถึงเช่น

«الْعُمْرَةُ إِلَى الْعُمْرَةِ كَفَّارَةٌ لِمَا بَيْنَهُمَا وَالْحَجُّ الْمَبْرُورُ لَيْسَ لَهُ جَزَاءٌ إِلَّا الْجَنَّةُ»

ความว่า ช่วงระหว่างการทำอุมเราะฮฺหนึ่งกับการทำอุมเราะฮฺครั้งต่อไปเป็นการขจัดความผิดบาป และหัจญ์ที่ถูกตอบรับนั้นไม่มีผลตอบแทนใดนอกจากสวรรค์ (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ 1773 และมุสลิม 3355)

2.      การถือศีลอดในช่วงวันเหล่านี้โดยเฉพาะในวันอะเราะฟะฮฺ ไม่เป็นที่สงสัยอีกว่าการถือศีลอดนั้นมีความประเสริฐโดยตัวเองมากกว่าการงานอื่นๆอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการงานที่อัลลอฮฺทรงเลือกสรรดังที่มีในหะดีษกุดซีย์บทหนึ่งที่อัลลอฮฺได้มีดำรัสว่า

«الصَّوْمُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَأَكْلَهُ وَشُرْبَهُ مِنْ أَجْلِي»

ความว่า การถือศีลอดเป็นของฉัน และฉันจะเป็นผู้กำหนดผลตอบแทนด้วยตัวเอง เพราะผู้ถือศีลอดได้ละอาหารเครื่องดื่มและความปรารถนาของเขาเพื่อฉัน (ดูใน อะหฺมัด 9112) อัล-บุคอรีย์ 7492) มุสลิม 1151)

 

และมีรายงานจากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«مَا مِنْ عَبْدٍ يَصُومُ يَوْمًا فِى سَبِيلِ اللهِ، إِلاَّ بَاعَدَ اللهُ بِذَلِكَ الْيَوْمِ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِينَ خَرِيفًا»

ความว่า ไม่มีบ่าวผู้ใดที่ถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺเพียงวันเดียว เว้นแต่อัลลอฮฺจะทำให้เขาห่างไกลปลอดภัยจากนรกถึงเจ็ดสิบปี (ดูใน อัล-บุคอรีย์ 2840 มุสลิม 1153)

 

จากอบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أَحْتَسِبُ عَلَى اللهِ أَنْ يُكَفِّرَ السَّنَةَ الَّتِى قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِى بَعْدَهُ»

ความว่า ผลบุญของการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺนั้น ฉันหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงให้อภัยโทษต่อความผิดในปีที่ผ่านมาและปีที่จะมาถึง (ดูใน มุสลิม 1162)

 

3.      การกล่าวระลึกและตักบีรฺในวันเหล่านี้ ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

﴿وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللهِ فِي أَيَّامٍ مَّعْلُومَاتٍ﴾ (الحج : 28 )

ความว่า และ(เพื่อให้)พวกเขาได้กล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺในวันที่มีจำนวนแน่นอนเหล่านั้น (สูเราะฮฺ อัล-หัจญ์ 28)

 

ได้มีการอธิบายว่าวันเหล่านั้นคือสิบวันของเดือนซุลหิจญะฮฺ เหล่าอุละมาอ์มีความเห็นชอบให้กล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺให้เยอะๆ ด้วยมีหะดีษที่รายงานโดยอะหฺมัด จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ที่ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้นว่า ดังนั้นพวกท่านจงกล่าวตะฮฺลีล(ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ตักบีรฺ(อัลลอฮุ อักบัรฺ) และตะหฺมีด(อัลฮัมดุลิลลาฮฺ) ให้เยอะๆ  อัล-บุคอรีย์ ได้รายงานจากอิบนุ อุมัรฺ และอบี ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่าทั้งสองได้ออกไปยังตลาดในวันเหล่านี้และกล่าวตักบีรฺ แล้วผู้คนทั้งหลายก็กล่าวตักบีรฺเช่นกัน และมีรายงานโดยอิสหาก อิบนุ รอฮูยะฮฺ จากเหล่าตะบิอีน ว่าพวกเขาได้กล่าวคำซิกิรฺในวันเหล่านี้ว่า อัลลอฮุ อักบัรฺ อัลลอฮุ อักบัรฺ,ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ, วัลลอฮฺ อักบัรฺ, อัลลอฮุ อักบัรฺ วะลิลลาฮิล หัมดฺ ส่งเสริมให้กล่าวตักบีรฺด้วยเสียงที่สามารถได้ยิน ไม่ว่าที่ร้านค้า ที่บ้าน ตามถนน ในมัสยิด และที่อื่นๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿وَلِتُكَبِّرُواْ اللهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ﴾ (البقرة : 185 )

ความว่า และเพื่อให้พวกเจ้าได้กล่าวตักบีรฺต่ออัลลอฮฺ ในสิ่งที่พระองค์ได้ชี้ทางพวกเจ้า (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 185)

 

ไม่อนุญาตให้กล่าวตักบีรฺเป็นกลุ่มหมู่ด้วยการรวมกลุ่มและกล่าวตักบีรฺด้วยเสียงพร้อมเพรียงกัน เพราะไม่มีหลักฐานจากสัปบุรุษรุ่นแรกว่ามีการทำเช่นนั้น แต่ที่เป็นซุนนะฮฺก็คือให้กล่าวแต่ละคนด้วยตัวเอง สิ่งนี้นับรวมถึงการกล่าวดุอาอ์อื่นๆ ทั้งหมดด้วย ยกเว้นถ้าหากเขาไม่รู้ที่จะกล่าวก็ให้คนอื่นสอนแล้วเขาอ่านตาม เขาสามารถที่จะระลึกด้วยการกล่าวตักบีรฺ ตะหฺมีด ตัซบีฮฺ หรือดุอาอ์อื่นๆ เท่าที่เขามีความสามารถ

4.      การเตาบะฮฺขออภัยโทษ และละเลิกจากการทำบาปและความผิดทั้งหมด เพื่อให้การงานต่างๆ เต็มเปี่ยมด้วยการอภัยโทษและความเมตตา เพราะบาปทั้งหลายเป็นเหตุแห่งการห่างไกลและถูกกีดกันจากความเมตตาของอัลลอฮฺ การเชื่อฟังอัลลอฮฺคือเหตุแห่งการได้มาซึ่งความใกล้ชิดและความโปรดปราน มีรายงานจาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«إِنَّ اللهَ يَغَارُ، وَغَيْرَةُ اللهِ أَنْ يَأْتِيَ الْمُؤْمِنُ مَا حَرَّمَ اللهُ»

ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงหวง(บ่าวของพระองค์) พระองค์จะหวงว่าผู้ศรัทธาจะกระทำสิ่งที่พระองค์สั่งห้าม (ดูในอัล-บุคอรีย์ 5223 มุสลิม 2761)

5.      การปฏิบัติอะมัลที่ดีต่างๆ ให้มาก ไม่ว่าการละหมาด การจ่ายเศาะดะเกาะฮฺ การเสียสละ การอ่านอัลกุรอาน การสั่งเสียในความดียับยั้งความชั่ว เป็นต้น เพราะการงานเหล่านี้มีผลตอบแทนทวีคูณในวันเหล่านี้ งานต่างๆ ที่ได้ทำในวันเหล่านี้ซึ่งอาจจะประเสริฐน้อยกว่าแต่ก็เป็นที่รักของอัลลอฮฺมากกว่างานอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำในวันเหล่านี้ถึงแม้จะมีความประเสริฐมากกว่างานเล็กๆ เหล่านั้น แม้กระทั่งการออกญิฮาด ซึ่งเป็นนับเป็นอะมัลที่ประเสริฐที่สุด ยกเว้นถ้าหากเขาเสียชีวิตด้วยการญิฮาดนั้น

6.      มีบัญญัติให้กล่าวตักบีรฺโดยทั่วไปไม่จำกัดในทุกเวลาทั้งกลางคืนหรือกลางวันจนกระทั่งถึงเช้าวันอีด และให้กล่าวตักบีรฺหลังละหมาดห้าเวลาที่ทำเป็นญะมาอะฮฺ เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ทำหัจญ์ให้เริ่มตั้งแต่เช้าวันอะเราะฟะฮฺ และสำหรับผู้ที่ทำหัจญ์ให้เริ่มตั้งแต่เช้าวันที่สิบ จวบจนกระทั่งถึงละหมาดอัศริในวันตัชรีกวันสุดท้าย

7.      มีบัญญัติให้เชือดสัตว์ในวันที่สิบและวันตัชรีก ซึ่งเป็นแนวทางของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม เมื่อครั้งที่อัลลอฮฺได้ทดแทนการเสียสละของท่านด้วยการเชือดที่ยิ่งใหญ่ มีรายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เชือดแกะตัวใหญ่สองตัวด้วยมือของท่านเอง ท่านได้กล่าวพระนามของอัลลอฮฺและกล่าวตักบีรฺ และได้วางเท้าของท่านบนด้านข้างของมันทั้งสองเวลาเชือด (ดูในอัล-บุคอรีย์ 5558 มุสลิม 1966)

8.      อิมาม มุสลิม (หะดีษ 1977) รายงานจากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«إِذَا رَأَيْتُمْ هِلاَلَ ذِى الْحِجَّةِ وَأَرَادَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّىَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَأَظْفَارِهِ »

ความว่า เมื่อใดพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลหิจญะฮฺและต้องการจะเชือดสัตว์ ก็อย่าได้ตัดขนหรือเล็บ

ในอีกรายงานหนึ่งมีว่า

«فَلاَ يَأْخُذَنَّ مِنْ شَعْرِهِ وَلاَ مِنْ أَظْفَارِهِ شَيْئًا حَتَّى يُضَحِّىَ»

ความว่า ก็อย่าให้เขาตัดขนหรือเล็บแม้เพียงนิดเดียวจนกว่าเขาจะเชือด

 

นี่อาจจะเหมือนกับผู้ที่เตรียมสัตว์สำหรับเชือดในการทำหัจญ์ที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

﴿وَلاَ تَحْلِقُواْ رُؤُوسَكُمْ حَتَّى يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ﴾ (البقرة : 196 )

ความว่า และพวกเจ้าอย่าได้โกนหัวของพวกเจ้าจนกว่าสัตว์เชือดเหล่านั้นจะถึงที่หมายของมัน(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 196)

การห้ามเช่นนี้แสดงว่าเจาะจงเฉพาะเจ้าของสัตว์เชือดเท่านั้น ไม่นับรวมภรรยาหรือครอบครัวของเขายกเว้นถ้าเขาเหล่านั้นมีสัตว์เชือดของตน และถือว่าไม่เป็นไรถ้าหากล้างหรือเกาหัวโดยปกติแล้วมีเส้นผมร่วงหล่นลงมา

9.      มุสลิมควรต้องตั้งใจอย่างจริงจังเพื่อให้สามารถละหมาดอีดร่วมกัน และฟังคุฏบะฮฺ และควรต้องรู้ถึงวิทยปัญญาของการบัญญัติวันอีดว่าเป็นวันแห่งการขอบคุณและการทำดี และอย่าให้มันเป็นวันที่ไม่ดีหรือเลวร้าย อย่าได้ทำให้มันเป็นช่วงเวลาของการทำอบายมุขและเพลิดเพลินกับสิ่งต้องห้ามเช่นเสียงเพลงและของมึนเมา เพราะอาจจะเป็นเหตุที่ทำให้การงานที่ได้ทำไว้ก่อนหน้าในสิบวันที่ผ่านมาต้องสูญเสีย

10.  เป็นการสมควรที่มุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคนต้องฉกฉวยโอกาสในวันเหล่านี้ด้วยการเชื่อฟังอัลลอฮฺ การกล่าวระลึก และขอบคุณพระองค์ และดำรงการปฏิบัติกิจต่างๆ ห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ห้าม ฉกฉวยโอกาสเหล่านี้เพื่อเปิดรับบรรยากาศอันอบอวลด้วยความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงช่วยเหลือและชี้นำสู่เส้นทางที่เที่ยงตรง

 

คัดจาก //www.saaid.net/mktarat/hajj/4.htm

Go to the Top