السنة في الأعمال الصباحية

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: السنة في الأعمال الصباحية
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: حث وترغيب لجميع المسلمين على إحياء السنة النبوية في الصباح من ذكر ودعاء وعبادة من بعد صلاة الفجر حتى طلوع الشمس كما كان عليه الرسول صلى الله عليه وسلم
تأريخ الإضافة: 2010-06-29
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/313656
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ภารกิจยามเช้าตามซุนนะฮฺ
238 KB
فتح: ภารกิจยามเช้าตามซุนนะฮฺ.pdf
2.
ภารกิจยามเช้าตามซุนนะฮฺ
2.5 MB
فتح: ภารกิจยามเช้าตามซุนนะฮฺ.doc
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ภารกิจยามเช้าตามซุนนะฮฺ

 

 อัลลอฮฺตรัสว่า :

﴿فَاصْبِرْ عَلَى مَا يَقُولُونَ وَسَبِّحْ بِحَمْدِ رَبِّكَ قَبْلَ طُلُوعِ الشَّمْسِ وَقَبْلَ غُرُوبِهَا وَمِنْ آنَاء اللَّيْلِ فَسَبِّحْ وَأَطْرَافَ النَّهَارِ لَعَلَّكَ تَرْضَى﴾ (طه : 130 )

ความว่า : ดังนั้นเจ้าจงอดทนต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวร้าย และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้า ก่อนตะวันขึ้นและก่อนตะวันลับลงไป และส่วนหนึ่งจากเวลากลางคืนก็จงแซ้ซ้องสดุดีและในปลายช่วงของเวลากลางวันด้วย เพื่อเจ้าจะได้พออกพอใจ(สูเราะฮฺ ฏอฮา 130)

             

            โองการของพระองค์อัลลอฮฺนั้นถูกน้อมรับด้วยความเต็มเปี่ยมโดยท่านศาสนทูมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยการเป็นแบบอย่างแก่ประชาชาติของท่าน ฉะนั้นเราในฐานะประชาติผู้หนึ่งของท่าน มาเถอะมาเราเรียนรู้บางบทของหะดีษ ว่าท่านศาสนทูตของเรานั้นได้กระทำอามัลอะไรบ้างในยามเช้าตรู่ และคำสั่งเสียของท่านนั้นจะได้ปฏิบัติตามกัน ตลอดจนได้รับความประเสริฐและคุณค่าในการปฏิบัติตามซุนนะฮฺดังกล่าว :

1 . عَنْ جَابِرٍ بِنْ سَمُرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ النَّبِيُّ صَلى اللهُ عليهِ وَسَلَّم إِذَا صَلَّى الفَجْرَ جَلَسَ في مُصَّلاَهُ حَتىَّ تَطْلُعَ الشَّمْسُ حَسَنًا. (حديث صحيح: رواه مسلم رقم/670)

ความว่า จากท่านญาบิร บุตร สะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : เมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสร็จสิ้นจากการละหมาดศุบห์(ญะมาอะฮฺที่มัสยิดของท่าน) ท่านจะนั่งอยู่กับที่ที่ท่านได้ทำการละหมาดกระทั่งมีแสงตะวันขึ้นชัดเจน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 670)

 

          และในสายรายงานของอิบนุคุซัยมะฮฺในหนังสือศอเฮียะของท่าน 1/373 ท่านได้เล่าว่า ท่านเคยถามท่านญาบิรบุตร  ซะมูเราะฮฺว่า : ท่านรอซูลได้ปฏิบัติอย่างไรหลังจากท่านได้ดำรงการละหมาดซุบฮีเสร็จ? ญาบิร กล่าวว่า: ท่านนบีจะนั่ง(ซิกรุลลอฮฺ)ในที่ที่ท่านได้ทำการละหมาดหลังจากที่ท่านได้(เสร็จสิ้น)นมาซซุบฮี จนตะวันขึ้น

2 . عَنْ أَبِيْ أُمَامَةَ رَضِيَ اللهُ عَنهُ أَنَّ رَسُوْلَ الله صَلَّى اللهُ عليه وَسلّم قاَلَ : «لأَنْ أَقْعُدَ أَذْكُرُ اللهُ ، وَأُكَبِّرُهُ ، وَأَحْمَدُهُ ، وَأُسَبِّحُهُ ، وَأُهَلِّلُهُ حَتّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ أَحَبَّ إلَيَّ مِنْ أَنْ أَعْتَقَ رَقَبَتَيْنِ أَوْ أَكْثَرَ مِنْ وَلَدِ إِسْمَاعِيْل» (حديث حسن : رواه أحمد 5/255)

ความว่า :  จากอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “แน่แท้แล้ว ถ้าฉันได้นั่ง(ที่ละหมาด)และฉันได้ซิกิร ตักบีร ตะห์มีด ตัสบีห์ และตะฮฺลีลต่อพระองค์อัลลอฮฺ กระทั่งตะวันขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ฉันรักยิ่งกว่าการปล่อยทาสสองคนหรือมากกว่านั้น จากทาสที่เป็นลูกหลานของนบีอิสมาอีล(หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อะห์มัด 5/255)

 

 3. عَنْ أَنَسٍ رَضِيَ اللهُ عَنه قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم : «مَنْ صَلَّى اْلفَجْرَ فِيْ جَمَاعَةٍ ثُمَّ قَعَدَ يَذْكُرُ اللهُ تَعالى حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ، ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ كَانَتْ كَأَجْرِ حَجَّةٍ وَعُمْرَةٍ تَامَّةً تَامَّةً تَامَّةً»  (حسن : رواه الترمذي، رقم/586، وقال: حديث حسن غريب. وانظر : الترغيب والترهيب، رقم : 464)     

ความว่า : จากอะนัส  เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวว่า : “ผู้ใดที่ละหมาดศุบห์พร้อมญะมาอะฮ จากนั้นเขาได้นั่งซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) กระทั่งตะวันขึ้น หลังจากนั้นเขาได้ทำการละหมาดสองร็อกอะฮฺเป็นสุนัต(ฎุหา) เขาจะได้รับผลบุญเหมือนไปประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺที่สมบูรณ์ สมบูรณ์ และสมบูรณ์ (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 586 ท่านกล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน เฆาะรีบ และดูใน อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ หมายเลข 464)

         

ส่วนหนึ่งจากบทซิกรุลลอฮฺในยามเช้าตรู่  

           1. อ่านวิริดหลังการละหมาด หมายถึงการอ่านอิสติฆฟารฺ (ขออภัยโทษ) การซิกรุลลอฮฺ การตักบีรฺ การสรรเสริญ การตสบีหฺ และการขอดุอาอ์ด้วยเนื้อหาและวิธีการที่มาจากท่านนบีหรือจากเศาะหาบะฮฺ ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการละหมาดฟัรฎูแล้ว

           2. ขอดุอาอ์ หมยถึงการขอดุอาอ์อื่นๆ ที่ครอบคลุม (ดุอาอ์ญามิอฺ) ที่มาจากท่านนบีหรือเศาะหาบะฮฺของท่านหรือดุอาอ์อื่นๆ ที่มีประโยชน์

           3. อ่านอัซการ นะบะวียะฮฺ หรือบทซิกิรฺของท่านนบีในยามเช้า หมายถึงการอ่านบทซิกิรฺที่ท่านนบีได้อ่านและปฏิบัติเป็นประจำในยามเช้าตรู่ หรือบทซิกิรฺที่ท่านนบีได้สอนให้แก่เหล่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านไว้

           4. อ่านกุรอาน ให้อ่านเป็นประจำทุกวัน ประมาณ 1 ญุซอ์ต่อวัน หรืออาจมากกว่านั้นก็ยิ่งดี หรือครึ่งญุซอ์ หรือน้อยกว่านั้น แต่อยากให้เป็นกิจวัตรประจำวันของเรา โดยเฉพาะในยามเช้าตูร่หรืออาจเป็นการท่องอัลกุรอานก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าการซิกิรฺที่ดีสุดนั้นคือการอ่านอัลกุรอาน

           5. ศึกษาเรียนรู้อัลกุรอานและซุนนะฮฺหรืออาจจะเป็นการท่องจำทั้งสองอย่างดังกล่าว

           6. สอนหรือเรียนรู้วิชาแขนงต่างๆ โดยเฉพาะที่จะนำสู่การเข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮฺ หรือวิชาต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการเข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮฺ

           7. การตักเตือนนะศีหะฮฺ ด้วยเนื้อหาที่เป็นสัจธรรมและความเศาะบัร (อดทน) ที่สามารถนำมายกระดับชีวิตของมนุษย์ให้ยำเกรงต่ออัลอฮฺมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งที่จำต้องรักซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ในทุกอิริยาบถ

           

คำเชิญชวน แด่...พี่น้องมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกท่าน

จงฉกฉวยโอกาสในเวลายามเช้าตรู่ที่มีคุณค่ามากสำหรับชีวิตของเราในแต่ละวัน ซึ่งมีอยู่ในมัสยิดอันเป็นสถานที่ที่ดีที่สุด เพราะอากาศยามเช้านั้นช่างดีเหลือเกินสำหรับเรา  มันเต็มไปด้วยความบะเราะกะฮฺในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจ หรือทางด้านความจำของสมอง หรือการตอบสนองของสมองที่มีสภาพสดใสและแข็งแรง โดยเฉพาะบรรดานักศึกษาและคณาจารย์ทั้งหลาย  และจงต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำในยามเช้าที่คอยสร้างปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน จนทำให้เราต้องสูญเสียเวลาอันมีค่านี้ไปอย่างไร้ประโยชน์   

ขออัลลอฮฺทรงช่วยเหลือบ่าวพระองค์ด้วยเถิด

 

وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم ، سبحان ربك رب العزة عما يصفون ، وسلام على المرسلين ،  والحمد لله رب العالمين.

 

..................

ที่มา ... มัสยิดอิบาดุรเราะหฺมาน  ปัตตานี

28 ซุลเกาะอฺดะฮฺ  1423

Go to the Top