لا إكراه في الدين

مقالات البطاقة التعريفية
العنوان: لا إكراه في الدين
اللغة: تايلندي
الكاتب: مزلان محمد
نبذة مختصرة: تؤكد هذه المقالة على مبدأ عظيم من مبادئ الدين الإسلامي وهو عدم إكراه الناس على الدخول في الإسلام وأن الواجب على المسلم هو البلاغ المبين والدعوة إلى الله على بصيرة
تأريخ الإضافة: 2009-10-10
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/238072
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي - إنجليزي - سواحيلي - تجريني
المرفقات ( 2 )
1.
ไม่มีการบังคับเพื่อให้นับถืออิสลาม
324 KB
فتح: ไม่มีการบังคับเพื่อให้นับถืออิสลาม.doc
2.
ไม่มีการบังคับเพื่อให้นับถืออิสลาม
195 KB
فتح: ไม่มีการบังคับเพื่อให้นับถืออิสลาม.pdf
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

ไม่มีการบังคับเพื่อให้นับถืออิสลาม


          สามัญสำนึกอันดั้งเดิมของมนุษย์ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ความต้องการศาสนาเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ ผู้ที่ศึกษาอารยธรรมของมนุษย์จะพบว่า มนุษย์ในบางสังคมหรือบางช่วงเวลาไม่มีโรงงาน  สถาบันการศึกษา โรงพยาบาลหรือแม้แต่บ้านเพื่อเป็นแหล่งพักพิง แต่ไม่เคยปรากฏในสังคมใช้ชีวิตโดยปราศจากหอสวด ศาลเจ้า สถานศักดิ์สิทธิ์หรือสัญลักษณ์ของความเชื่อที่มีการเรียกขานด้วยชื่อต่างๆ ตามความศรัทธาของแต่ละสังคม  จึงสรุปได้ว่า มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้หากปราศจากศาสนาและการศรัทธาในพระเจ้า ผู้ที่ปฏิเสธแนวคิดความเชื่อในพระเจ้า แท้จริงแล้วบุคคลผู้นั้นกำลังสร้างศาสนาใหม่และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าแทน

อัลลอฮฺ ได้ทรงส่งนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  เพื่อธำรงไว้ซึ่งความกรุณาปรานีแก่มนุษย์ 

ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

«وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ» (الأنبياء : 107 )

ความว่า “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลจักรวาล” (21:107)

และเพื่อยืนยันในสัจธรรมดังกล่าว นะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวแก่ตนเองความว่า

"แท้จริง ฉันคือความเมตตาที่เป็นของขวัญจากพระเจ้าที่มอบให้กับสรรพสิ่งทั้งหลาย" (รายงานโดยอัดดาริมีย์)

          ส่วนหนึ่งของความกรุณาปรานีของอัลลอฮฺ คือ การให้โอกาสมนุษย์มีสิทธิเลือกและกำหนดวิถีชีวิตตามความประสงค์ของตนเอง โดยสภาวะดั้งเดิมมนุษย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐสุดและมีเกียรติยิ่ง แม้นว่าจะแตกต่างด้านสีผิว ชาติพันธุ์ ภาษาและฐานะทางสังคม 

 อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَلَقَدْ كَرَّمْنَا بَنِي آدَمَ وَحَمَلْنَاهُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ وَرَزَقْنَاهُم مِّنَ الطَّيِّبَاتِ وَفَضَّلْنَاهُمْ عَلَى كَثِيرٍ مِّمَّنْ خَلَقْنَا تَفْضِيلاً» (الإسراء : 70 )

ความว่า “และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่” (อัลกุรอาน 17:70)

          มนุษย์เป็นมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ที่มีสติปัญญา มีเป้าหมายแห่งชีวิต เป็นมัคลูกที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ถูกกำหนดไว้ มนุษย์มีสถานะและบทบาทอันทรงเกียรติ เขาจะถูกสอบสวนในการปฏิบัติหน้าที่ในวันอาคิเราะฮ์ (โลกหน้า) มนุษย์มีสิทธิ์เลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มนุษย์มีความพร้อมที่จะกระทำสิ่งดีและไม่ดี มนุษย์จึงไม่ใช่มลาอิกะฮฺ (เหล่าเทวทูต) ที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นเพื่อให้กระทำความดี เนื่องจากมลาอิกะฮฺเป็นมัคลูกที่ไม่มีอารมณ์และปราศจากความต้องการ แต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์มิใช่ชัยฏอน (เหล่ามารร้าย) ที่หมกมุ่นและจมปลักในการปฏิบัติแต่เพียงความชั่วร้ายและสิ่งอบายมุขทั้งมวล

          อัลลอฮฺได้ทำให้มนุษย์รู้จักกำหนดวิถีชีวิตโดยอาศัยการเรียนรู้และการพัฒนา  อัลลอฮฺทรงแนะนำและส่งเสริมให้มนุษย์ทำคุณงามความดี  พระองค์ทรงตักเตือนและห้ามปรามมิให้จมปลักในความชั่วร้าย

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

«وَهَدَيْنَاهُ النَّجْدَيْنِ» (البلد : 10 )

ความว่า “และเราได้ชี้แนะทางแห่งความดี และความชั่วแก่เขาแล้ว” (อัลกุรอาน 90:10)

          อัลลอฮฺจึงให้มนุษย์มีความรับผิดชอบต่อผลของการเลือกของเขา  ทั้งนี้เพราะความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพ  หากปราศจากเสรีภาพ ความรับผิดชอบก็ไร้ความหมาย ด้วยเหตุที่มนุษย์มีอิสรภาพ รู้จักแสวงหาและสะสมความรู้และประสบการณ์ มีศักยภาพในการตัดสินใจว่าสิ่งใดถูกและสิ่งใดผิด  ตลอดจนมีโอกาสในการแก้ตัว ปรับปรุงและขอลุแก่โทษในความผิดพลาดทั้งปวง  มนุษย์จึงมีฐานะที่สูงส่งกว่าสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และนี่คือ เหตุผลสำคัญที่ทำให้บรรดาเทวทูต (มลาอิกะฮ์) ยอมก้มคารวะ (สุญูด) เพื่อแสดงความเคารพต่อนะบีอาดัม อะลัยฮิสลาม ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ที่บันทึกโดยอัลกุรอาน

          มุสลิมทุกคนมีหน้าที่สืบทอดภารกิจของเหล่าศาสนทูตด้วยการให้เกียรติแก่มนุษย์ โดยให้มนุษย์มีอิสระเสรี และศักดิ์ศรีอันเหมาะสมกับสถานะและบทบาทอันแท้จริง มุสลิมทุกคนต้องใช้ความพยายามในการชี้แจงความถูกต้องและสัจธรรม ตักเตือนมิให้ทำสิ่งชั่วร้าย แต่ทั้งนี้มุสลิมพึงสำนึกว่า มนุษย์มีสิทธิ์ในการเลือกทางเดินชีวิตของตน การกดขี่บังคับ ถือเป็นการลดศักดิ์ศรีและไม่ให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อิสลามจึงกำหนดให้มุสลิมประกาศญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดกั้นการแพร่ขยายของการกดขี่บังคับมิให้ปฏิบัติตามศาสนา (ซึ่งถูกเรียกในอัลกุรอานว่าเป็นฟิตนะฮฺประการหนึ่ง) 

ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَقَاتِلُوهُمْ حَتَّى لاَ تَكُونَ فِتْنَةٌ» (البقرة : 193 )

ความว่า “และจงสู้รบกับพวกเขา จนกว่าฟิตนะฮฺจะไม่ปรากฏขึ้น” (อัลกุรอาน 2:193)

          ฟิตนะฮฺ ตามความหมายคือ การบังคับมิให้มนุษย์มีสิทธิปฏิบัติหรือเชื่อศรัทธาในสิ่งที่เป็นความต้องการของเขา และการปิดโอกาสมิให้มีสิทธิเลือกกระทำตามที่ต้องการ อิสลามถือว่า การกระทำฟิตนะฮฺ มีผลกระทบที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการฆาตรกรรม เพราะฆาตรกรรมเป็นการปลิดชีวิตที่เป็นกายภาพ แต่การกระทำฟิตนะฮ์ถือเป็นอาชญากรรมด้านความรู้สึกและจิตใจ

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَالْفِتْنَةُ أَكْبَرُ مِنَ الْقَتْلِ» (البقرة : 217 )

ความว่า “และการฟิตนะฮฺนั้นใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า” (อัลกุรอาน 2:217)

 

โดย อ.มัสลัน มาหะมะ

คัดจาก เว็บอิสลามมอร์

موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top