لماذا خلق الله السماوات والأرض في ستة أيام؟

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: لماذا خلق الله السماوات والأرض في ستة أيام؟
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: لماذا خلق الله السماوات والأرض في ستة أيام مع قدرته على خلقها في أقل من هذه المدة ؟ ، إذا أراد الله أمراً فإنه يقول له كن فيكون ، فلماذا استغرق 6 أيام حتى يخلق السماوات والأرض ؟


تأريخ الإضافة: 2009-04-22
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/205258
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
เหตุใด อัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ภายในหกวัน ?
143.4 KB
فتح: เหตุใด อัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ภายในหกวัน ?.pdf
2.
เหตุใด อัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ภายในหกวัน ?
242.5 KB
فتح: เหตุใด อัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ภายในหกวัน ?.doc
نبذة موسعة

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 

เหตุใดอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินภายในหกวัน?

 

คำถาม

เพราะสาเหตุอันใดเล่าที่อัลลอฮฺได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นระยะเวลาถึงหกวัน  ทั้งที่พระองค์มีความสามารถที่จะสร้างในช่วงระยะเวลาที่น้อยกว่านี้?  เมื่อพระองค์มีความประสงค์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดพระองค์จะตรัสว่า “จงเป็น”  ดังนั้นมันก็จะปรากฏขึ้น  แล้วเพราะสาเหตุอันใดที่พระองค์ต้องใช้ระยะเวลาถึงหกวันจนกว่าจะสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน?

 

คำตอบ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ...

เป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้ที่มีศรัทธาอย่างลึกซึ้งและมีหลักเตาฮีด(การศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺ)ที่สมบูรณ์  ว่าพระเจ้าผู้สูงส่งเป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง  ความสามารถของพระองค์ไม่มีขอบเขตจำกัด  ดังนั้นพระองค์มีความสามารถต่อทุกสรรพสิ่งและความประสงค์มีอย่างสมบูรณ์  จุดจบของทุกกิจการงานและคำตัดสินจะสิ้นสุดที่พระองค์  เมื่อพระองค์มีความประสงค์ต่อสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้น เช่นเดียวกันที่มันจะเกิดขึ้นในเวลาที่พระองค์ต้องการ  ด้วยวิธีการที่พระองค์ต้องการให้มันเป็น

ดังที่มีตัวบทที่มีสายรายงานติดต่อกันจำนวนมากจากคัมภีร์ของพระผู้อภิบาลของเราและจากสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ที่ชี้ถึงการยอมรับในเรื่องนี้ เป็นการอธิบายที่มีความชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัยคลุมเครือแต่อย่างใด  เป็นการเพียงพอที่เราจะหยิบยกบางโองการที่กล่าวถึงเรื่องนี้มาเพียงบางส่วน  และส่วนหนึ่งของหลักฐานที่มีอยู่จำนวนมาก  อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَإِذَا قَضَى أَمْراً فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُونُ﴾ (البقرة : 117 )

ความว่า  “พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์ชั้นฟ้าและแผ่นดิน  และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดสิ่งใดแล้วพระองค์ก็เพียงแต่ตรัสต่อสิ่งนั้นว่า จงเป็น  แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้น”  (อัลบะเกาะเราะฮฺ 117)

 

อัลหาฟิซ  อิบนุ กะษีร  ได้กล่าวอรรถาธิบายอัลกุรอานโองการนี้ในตัฟซีรของท่าน (1/175) ว่า  อัลลอฮฺตะอะลาได้อธิบายในอายะฮฺนี้ถึงความสามารถอันเต็มเปี่ยมและมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์  แท้จริงเมื่อพระองค์ได้กำหนดสิ่งหนึ่งสิ่งใดและต้องการให้สิ่งนั้นปรากฏขึ้น  พระองค์จะตรัสว่า จงเป็น – หมายถึงตรัสเพียงครั้งเดียว - แล้วสิ่งนั้นก็จะปรากฏขึ้น  กล่าวคือ  จะมีปรากฏสิ่งที่ตรงกับความประสงค์ของอัลลอฮฺขึ้น  ดังที่อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿إِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيْئاً أَنْ يَقُولَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ﴾ (يس : 82 )

ความว่า  “แท้จริงพระบัญชาของพระองค์  เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด  พระองค์ก็จะตรัสแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็จะเป็นขึ้นมา”  (ยาซีน 82)

 

อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿... كَذَلِكِ اللهُ يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ إِذَا قَضَى أَمْراً فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُونُ﴾ (آل عمران : 47 )

ความว่า  “...เช่นนั้น อัลลอฮฺจะทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์  เมื่อพระองค์ทรงชี้ขาดงานใดแล้ว  พระองค์เพียงตรัสกับสิ่งนั้นว่าจงเป็น  แล้วมันก็จะเป็นขึ้น”  (อาละอิมรอน 47)

 

อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿هُوَ الَّذِي يُحْيِي وَيُمِيتُ فَإِذَا قَضَى أَمْراً فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُونُ﴾ (غافر : 68 )

ความว่า  “พระองค์ คือผู้ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย  ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงกำหนดกิจการใด ๆพระองค์ก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็จะเป็นขึ้นมา”  (ฆอฟิร 68)

 

อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿وَمَا أَمْرُنَا إِلَّا وَاحِدَةٌ كَلَمْحٍ بِالْبَصَرِ﴾ (القمر : 50 )

ความว่า  “และกิจการของเรา (ในการสร้าง) นั้นเพียง (บัญชา) ครั้งเดียว คล้ายกับชั่วพริบตาเดียว”  (อัลเกาะมัร 50)

 

อัลหาฟิซ  อิบนุ กะษีร – รอฮิมะอุลลอฮฺ ตะอะลา -  ได้กล่าวอรรถาธิบายอัลกุรอานโองการนี้ในหนังสือเล่ม  (4/261) ว่า  โองการเหล่านี้เป็นการบอกถึงการสรรค์สร้างจะดำเนินไปตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ  ทำนองเดียวกันที่มันบอกถึงความสามารถของพระองค์ที่ดำเนินไปกับพวกเขา ดังนั้นคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า  وما أمرنا إلا واحدة    “และกิจการของเรา (ในการสร้าง) นั้นเพียง (บัญชา) ครั้งเดียว”  ความหมายคือ  แท้จริงเมื่อเราใช้ในเรื่องใดเพียงครั้งเดียวไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องเน้นย้ำเป็นครั้งที่สอง  สิ่งดังกล่าวที่เราได้สั่งใช้มันก็จะมีปรากฏขึ้นคล้ายเพียงชั่วพริบตาเดียว  จะไม่ล่าช้าแม้เพียงชั่วพริบตา  คำพูดของบรรดากวีต่อเรื่องนี้ช่างสวยงามเสียนี่กระไรว่า

إذا ما أراد الله أمراً فإنما يقول له كن قولة فيكون   أ.هـ.

ความหมาย  “เมื่ออัลลอฮฺมีความประสงค์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด  พระองค์จะตรัสว่าจงเป็นเพียงคำเดียว  ดังนั้นสิ่งนั้นก็จะปรากฏขึ้น...”

 

และยังมีโองการอีกมากมายที่มายืนยันและอธิบายแจกแจงต่อเรื่องนี้  ดังนั้นเมื่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนแล้ว  เหตุไฉนที่พระองค์อัลลอฮฺผู้สูงส่งต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินถึงหกวัน?

หนึ่ง มีโองการจากคัมภีร์ของพระผู้อภิบาลพวกเราจำนวนมากที่บอกถึงการที่อัลลอฮฺสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นระยะเวลาหกวัน  ส่วนหนึ่งในโองการเหล่านั้น คือพระดำรัสที่อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿إِنَّ رَبَّكُمُ اللهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ﴾ (الأعراف : 54 )

ความว่า  “แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้านั้น คือ อัลลออฮฺผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดินภายในหกวัน แล้วทรงสถิตอยู่เหนือบัลลังก์”  (อัลอะรอฟ 54)

 

สอง ไม่มีกิจการใดที่อัลลอฮฺได้กระทำนอกจากมันจะมีหิกมะฮฺ (เหตุผล เคล็ดลับ หรือวิทยปัญญา) ที่ล้ำลึกลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งจากความหมายของพระนามของอัลลอฮฺตะอะลา “อัลหะกีม”  และหิกมะฮฺนี้บางครั้งอัลลอฮฺจะประทานให้เป็นที่ปรากฏชัด  บางครั้งก็ไม่เป็นที่ปรากฏแก่พวกเรา  บางครั้งไม่มีผู้ใดที่รู้ถึงได้ และผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งก็จะวินิจฉัยสังเคราะห์มันออกมาโดยที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าถึงได้  การที่เราไม่สามารถรู้ถึงหิกมะฮฺอันนั้นไม่ได้หมายรวมว่าเราจะต้องปฏิเสธหรือหันหลังให้จากบทบัญญัติของอัลลอฮฺ  หรือพยายามที่จะให้มันเป็นภาระและสอบถามต่อหิกมะฮฺนี้ที่อัลลอฮฺได้ปกปิดแก่พวกเรา  อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

﴿لَا يُسْأَلُ عَمَّا يَفْعَلُ وَهُمْ يُسْأَلُونَ﴾  (الأنبياء : 23 )

ความว่า  “พระองค์จะไม่ทรงถูกสอบถามในสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ และพวกเขาต่างหากที่จะถูกสอบถาม”  (อัลอัมบิยาอฺ 23)

 

ปรากฏว่ามีอุละมาอ์ส่วนหนึ่งใช้ความพยายามที่จะวินิจฉัยหิกมะฮฺในการที่อัลลอฮฺสร้างชั้นฟ้าและผืนดินเป็นระยะเวลาหกวัน

1.  อิมาม อัล-กุรฏบีย์ – รอฮิมะฮุลลอฮฺ - กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีร “อัลญามิอฺ ลิอะกาม อัลกุรอาน”  ซูเราะฮฺอัลอะรอฟ อายะฮฺที่ 54  (4/7/140) ว่า  การที่พระองค์ได้กล่าวถึงระยะเวลา –หมายถึงหกวัน -  หากว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะสร้างมันภายในหนึ่งวินาที  พระองค์ก็สามารถที่จะกระทำได้  เพราะพระองค์มีความสามารถที่จะกล่าวกับมันว่า “จงเป็นให้แก่ฉัน”  ดังนั้นมันก็จะปรากฏขึ้น  แต่ทว่าพระองค์ทรงต้องการดังต่อไปนี้

- เพื่อให้บรรดาปวงบ่าวได้รู้ถึงความเมตตาและความหนักแน่นในกิจการงาน

- เพื่อให้ความสามารถของพระองค์เป็นที่ปรากฏชัดแก่บรรดามะลาอิกะฮฺโดยการให้เกิดขึ้นมาที่ละอย่าง...

- หิกมะฮฺอีกอย่างที่พระองค์ได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นระยะเวลาหกวัน  เพราะว่าทุกสรรพสิ่ง ณ ที่พระองค์อัลลอฮฺมีวาระเวลาที่ชัดเจน  และการที่พระองค์ได้อธิบายด้วยสิ่งดังกล่าวเป็นการบอกถึงว่าพระองค์ไม่รีบเร่งในการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิด  เพราะว่าทุกสรรพสิ่ง ณ ที่พระองค์มีวาระเวลา...

 

2.  อิบนุ อัล-เญาซียฺ  กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรของเขาที่มีชื่อว่า “ซาดุลมะสีร”  (3/162)  อรรถาธิบายอายะฮฺของซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟว่า  หากมีผู้กล่าวว่า  ทำไมเล่าที่พระองค์ไม่สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินภายในหนึ่งวินาทีทั้งที่พระองค์มีความสามารถ?  ในเรื่องนี้มี 5 คำตอบ

หนึ่ง..การที่พระองค์ให้แต่ละการงานเกิดขึ้นในแต่ละวันเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการให้เป็นที่ประจักษ์แก่บรรดามะลาอิกะฮฺและผู้ที่พบเห็น  เป็นทัศนะที่กล่าวโดย อิบนุ อัล-อัมบารียฺ

สอง..เพื่อให้เกิดความหนักแน่นมั่นคง  เป็นการเตรียมการก่อนที่อาดัมและลูกหลานของเขาจะถูกสร้างให้มีปรากฏขึ้น  และยิ่งเพิ่มความยิ่งใหญ่ให้แก่บรรดามะลาอิกะฮฺขึ้นอีก

สาม..ความรีบเร่งชี้ถึงความลุ่มลึกในด้านความสามารถ  ความมั่นคงหนักแน่นชี้ถึงความลุ่มลึกในด้านหิกมะฮฺ  ดังนั้นพระองค์ต้องการที่จะให้หิกมะฮฺของพระองค์ในเรื่องดังกล่าวเป็นที่ปรากฏชัด  เสมือนที่ปรากฏถึงความสามารถของพระองค์ดั่งคำดำรัสพระองค์ที่ว่า “จงเป็น”  ดังนั้นสิ่งนั้นมันก็จะปรากฏขึ้น

สี่..แท้จริงพระองค์ต้องการที่จะสอนบรรดาปวงบ่าวให้มีความหนักแน่นมั่นคง  ดังนั้นเมื่อมีความหนักแน่นเขาจะไม่พลาดพลั้ง  ผู้ที่เป็นเจ้าของความผิดพลาดสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีความหนักแน่นมั่นคง

ห้า..การสร้างทีละอย่างไปอย่างช้าๆ  ยิ่งทำให้ห่างไกลในการที่จะคิดว่าสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน

 

3. อัล-กอฏี อบุสสะอูด กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรของเขาถึงอายะฮฺในซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ (3/232)  ว่า  “...ในการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ โดยทะยอยทีละอย่างทั้งที่พระองค์มีความสามารถที่จะทำให้มันเกิดขึ้นมาทีเดียวเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงว่าพระองค์เลือกได้ (โดยไม่มีใครบังคับ)  และเป็นบทเรียนสำหรับผู้ที่พิจารณาใคร่ครวญ  และเป็นการส่งเสริมให้มีความสุขุมเยือกเย็นในกิจการงานทั้งหลาย(ของมนุษย์)"

และเขายังกล่าวในหนังสือตัฟซีรอายะฮฺที่ 59 ของซูเราะฮฺอัลฟุรกอน  (6/226)  ว่า “...แท้จริงการสร้างวัตถุที่ยิ่งใหญ่ด้วยกับวิธีการที่สูงส่งและการจัดการที่ดีเลิศ  โดยมีการบริหารอย่างรัดกุมและจัดเรียงลำดับอย่างมั่นคงในช่วงระยะเวลาที่จำกัด  ทั้งที่พระองค์มีความสามารถอย่างเต็มเปี่ยมที่จะให้มันเกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียวเพื่อเป็นเหตุผลที่สูงส่งและมีเป้าหมายที่งดงาม  โดยที่สติปัญญาไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดได้..."

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แท้จริงอัลลอฮฺได้อธิบายถึงความสามารถอันสูงส่งและพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์เป็นความสามารถที่ไร้ขีดจำกัด  และความประสงค์จะจบสิ้นที่พระองค์  พระองค์มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จกับทุกสรรพสิ่งที่ได้สรรค์สร้างขึ้นมาล้วนมีเหตุผลที่ล้ำลึกไม่มีผู้ใดที่รู้ถึงมันยกเว้นพระองค์อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว  ในขณะเดียวกัน ก็ได้ประจักษ์แท่ท่านแล้วจากการอธิบายของผู้รู้บางท่านถึงบางเหตุผลและความเร้นลับในการที่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นระยะเวลาหกวัน  ทั้งที่พระองค์เป็นผู้มีความสามารถที่จะสร้างมันขึ้นมาได้โดยการที่พระองค์ตรัสเพียงคำเดียวว่า “จงเป็น”

ขออัลลอฮฺประทานพรและสันติสุขแด่ท่านนบี มุหัมมัด วงศ์วานและบรรดาสหายของท่าน

 

 

ที่มา : islamqa.info ฟัตวาหมายเลข 20613               

موضوعات متعلقة ( 3 )
Go to the Top