بدعة التشاؤم من الزواج في شهر شوال

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: بدعة التشاؤم من الزواج في شهر شوال
اللغة: تايلندي
مراجعة: صافي عثمان
نبذة مختصرة: هل ما يقوله الناس في ترك الزواج في شهر شوال صحيح ؟. سؤال أجاب عليه موقع الإسلام سؤال وجواب بإشراف فضيلة الشيخ محمد بن صالح المنجد
تأريخ الإضافة: 2008-10-03
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/178418
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
ความเชื่อที่ว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น ถือเป็นบิดอะฮฺ
383 KB
فتح: ความเชื่อที่ว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น ถือเป็นบิดอะฮฺ.doc
2.
ความเชื่อที่ว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น ถือเป็นบิดอะฮฺ
133.8 KB
فتح: ความเชื่อที่ว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น ถือเป็นบิดอะฮฺ.pdf
نبذة موسعة

ถาม - การที่คนทั่วไปเชื่อว่าไม่ควรแต่งงานในเดือนเชาวาลนั้นถูกต้องหรือไม่?

 

ตอบ - อิบนุ มันซูร กล่าวว่า เชาวาล เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นชื่อเดือนหนึ่ง เป็นเดือนที่ถัดจากเดือนรอมฎอน และเป็นเดือนแรกของการเริ่มตั้งเจตนาเพื่อประกอบพิธีหัจญ์

 

อาหรับในสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อว่า การแต่งงานในเดือนเชาวาลถือเป็นเรื่องไม่ดี และยังเชื่อว่า หญิงที่แต่งงานในเดือนนี้ จะมีปัญหากับเจ้าบ่าวของเธอ

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงทำให้ความเชื่อดังกล่าวเป็นโมฆะ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า

تزوجني رسول الله صلى الله عليه وسلم في شوال ، وبنى بي في شوال ، فأي نساءه كان أحظى عنده مني ؟

ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่งงานกับฉันในเดือนเชาวาล และเริ่มอยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยาในเดือนเชาวาล จะมีภรรยาของท่านคนไหนที่จะพิเศษสำหรับท่านมากไปกว่าฉัน (บันทึกโดยอะหมัด 6/54 มุสลิม 1423 และติรมิซีย์ 1099)

 

ส่วนสาเหตุที่ชาวอาหรับในสมัยญาฮิลิยะฮฺถือว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น ก็เพราะพวกเขามีความเชื่อว่าผู้หญิงที่แต่งงานในเดือนนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างนางกับเจ้าบ่าวของนางจะมีปัญหา

 

ท่านอิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า การที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เริ่มมีสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยากับท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ในเดือนเชาวาลนั้น เป็นการปฏิเสธความเชื่อที่ว่าการเริ่มมีสัมพันธ์ในช่วงระหว่างอีดทั้งสองนั้น จะทำให้สามีภรรยาต้องหย่าร้างกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด (อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ 3/253)

 

ความเชื่อที่ว่าการแต่งงานในเดือนเชาวาลเป็นเรื่องไม่ดีนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง ถือเป็นการเชื่อในโชคลางซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้าม ท่านกล่าวว่า

لا عدوى ولا طيرة

ไม่มีโรคติดต่อ ไม่มีการเชื่อในโชคลาง (ชัรหุมุสลิม ลินนะวะวีย์ 14/218, 219)

 

และท่านกล่าวว่า

الطيرة شركُ

การเชื่อในโชคลางนั้นเป็นชิริก (บันทึกโดย อะหฺมัด 440/1 อบูดาวุด 4/230 และติรมิซีย์ 3/84)

 

อิหม่ามนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวอธิบายหะดีษที่รายงานโดยอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า หะดีษดังกล่าวส่งเสริมให้ทำการแต่งงาน และเริ่มความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในเดือนเชาวาล ซึ่งอุละมาอ์เรา (มัซฮับชาฟิอีย์) ได้ระบุไว้ว่ามันเป็นที่ส่งเสริมให้กระทำ โดยพวกท่านเหล่านี้ยึดหะดีษบทนี้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ กล่าวเช่นนั้นออกมาโดยมีเจตนาที่จะปฏิเสธความเชื่อที่เคยมีในสมัยญาฮิลิยะฮฺ และความเชื่อที่ว่าการแต่งงานและเริ่มสัมพันธ์ในเดือนเชาวาลนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่มีที่มาที่ไป แต่เป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากสมัยญาฮิลิยะฮฺ ซึ่งในสมัยนั้นผู้คนจะมีความเชื่อว่าไม่ควรแต่งงานในเดือนเชาวาล เพราะจะทำให้เกิดการหย่าร้าง (ชัรหฺมุสลิม 9/209)

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : หนังสือ อัลบิดะอุล เฮาลิยะฮฺ โดยเชค อับดุลลอฮฺ บิน อับดิลอะซีซ บิน อะหฺมัด อัตตุวัยญิรีย์ หน้า 348-349

 

ที่มา : islamqa.info หมายเลขฟัตวา 12364

 

Go to the Top