هل للربح نسبة محددة في التجارة ؟

فتاوى البطاقة التعريفية
العنوان: هل للربح نسبة محددة في التجارة ؟
اللغة: تايلندي
نبذة مختصرة: هل توجد نسبة محدودة من الربح في التجارة , أم أن الربح غير محدود ؟ نريد الجواب على هذا مع الدليل , ولا تنسوا كثرة الضرائب التي يؤيدها التاجر كل سنة.
تأريخ الإضافة: 2008-08-14
الرابط المختصر: http://IslamHouse.com/172735
:: هذا العنوان مصنف موضوعياً ضمن التصانيف الآتية ::
- هذه البطاقة مترجمة باللغات التالية: تايلندي
المرفقات ( 2 )
1.
อนุญาตให้เอากำไรจากการค้าขาย ได้แค่ไหน?
376 KB
فتح: อนุญาตให้เอากำไรจากการค้าขาย ได้แค่ไหน?.doc
2.
อนุญาตให้เอากำไรจากการค้าขาย ได้แค่ไหน?
116.6 KB
فتح: อนุญาตให้เอากำไรจากการค้าขาย ได้แค่ไหน?.pdf
نبذة موسعة

ถาม : อยากทราบว่า มีการกำหนดขอบเขตไว้หรือไม่ ว่าสามารถเอากำไรจากการค้าขายได้มากน้อยเพียงใด?

ตอบ : อนุญาตให้ผู้ที่ซื้อสินค้ามาเพื่อการพาณิชย์ หรือเพื่อครอบครอง ทำการขายสินค้านั้นในราคาที่แพงกว่าที่ซื้อมา และเราไม่ทราบว่ามีเพดานจำกัดกำไรแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้น การขายในราคาที่พอประมาณ ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ดังที่ปรากฎหลักฐานส่งเสริมในเรื่องดังกล่าว

แต่ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าตามท้องตลาดโดยทั่วไปจะขายกันในราคาหนึ่ง ก็ไม่สมควรที่มุสลิมจะขายสินค้านั้นแก่ผู้ที่ไม่ทราบราคาสินค้าตามท้องตลาดในราคาที่แพงกว่าปกติ นอกเสียจากเขาจะบอกความจริงแก่ผู้ซื้อ (ว่าราคาที่เขาขายนั้นแพงกว่าราคาโดยทั่วไป) เพราะการขายแพงกว่าราคาปกติในกรณีเช่นนี้ ถือเป็นการหลอกลวงชนิดหนึ่ง ซึ่งมุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกัน จะต้องไม่อยุติธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อน ไม่คดโคง และไม่ทรยศต่อกัน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ศาสนาคือการตักเตือน" หะดีษบันทึกโดยมุสลิม และจากญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ กล่าวว่า "ฉันได้ให้สัตยาบันต่อท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต และการตักเตือนพี่น้องมุสลิมทุกคน"

(
ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา 13/89)

และในอีกฟัตวาหนึ่ง :

"
กำไรในการค้าขายนั้นไม่มีขอบเขตจำกัดไว้แต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับระดับอุปสงค์อุปทานในตลาด แต่ก็เป็นการสมควรที่มุสลิมจะเป็นผู้ที่ไม่เรื่องมากในการซื้อขาย และไม่ฉกฉวยโอกาส คดโกงหลอกลวง ในการซื้อขาย และต้องพึงรักษาไว้ซึ่งความเป็นพี่น้องระหว่างมุสลิม"

(
ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา 13/91)

 

islamqa.info/ar/ref/38697

 

موضوعات متعلقة ( 1 )
Go to the Top