Değerli Alim Bekr Ebu Zeyd’in Vefatı

Site Haberleri Materyal hakkında bilgi
Adres: Değerli Alim Bekr Ebu Zeyd’in Vefatı
Dil: Taylandça
Çeviren: Asran Nee Yom Dişa
Gözden geçiren: Sâfî Osman
Yayınlayan: Rabva İslâmî Dâvet Bürosu - Riyad/S. Arabistan - www.iqraForum.com web sitesi
Kısa Tanım: Değerli alim Bekr Ebu Zeyd’in vefatı,onun hayat hikayesi, ilmi hayatı ve davete yönelik hayatını anlatmaktadır.
Eklenme tarihi: 2008-07-20
Kısa link: http://IslamHouse.com/166613
Bu başlık, aşağıdaki konulara göre sınıflandırılmıştır:
Materyalin İlişikleri ( 1 )
1.
ข้อมูลเพิ่มเติมภาษาอาหรับ
Ayrıntılı bilgi

วงศ์ตระกูลของท่าน

ท่านคือ บักร์ บิน อับดิลลาฮฺ อบูซัยด์ บิน มุหัมมัด บิน อับดิลลาฮฺ บิน  บักร์ บิน อุษมาน บิน ยะหฺยา บิน ฆ็อยฮับ บิน มุหัมมัด ท่านสืบเชื้อสายมาจาก เผ่าบนีซัยด์ อัลเกาะฎออิยะฮฺ อันเลื่องชื่อ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือของ "นัจด์"

ท่านเกิดปี ฮ.ศ.1365


ชีวิตการศึกษา

ท่านเริ่มต้นศึกษาความรู้ในหมู่บ้านของท่าน จนถึงปี ฮ.ศ.1375 ท่านก็ย้ายไปเรียนชั้นประถมที่กรุงริยาฎ ต่อด้วยมัธยมที่อัลมะอฺฮัด อัลอิลมีย์ และจบปริญญาตรีจากคณะชะรีอะฮฺ - ริยาฎ โดยท่านได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของรุ่น

ในปี ฮ.ศ.1384 ท่านย้ายไปอยู่มะดีนะฮฺ โดยทำหน้าที่บรรณารักษ์ประจำมหาวิทยาลัยอิสลาม

ระหว่างที่ท่านศึกษาในระบบ ท่านก็ได้ศึกษาหาความรู้จากบรรดาอุละมาอ์ไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ริยาฎ มักกะฮฺ หรือมะดีนะฮฺ

ที่ริยาฎ :

- ท่านศึกษา "วิชาดาราศาสตร์" , "มะกอมาต หะรีรีย์" และ "ซาดุล มุสตักนิอฺ" จากผู้พิพากษาเชคศอลิหฺ บิน มุฏลัก


ที่มักกะฮฺ :

- ท่านเรียนบางส่วนจากหนังสือ "อัลมุนตะกอ" จากท่านเชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ

- ท่านได้รับอิญาซะฮฺ (ใบอนุญาตให้รายงาน) ตำราหะดีษทั้งหมด จากเชคสุลัยมาน บิน อับดิรฺเราะหฺมาน บิน หัมดาน อาจารย์ประจำมัสยิดหะรอม


ที่มะดีนะฮฺ :

- ท่านศึกษาตำรา "ฟัตหุลบารีย์", "บุลูฆุลมะรอม" และตำราฟิกฮฺ, เตาหีด และหะดีษ อีกหลายเล่ม จากเชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ ที่บ้านของเชคร่วม 2 ปี

- ท่านติดตาม และศึกษาจากเชคมุหัมมัด อัลอะมีน อัชชันกีฏีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ร่วม 10 ปี จนกระทั่งเชคเสียชีวิตลงในปี ฮ.ศ.1393
โดยท่านได้ศึกษา "ตัฟสีรฺอัฎวาอุลบะยาน", "อาดาบุลบัหษ์ วัลมุนาเซาะเราะฮฺ", และ "ศาสตร์เกี่ยวกับนะสับ" (วงศ์ตระกูลเผ่าพันธ์อาหรับ) และตำราอีกหลายเล่ม

และท่านยังได้รับ "อิญาซะฮฺ" หรือใบรับรองจากอุละมาอ์หลายๆท่านที่มักกะฮฺ, มะดีนะฮฺ, ริยาฎ, แถบโมร็อกโค, แถบชาม, อินเดีย, แอฟริกา และจากที่อื่นๆมากมาย

ในปี ฮ.ศ.1399 ท่านเข้าศึกษาใน "อัลมะอฺฮัด อัลอาลีย์ ลิล เกาะฎออ์" จนจบระดับปริญญาโท และในปี ฮ.ศ.1403 ท่านก็จบการศึกษาระดับปริญญาเอก


ชีวิตการทำงาน

- เมื่อท่านจบการศึกษาจากคณะชะรีอะฮฺในปี ฮ.ศ.1387-1388 ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาเมืองมะดีนะฮฺ โดยท่านทำหน้าที่ผู้พิพากษาจนถึงปี ฮ.ศ.1400

- ในปี ฮ.ศ.1390 ท่านได้รับการคัดเลือกให้เป็นอาจารย์สอนในมัสยิดนะบะวีย์ โดยท่านทำการสอนถึงปี ฮ.ศ.1400

- ในปี ฮ.ศ.1391 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอิหม่ามและเคาะฏีบ มัสยิดนะบะวีย์ โดยท่านทำหน้าที่นี้ถึงต้นปี ฮ.ศ.1396

- ตั้งแต่ ฮ.ศ.1400-1412 ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม

- ปี ฮ.ศ.1412 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการฟัตวา และสมาชิกสภาอุละมาอ์อาวุโส (จนกระทั่งท่านเสียชีวิต)

- ปี ฮ.ศ.1405 ท่านได้รับการคัดเลือกให้่เป็นตัวแทนซาอุฯใน  International Islamic Fiqh Academy ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Organisation of The Islamic Conference โดยท่านได้รับเลือกเป็นประธานฯ

- ปี ฮ.ศ.1406 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก The Fiqh Council ซึ่งอยู่ภายใต้ The Muslim World League

- ท่านยังสอนเคยหนังสือที่ อัลมะอฺฮัด อัลอาลีย์ ลิล เกาะฎออ์ และบัณฑิตศึกษา - ริยาฎ

ตำราและผลงานทางวิชาการของท่าน

ท่านเขียนหนังสือและตำราทางวิชาการทรงคุณค่า ในหลายศาสตร์หลากแขนงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ฟิกฮฺ, หะดีษ, ภาษาอาหรับ หรือความรู้ทั่วไป โดยส่วนที่ได้รับการตีพิมพ์มีดังนี้

ตำราฟิกฮฺ :

1- فقه النوازل  เกี่ยวกับประเด็นปัญหาฟิกฮฺร่วมสมัย 3 เล่ม ประกอบไปด้วย 15 ประเด็นปัญหา ดังต่อไปนี้ :
     
     - การร่างกฎหมาย
     - เครื่องช่วยหายใจ และการตาย
     - เด็กหลอดแก้ว
     - การคำนวณทางดาราศาสตร์
     - ตลาดหลักทรัพย์
     - การประกันภัย
     - การผ่าศพ และการปลูกอวัยวะ
     - การใช้ตำแหน่งทางวิชาการตามโลกตะวันตก
     - มาสเตอร์การ์ด
     - และประเด็นปัญหาร่วมสมัยอีกหลายๆประเด็น

2-  التقريب لعلوم ابن القيم      เปรียบเสมือนคู่มือสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาตำราของท่านอิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ

3- الحدود والتعزيرات                 บทลงโทษทางอาญาในอิสลาม

4- الجناية على النفس وما دونها การประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย

5- اختيارات ابن تيمية       ทัศนะที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ฺเลือก เขียนโดย อิบนุลก็อยยิม (ท่านเชคทำการตรวจทาน)

6- حكم الانتماء إلى الفرق والأحزاب والجماعات الإسلامية  หุก่มการเข้าร่วมกับกลุ่มและพรรคอิสลามต่างๆ

7- معجم المناهي اللفظية             ประมวลคำต้องห้ามทางศาสนา

8- لا جديد في أحكام الصلاة           ไม่มีสิ่งใหม่ในบัญญัติการละหมาด

9- تصنيف الناس بين الظن واليقين การหุก่มคน ระหว่างการคาดเดา และความมั่นใจ

10- التعالم                                   เกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ และการอวดรู้

11- حلية طالب العلم                     มาีรยาทของผู้ศึกษาหาความรู้

12- آداب طالب الحديث من الجامع للخطيب มารยาทของผู้ศึกษาหะดีษ คัดจากหนังสือของอัลเคาะฏีบ

13- تسمية المولود                       การตั้งชื่อทารก

14- أدب الهاتف                             มารยาทในการใช้โทรศัพท์

15- الفرق بين حد الثوب والأزرة       เกี่ยวกับหุก่มการสวมผ้า (สูงหรือต่ำกว่าตาตุ่ม หรืออย่างไร?)

16- أذكار طرفي النهار                    บทอัซการเช้า-เย็น

17- المدخل المفصل إلى مذهب الإمام أحمد بن حنبل        ปฐมบทสู่มัซฮับอิหม่ามอะหฺมัด

และเล่มอื่นๆ

ตำราหะดีษ :

التأصيل لأصول التخريج وقواعد الجرح والتعديل

معرفة النسخ والصحف الحديثة

التحديث بما لا يصح فيه حديث

الجد الحثيث في معرفة ما ليس بحديث

مرويات دعاء ختم القرآن الكريم

نصوص الحوالة

زيارة النساء للقبور

مسح الوجه باليدين بعد رفعهما بالدعاء

ضعف حديث العجن

 

ตำราความรู้ทั่วไป :

العزاب من العلماء وغيرهم

التحول المذهبي

التراجم الذاتية

لطائف الكلم في العلم

طبقات النسابين

ابن القيم: حياته، آثاره، موارده

الرد على المخالف

تحريف النصوص

براءة أهل السنة من الوقيعة في علماء الأمة

عقيدة ابن أبي زيد القيرواني وعبث بعض المعاصرين بها

التحذير من مختصرات الصابوني في التفسير

بدع القراء

خصائص جزيرة العرب

السحب الوابلة على ضرائح الحنابلة - تحقيق بالاشتراك

تسهيل السابلة إلى معرفة علماء الحنابلة - تحقيق

علماء الحنابلة من الإمام أحمد إلى وفيات القرن الخامس عشر الهجري

دعاء القنوت

فتح الله الحميد المجيد في شرح كتاب التوحيد - تحقيق

نظرية الخلط بين الإسلام وغيره من الأديان

تقريب آداب البحث والمناظرة

جبل إلال بعرفات

مدينة النبي صلى الله عليه وسلم رأي العين

قبة الصخرة، تحقيقات في تاريخ عمارتها وترميمها

Go to the Top