Peygamber -sallallahu aleyhi ve sellem-’in Hicretinden Çıkarılan Dersler

Makaleler Materyal hakkında bilgi
Adres: Peygamber -sallallahu aleyhi ve sellem-’in Hicretinden Çıkarılan Dersler
Dil: Taylandça
Yazan: Mazlin Muhammed
Gözden geçiren: Sâfî Osman
Kısa Tanım: Bu kitapta, Peygamber -sallallahu aleyhi ve sellem-’in hicretinden çıkarılan dersleri ve bu derslerin İslam Ümmeti üzerindeki etkileri açıklanmıştır
Eklenme tarihi: 2008-07-08
Kısa link: http://IslamHouse.com/161089
Bu başlık, aşağıdaki konulara göre sınıflandırılmıştır:
Bu kart aşağıdaki dillere çevrilmiştir: Taylandça - Arapça - Bengalce - Malayalam - Boşnakça - Özbekçe - İngilizce
Materyalin İlişikleri ( 2 )
1.
ฮิจญ์เราะฮฺกับการรังสรรค์สังคมสันติภาพ
338 KB
: ฮิจญ์เราะฮฺกับการรังสรรค์สังคมสันติภาพ.doc
2.
ฮิจญ์เราะฮฺกับการรังสรรค์สังคมสันติภาพ
381.5 KB
: ฮิจญ์เราะฮฺกับการรังสรรค์สังคมสันติภาพ.pdf
Ayrıntılı bilgi

1. ความนำ

ฮิจญ์เราะฮฺตามความหมายด้านภาษาแล้ว หมายถึง การย้ายถิ่นฐาน การอพยพ ฮิจญ์เราะฮฺอาจสื่อความหมายด้านนามธรรม ซึ่งหมายถึง การไม่ให้ความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การละเลยไม่สนใจใยดี หรือการละทิ้งพฤติกรรมที่ไม่ดีสู่พฤติกรรมที่ดี

ส่วนความหมายตามหลักวิชาการแล้วคือ การอพยพของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  และเหล่าเศาะหาบะฮฺ (บรรดาสาวก) จากนครมักกะฮฺ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดสู่นครมะดีนะฮฺ นครรัฐแห่งแรกในอิสลาม เนื่องจากถูกกดขี่ทรมานและถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมและปฏิบัติตามบัญญัติทางศาสนา  ไม่สามารถปฏิบัติธรรมและแสดงตนตามความเชื่อศรัทธาของตนเอง

ในห้วงประวัติศาสตร์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีเหตุการณ์สำคัญมากมายที่ควรแก่การจดจำ อาทิ ปีกำเนิดและเสียชีวิตของท่าน ปีที่ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสนทูต  ปีแห่งการประทานอัล-กุรอาน ปีแห่งการอิสรออ์และมิอฺรอจ(การเดินทางช่วงกลางคืนของท่านนบีจากเมืองมักกะฮฺสู่มัสยิดอัล-อักศอ ณ เมืองปาเลสไตน์ และจากมัสยิดอัล-อักศอสู่ฟ้าชั้นเจ็ดตลอดจนการรับคำสั่งจากอัลลอฮฺโดยตรงในหลักศาสนบัญญัติที่ว่าด้วยการละหมาด โดยที่ภารกิจดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายในคืนเดียวเท่านั้น) ปีแห่งสงครามบัดรฺ หรือแม้แต่ปีแห่งการเปิดเมืองมักกะฮฺ ซึ่งเป็นวันแห่งการประกาศชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในอิสลาม

เหตุการณ์ดังกล่าว ล้วนเป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีบทบาทและอิทธิพลอันใหญ่หลวงต่อการเผยแผ่อิสลามและวิถีชีวิตมุสลิมในทุกยุคทุกสมัย

แต่มุสลิมสมัยการปกครองของท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินค็อฏฏอบ ได้พร้อมใจกันเลือกเหตุการณ์ฮิจญ์เราะฮฺเป็นจุดเริ่มต้นของการนับปฏิทินอิสลาม เพื่อให้มุสลิมได้รำลึกถึงเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ในทุกอณูการดำเนินชีวิตของมุสลิม

ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อเป็นบทเรียน ผู้ใดที่ศึกษาประวัติศาสตร์และเก็บรักษาเพียงแต่ในพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ โดยที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้เป็นบทเรียนแล้ว แท้จริงการศึกษาของเขาก็เปล่าประโยชน์ และไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นผู้ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

2. ย้อนรอยฮิจญ์เราะฮฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

2.1 สาเหตุของฮิจญ์เราะฮฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

การที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตัดสินใจออกคำสั่งให้บรรดาเศาะฮาบะฮฺอพยพสู่นครมะดีนะฮฺนั้น มีสาเหตุหลักสามประการ คือ

หนึ่ง การที่มุสลิมไม่ได้รับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา พวกเขาถูกกดขี่ข่มเหงจากชาวมักกะฮฺอย่างไร้มนุษยธรรม ถือเป็นยุคที่ชาวมุสลิมได้รับความเดือดร้อนและประสบความยากลำบากมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังการเสียชีวิตของอบู ฏอลิบ(อาของท่านนบีฯ)และนางเคาะดีญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา (ภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ซึ่งสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองท่านปรียบเสมือนเสาหลักที่คอยปกป้องและคุ้มครองท่านนบีฯอยู่ตลอดเวลา แต่มุสลิมก็เผชิญหน้าอุปสรรคต่างๆนานาด้วยความอดทน เสียสละ และยังให้บทเรียนอันล้ำค่าว่าภัยคุกคามภายนอกที่เป็นการทรมานทางร่างกายและจิตใจที่สร้างความสูญเสียทางชีวิตและทรัพย์สินไม่สามารถสั่นคลอนความศรัทธาอันมั่นคงและความตั้งใจอันแน่วแน่แม้แต่น้อย

เกี่ยวกับบทบาทของอบู ฏอลิบต่อการปกป้องการเผยแผ่อิสลามแล้ว  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ชาวกุเรชไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ฉันได้เลย เว้นแต่หลังจากการเสียชีวิตของอบู ฎอลิบ

สำหรับนางเคาะดีญะฮฺแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยกล่าวพูดถึงนางว่า นางได้ศรัทธาในคำสอนของฉันในขณะที่คนอื่นพากันปฏิเสธ นางได้เชื่อคำบอกกล่าวของฉันในขณะที่คนอื่นหันหลังอย่างไม่ใยดี นางได้ช่วยเหลือฉันด้วยทรัพย์สมบัติของนางในขณะที่คนอื่นไม่ให้การสนับสนุนเลย และนางได้กำเนิดลูกให้แก่ฉันในขณะที่ภรรยาคนอื่นไม่ให้กำเนิดลูกแก่ฉันเลย

นักประวัติศาสตร์ได้เรียกปีที่ทั้งสองท่านเสียชีวิต(ปีที่สิบหลังจากการประกาศเป็นศาสนทูต)เป็นปีแห่งความเศร้าโศก

            สอง ผลพวงแห่งการทำสัตยาบัน อัล-อะเกาะบะฮฺ ครั้งแรกและครั้งที่สองระหว่างท่านนบีฯและชาวยัษริบ(ชื่อเดิมของนครมะดีนะฮฺ)อันประกอบด้วยผู้แทนเผ่าเอาวซ์และค็อซร็อจญ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาในการให้คำสัตยาบันอัล-อะเกาะบะฮฺครั้งที่สอง ที่ทั้งสองเผ่าได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะคุ้มครองและปกป้องนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เสมือนที่พวกเขาคุ้มครองและปกป้องภรรยาและลูกหลานของตนเอง

                หลังจากการให้คำสัตยาบันดังกล่าว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เริ่มเห็นประกายอนาคตอันสดใสของสาส์นอิสลามที่นครมะดีนะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีของประชาคมมะดีนะฮฺที่ตอบรับรุ่งอรุณแห่งอิสลามด้วยความบริสุทธิ์ใจและศรัทธามั่นจนกระทั่งไม่มีบ้านหลังใด ณ นครมะดีนะฮฺ เว้นแต่ได้ตอบรับทางนำแห่งอิสลาม เพื่อเป็นการตอกย้ำว่ามะดีนะฮฺ คือ แผ่นดินที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพาะพันธุ์สัจธรรมอิสลาม

            สาม แผนการณ์อันชั่วร้ายของชาวกุเรชที่ได้ออกมติกำจัดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม โดยวิธีซุ่มแล้วฆ่าด้วยการคัดเลือกเยาวชนซึ่งเป็นผู้แทนเผ่าต่างๆ โดยที่แต่ละคนถือดาบคนละด้าม และร่วมปฏิบัติการฆาตกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้เพื่อบีบบังคับให้เผ่า บนี อับดุมะนาฟ (เผ่าของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ยินยอมรับค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากไม่มีศักยภาพพอที่จะล้างแค้นและทำสงครามกับเผ่าต่างๆ ในนครมักกะฮฺ

                อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้เปิดโปงกลอุบายดังกล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และอนุญาตให้ท่านฮิจญ์เราะฮฺสู่นครมะดีนะฮฺ โดยที่อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ว่า

«وَإِذْ يَمْكُرُ بِكَ الَّذِينَ كَفَرُوا لِيُثْبِتُوكَ أَوْ يَقْتُلُوكَ أَوْ يُخْرِجُوكَ وَيَمْكُرُونَ وَيَمْكُرُ اللَّهُ وَاللَّهُ خَيْرُ الْمَاكِرِينَ» (سورة الأنفال: 30)

ความว่า : และเจ้าจงรำลึกขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาวางอุบายต่อเจ้า เพื่อกักขังเจ้า หรือฆ่าเจ้า หรือขับไล่เจ้าออกไป(จากนครมักกะฮฺ)และพวกเขาวางอุบายกัน และอัลลอฮฺก็ทรงวางอุบาย และอัลลอฮฺนั้นทรงเป็นผู้เยี่ยมกว่าในหมู่ผู้วางอุบาย (อัล-อันฟาล : 30 )

               2.2  การเริ่มต้นฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

                หลังจากบรรดามุสลิมีนได้ทยอยอพยพสู่นครมะดีนะฮฺ และไม่มีผู้ใดหลงเหลืออยู่ในนครมักกะฮฺเว้นแต่ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวจับขังและกลุ่มผู้ไม่มั่นใจในความปลอดภัย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงได้เตรียมการอพยพพร้อมกับรอรับคำสั่งจากอัลลอฮฺในการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมกับฮิจญ์เราะฮฺ  ท่านได้วานให้  อบู บักรฺและอะลี บิน อบู ฏอลิบ ชะลอการฮิจญ์เราะฮฺ ทุกครั้งที่อบู บักรฺขออนุญาตเพื่อฮิจญ์เราะฮฺ  ท่านมักตอบว่า อย่าเพิ่งรีบร้อน บางทีอัลลอฮฺได้กำหนดสหายเดินทางสำหรับท่านก็เป็นได้อบู บักรฺ จึงได้หวังลึกๆ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อาจเลือกท่านเป็นสหายการเดินทางในครั้งนี้ และได้แอบซื้ออูฐ 2 ตัว เพื่อเตรียมตัวใช้เป็นพาหนะการเดินทาง

                ส่วนอะลี บิน อบู ฏอลิบ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ชะลอการฮิจญ์เราะฮฺของท่านเพื่อมอบภารกิจอันยิ่งใหญ่ในวินาทีที่คับขันและเต็มไปด้วยภยันตราย

                วิกฤตการณ์มักสร้างวีรบุรุษ และวีรบุรุษมักฟันฝ่าสภาพวิกฤตในฐานะผู้ประสบผลสำเร็จอยู่เสมอ

                 อบู บักรฺและอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จึงเป็นวีรบุรุษต่างวัยและต่างวุฒิภาวะที่ได้รับมอบหมายจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ให้ปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่เพื่อการเล่าขานในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม

                 อุมมุลมุมินีน อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฮิจญ์เราะฮฺว่าโดยปกติแล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มักไปเยี่ยมบ้านของอบูบักรในช่วงเช้าตรู่หรือช่วงพลบค่ำจนกระทั่งเมื่อวันที่อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้ท่านฮิจญ์เราะฮฺ ท่านมาพบพวกเราท่ามกลางเวลาอันร้อนระอุ(ช่วงเวลาหลังเที่ยงวันถึงตอนเย็น) ซึ่งไม่มีผู้ใดออกจากบ้านในช่วงเวลาดังกล่าวเลย เมื่อเห็นนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เข้ามาในบ้านของเราแล้ว อบู บักรฺ จึงกล่าวว่า ท่านรสูลุลลอฮฺจะไม่มาพบพวกเราในเวลาเช่นนี้เว้นแต่มีเรื่องสำคัญแน่นอนนางอาอิชะฮฺเล่าว่า หลังจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เข้าบ้านแล้ว อบู บักรฺจึงรีบลุกจากที่นั่งของท่านเพื่อให้ท่านนบีนั่งแทน และไม่มีผู้คนในบ้านของอบู บักรฺเว้นแต่ฉันและพี่สาวฉันที่ชื่ออัสมาอ์เท่านั้น ท่านนบีสั่งให้อบู บักรฺเชิญผู้คนในบ้านออกจากบ้านหมด อบู บักรฺจึงกล่าวว่า โอ้รสูลุลลอฮฺ แท้จริงทั้งสองคนคือบุตรสาวของฉันเอง ท่านมีเรื่องสำคัญประการใดหรือ?” ท่านตอบว่า  ‘อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้ฉันออกจากมักกะฮฺและฮิจญ์เราะฮฺสู่นครมะดีนะฮฺแล้วอบู บักรฺ จึงรีบถามว่า แล้วใครเป็นสหายการเดินทางท่านตอบว่า ท่านคือสหายการเดินทางอาอิชะฮฺเล่าต่อว่า  ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ ฉันไม่เคยเห็นบุคคลที่ร้องไห้เนื่องจากความดีใจเสมือนกับที่ฉันเห็นอบู บักรฺร้องไห้ในวันนั้น

                 อบู บักรฺได้ซื้ออูฐสองตัวเพื่อเป็นพาหนะการเดินทาง และได้ว่าจ้างผู้นำทางที่มีความเชี่ยวชาญเส้นทางในทะเลทรายชื่อ อับดุลลอฮฺ บิน อุร็อยก็อฏ ซึ่งยังไม่ได้เป็นมุสลิม อับดุลลอฮฺได้รับมอบอูฐทั้งสองตัวเพื่อให้การดูแลก่อนที่จะไปรับทั้งสองท่านในช่วงเวลาและสถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้

                ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตกลงกับอบู บักรฺเกี่ยวกับแผนการเดินทาง ทั้งสองได้ตกลงใช้ถ้ำษูรฺเป็นที่หลบซ่อนชั่วคราวโดยที่ถ้ำษูรฺตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมักกะฮฺในขณะที่มะดีนะฮฺซึ่งเป็นเป้าหมายของการเดินทางตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ทั้งนี้เพื่อเป็นกลอุบายที่จะอำพรางการไล่ล่าติดตามของชาวกุเรช ทั้งสองได้คัดเลือกบุคคลที่คอยสอดแนมข่าวคราวความเคลื่อนไหวของชาวกุเรช ตลอดจนมอบหมายภารกิจต่างๆที่พึงปฏิบัติช่วงที่ทั้งสองหลบซ่อนในถ้ำ

                ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กลับบ้านอีกครั้งและมอบหมายให้อะลี บิน อบู ฏอลิบส่งคืนของมีค่าต่างๆ ที่ชาวมักกะฮฺฝากไว้กับท่าน ทั้งนี้ชาวมักกะฮฺมักนำของมีค่าต่างๆ มาฝากไว้ที่บ้านของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เนื่องจากไว้วางใจในความซื่อสัตย์ของท่าน

                บรรดาวัยรุ่นกุเรชที่ได้รับมอบหมายให้ฆาตรกรรมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ล้อมบ้านท่านช่วงเวลากลางคืน ท่านจึงมอบหมายให้อะลีนอนบนที่นอนของท่านพร้อมใช้ผ้าห่มคลุมตัวอะลี ทำให้บรรดาวัยรุ่นกุเรชมั่นใจว่าท่านนบีกำลังนอนอยู่ พวกเขาเผลอหลับไปจนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น

                ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สามารถออกจากบ้านด้วยความปลอดภัย และได้พบกับอบู บักรฺ ณ สถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ ทั้งสองเดินทางหลังเที่ยงคืนสู่เป้าหมายชั่วคราวคือ ถ้ำษูรฺ

2.3  ในถ้ำษูรฺ

                ทั้งสองท่านหลบซ่อนในถ้ำษูรฺเป็นเวลาสามวัน โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอับดุลลอฮฺและอัสมาอฺ(ลูกชายและลูกสาวของอบู บักรฺ)ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนส่งเสบียงอาหารและคอยสอดแนมข่าวคราวความเคลื่อนไหวของชาวกุเรช ในขณะที่ อามิรฺ บิน ฟุฮัยเราะฮฺ ซึ่งเป็นบ่าวรับใช้ของอบู บักรฺ รับหน้าที่เลี้ยงแกะและคอยส่งนมแกะแก่คนทั้งสอง ในขณะเดียวกัน อามิรฺ คอยกลบรอยเท้าของอับดุลลอฮฺและอัสมาอ์ด้วยรอยเท้าของฝูงแกะยามที่ทั้งสองพาเสบียงให้แก่ท่านนบีและอบู บักรฺ

                ข้างฝ่ายชาวกุเรช เมื่อแผนการณ์ไม่ประสบผลสำเร็จ ก็สร้างความโกรธแค้นแก่พวกเขายิ่งนัก เมืองมักกะฮฺจึงเกิดความโกลาหลวุ่นวาย พวกเขาจึงได้กรูเข้าไปจับท่านอะลีและลากตัวท่านไปยังกะบะฮฺเพื่อบังคับให้เปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้น แต่อะลีก็ไม่ปริปากแม้แต่คำเดียว พวกเขาจึงมุ่งหน้าไปยังบ้านอบู บักรฺ และบังคับขู่เข็ญอัสมาอ์ บุตรสาวของอบู บักรฺ ให้บอกสถานที่หลบซ่อนของทั้งสองท่าน แต่อัสมาอ์ก็ไม่ยอมปริปากเช่นเดียวกัน นางจึงถูกตบหน้าโดย อบู ญะฮัล (แกนนำชาวกุเรช) จนกระทั่งตุ้มหูของนางหลุดกระเด็น

                ชาวกุเรชจึงรีบประชุมด่วนเพื่อหามาตรการจับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และอบู บักรฺ พวกเขารีบกระจายกำลังปิดล้อมเมืองมักกะฮฺและประกาศตั้งรางวัลอูฐจำนวน 100 ตัวสำหรับผู้ที่สามารถจับทั้งสองท่านไม่ว่าจับเป็นหรือจับตาย

                การไล่ล่าจึงเริ่มขึ้นแทบพลิกแผ่นดินมักกะฮฺ แต่ก็ไร้เงาของทั้งสองท่าน ทีมไล่ล่าได้เข้าประชิดถ้ำษูรฺ จนกระทั่งอบู บักรฺมองเห็นเท้าของพวกเขา แต่ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ พวกเขาก็ต้องกลับด้วยมือเปล่า ทั้งๆที่เป้าหมายสำคัญอยู่ใกล้แค่เอื้อม

2.4  บนเส้นทางสู่มะดีนะฮฺ

                หลังจากเวลาผ่านไปสามวัน ชาวกุเรชเริ่มหมดหวังที่จะจับตัวท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และอบู บักรฺ  การไล่ล่าก็เริ่มผ่อนคลาย  อับดุลลอฮฺ บิน อุร็อยก็อฏ ผู้รับหน้าที่เป็นผู้นำทางจึงไปหาทั้งสองท่าน ณ จุดนัดพบพร้อมอูฐทั้งสองตัวที่เขารับเลี้ยงดูก่อนหน้านี้ ก่อนเดินทาง อัสมาอ์ได้เข้ามาหาพร้อมเสบียงอาหาร แต่นางลืมเชือกสำหรับผูกเสบียงอาหาร นางจึงฉีกผ้าคาดเอวเพื่อเป็นเชือกผูกเสบียงอาหารติดกับอูฐ นางจึงได้รับสมญานามตั้งแต่บัดนั้นว่า  ผู้ครอบครองผ้าคาดเอวสองเส้น

                ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และอบู บักรฺเริ่มออกเดินทางโดยมีอามิรฺ บิน ฟุฮัยเราะฮฺเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยให้บริการ ในขณะที่อับดุลลอฮฺ บิน อุร็อยก็อฏมีหน้าที่เป็นผู้นำทาง

                พวกเขาใช้เส้นทางที่ผู้คนไม่ค่อยเดินผ่าน ตลอดระยะเวลาการเดินทางก็ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางอยู่ตลอดเวลา เริ่มต้นด้วยการมุ่งสู่ทางทิศใต้ บางครั้งก็ใช้เส้นทางทิศตะวันตก และเมื่อถึงเส้นทางที่ผู้คนไม่ค่อยเดินผ่าน ก็เริ่มมุ่งหน้าสู่ทิศเหนือตามแนวทะเลแดงสู่เป้าหมายปลายทางคือ  มะดีนะฮฺ

                หลังจากใช้ระยะเวลาแปดวันนับตั้งแต่ออกจากถ้ำษูรฺ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ถึงเมืองกุบาอ์(ห่างจากใจกลางเมืองมะดีนะฮฺประมาณสามไมล์)และพำนักอยู่ที่กุบาอ์เป็นเวลาสี่วัน ช่วงเวลาดังกล่าวท่านได้สร้างมัสยิดกุบาอ์ที่ถือเป็นมัสยิดแห่งแรกในอิสลามและเป็นมัสยิดที่มีศิลารากฐานแห่งการตักวา (ความยำเกรงต่อ อัลลอฮฺ)

ณ กุบาอ์ ท่านนบีได้พบกับอะลี บิน อบู ฏอลิบที่ได้อพยพตามหลังท่าน หลังจากที่ได้นำคืนสิ่งของมีค่าแก่เจ้าของตามคำสั่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

หลังจากนั้นท่านก็เริ่มเดินทางสู่มะดีนะฮฺ ระหว่างทาง ท่านได้มีโอกาสละหมาดวันศุกร์ครั้งแรก ณ หมู่บ้าน บะนี สาลิม บิน เอาว์ฟฺ หลังจากเสร็จสิ้นละหมาดวันศุกร์ ท่านเดินทางเข้าสู่มะดีนะฮฺท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่น

ระยะเวลาการเดินทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่เริ่มต้นออกจากบ้านที่นครมักกะฮฺสู่นครมะดีนะฮฺใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน  นับเป็นการเดินทางที่นอกจากเป็นจุดพลิกผันของประวัติศาสตร์อิสลามแล้ว ยังเป็นการเดินทางที่เปี่ยมด้วยคุณค่า บะเราะกะฮฺ และการคุ้มครองแห่งอัลลอฮฺ ของมนุษย์ผู้หนึ่งที่ได้รับเกียรติจากอัลลอฮฺให้เป็นนบีคนสุดท้ายเพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับมนุษยชาติในทุกยุคทุกสมัย

3. ข้อคิดและบทเรียน

                จากการศึกษาฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เราสามารถนำเป็นบทเรียนโดยสรุปดังนี้

                3.1 การฆาตรกรรม มักเป็นมาตรการสุดท้ายของผู้อธรรมที่ปฏิบัติต่อผู้ประกาศสัจธรรม หลังจากมาตรการอื่นๆ ไม่เป็นผลและไม่สามารถยับยั้งการเรียกร้องสู่สัจธรรม เป็นต้นว่า การดูถูกเหยียดหยาม การใส่ร้ายป้ายสี การบังคับขู่เข็ญ การหลอกล่อด้วยผลประโยชน์และสัญญาอันจอมปลอมนานาชนิด ไม่สามารถเป็นหลุมพรางได้  การอุ้มแล้วฆ่า หรือ ซุ่มแล้วฆ่า ล้วนเป็นวิธีการที่ฝ่ายอธรรมยึดเป็นคำตอบสุดท้ายอยู่เสมอ ซึ่งประวัตินบียุคก่อนๆก็ไม่พ้นสัจธรรมข้อนี้ แต่อัลลอฮฺทรงกำหนดทุกอย่างตามความประสงค์ของพระองค์

                3.2 การที่ชาวมักกะฮฺได้มอบความไว้วางใจแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยการฝากของมีค่าให้ท่านดูแลรักษานั้น เป็นสิ่งยืนยันว่า แท้จริงแล้วสังคมโดยรวม ต่างก็เลื่อมใสศรัทธาท่านเป็นการส่วนตัว สังคมมักกะฮฺได้ตั้งฉายาท่านว่า อัล-อะมีน (หมายถึงบุรุษผู้ซื่อสัตย์) เพราะคุณสมบติสำคัญสำหรับผู้ประกาศสัจธรรม คือ การเป็นคนที่มีใจซื่อมือสะอาดไม่มีประวัติที่ด่างพร้อย เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม เป็นที่รักและไว้วางใจของผู้คน คุณสมบัติเช่นนี้เป็นที่ระแวงของผู้อธรรมยิ่งนัก เพราะความหวาดกลัวของผู้อธรรม คือ การเปิดโปงความจริงและการแพร่ขยายสัจธรรม

คุณสมบัติและพฤติกรรมดังกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม น่าจะเป็นบทเรียนอันล้ำค่าสำหรับมุสลิมในการใช้ชีวิตร่วมกันท่ามกลางสังคมอันหลากหลายที่สามารถแสดงถึงความดีงามและความบริสุทธิ์ที่แท้จริงของอิสลาม

            เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ในบางครั้ง ความสวยงามของศาสนาอิสลามต้องมัวหมองและด่างพร้อยเพราะพฤติกรรมส่วนหนึ่งของมุสลิมด้วยกันเอง

                3.3  เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงการฮิจญ์เราะฮฺนับเป็นสภาวะคับขันที่สุดในชีวิตท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺโดยไม่จำเป็นต้องระเหเร่ร่อนตามเทือกเขาและทะเลทรายนานกว่าสองอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านมีพรที่สามารถขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺได้ตามที่ปรารถนา แต่ท่านเลือกใช้วิธีปุถุชนธรรมดาที่ต้องเสี่ยงชีวิต และประสบกับความยากลำบาก ท่านยังวางมาตรการและแผนการต่างๆ อย่างรอบคอบและรัดกุมที่สุด เช่น การให้ อะลี นอน ณ ที่นอนของท่าน การเดินทางในเวลาหลังเที่ยงคืน การวางแผนเข้าพำนักที่ถ้ำษูรฺเป็นการชั่วคราว  การมอบให้บุคคลเฉพาะปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ช่วงที่ท่านหลบตัวในถ้ำ การเดินทางสู่นครมะดีนะฮฺตามเส้นทางที่วกไปวกมา เพื่อเป็นบทเรียนให้ทุกคนรู้ว่า เมื่อมนุษย์รู้จักใช้เหตุปัจจัยที่ดี ครบถ้วนและเต็มความสามารถแล้ว เขาย่อมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ

                สังคมมุสลิมจำเป็นต้องแยกแยะให้ชัดเจนระหว่างความปรีชาสามารถของอัลลอฮฺกับความไม่รับผิดชอบในการแสวงหาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จอย่างถึงที่สุด จนกระทั่งในบางครั้งสังคมมุสลิมมักตกในหลุมพรางแห่งความเชื่ออันไร้สาระและงมงาย

                หากย้อนอดีตได้ หลายๆ คน

Go to the Top