The importance of prayer

Articles Subject Information
Title: The importance of prayer
Language: Thai
Reviewing: Safi Othman
Short Discription: Statement of the importance of prayer, with an indication of the seriousness of letting intentionally or laziness.
Addition Date: 2008-04-24
Short Link: http://IslamHouse.com/124882
This address categorized objectively under the following classifications
Translation of Subject Description: Thai - Arabic - Bengali - Malayalam - Bosnian - Uzbek - Turkish
Detailed Description

การละหมาดเป็นรุก่น (หลักการ) ที่สองของรุก่นอิสลาม และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งรองลงมาจากการปฏิญาณตนเป็นมุสลิม เพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาที่มุสลิมทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาและคงไว้ตราบใดที่ชีวิตยังมีอยู่

อัลลอฮฺได้กำชับและฝากฝังบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายให้ช่วยกันรักษาและดำรงการละหมาดห้าเวลาไว้ ดังดำรัสของพระองค์ที่มีว่า

حَافِظُواْ عَلَى الصَّلَوَاتِ والصَّلاَةِ الْوُسْطَى وَقُومُواْ لِلّهِ قَانِتِينَ  (سورة البقرة:238) 

พวกเจ้าจงรักษาการละหมาดทั้งหลายไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง (คือ ละหมาดอัศริ) และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 238)

และสิ่งสุดท้ายที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ฝากไว้กับเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านก่อนที่ท่านจะจากโลกนี้ไปก็คือการละหมาดห้าเวลา

การละหมาดเป็นศาสนกิจอันหนึ่งที่จะช่วยสานสายสัมพันธ์อันดีงามและมั่นคงระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับบ่าวของพระองค์ นับตั้งแต่เราเริ่มกล่าวตักบีรฺ(อัลลอฮุ อักบัรฺ) ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ขณะนี้บ่าวกำลังเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ พระองค์ผู้ทรงสร้าง  เพราะว่าตั้งแต่ตักบีรจนถึงการให้สลาม เราจะเห็นได้ว่ากิริยามารยาทและทุกอิริยาบทที่ถูกแสดงออกมาในช่วงประกอบพิธีละหมาดนั้น คืออิริยาบทของบ่าวผู้อ่อนแอที่กำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระองค์อัลลอฮฺ

อีกหลักฐานหนึ่งที่จะช่วยบ่งชี้ว่า การละหมาดคือการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺก็คือ เวลาที่ผู้ละหมาดอ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ในทุกๆ      ร๊อกอัตของการละหมาด ทุกๆ อายัตที่เขาได้อ่านในสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺนั้น อัลลอฮฺจะทรงตอบรับดังที่มีรายงานในหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม (รายงานโดย มุสลิม)

ส่วนหนึ่งของประโยชน์สำหรับผู้ที่รักษาไว้ซึ่งการละหมาดก็คือ การละหมาดจะช่วยชำระบาป และจะช่วยชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ หรือบาปอันเป็นสิ่งโสโครกที่ติดอยู่ให้หมดสิ้นไป ดัง    หะดีษที่มีความว่า พวกท่านลองตอบสิว่า ถ้าหากว่าหน้าประตูบ้านของพวกท่านมีแม่น้ำไหลผ่าน เพื่อที่พวกท่านจะได้อาบน้ำชำระร่างกายห้าครั้งในทุกๆวัน แล้วท่านยังจะมีสิ่งสกปรกหรือกลิ่นตัวติดหรือค้างอยู่อีกไหม?  บรรดาผู้ที่ฟังท่านอยู่ตอบว่า จะไม่มีสิ่งสกปรกลงเหลือเลย  ท่านก็กล่าวอีกต่อไปว่า ดังนั้นการละหมาดห้าเวลาก็เช่นกัน อัลลอฮฺจะทรงชำระบาปและความผิดต่างๆ ของพวกท่านด้วยการละหมาด (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า การละหมาดห้าเวลาและการละหมาดญุมอะฮฺ (ละหมาดวันศุกร์) หนึ่งไปยังอีกญุมอะฮฺหนึ่ง มีผลตอบแทนคืออัลลอฮฺจะทรงไถ่โทษ (ชำระบาป) ในสิ่งที่ไม่ไช่บาปใหญ่ (รายงานโดย มุสลิม)

การละหมาดมิใช่เพียงแต่สามารถชำระบาปและสิ่งโสโครกเท่านั้น แต่การละหมาดยังสามารถสร้างเกราะป้องกันบาปอีกด้วย ดังดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

إِنَّ الصَّلاَةَ تَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاء وَالْمُنكَرِ (سورة العنكبوت:45)

แท้จริงการละหมาดสามารถยับยั้งมิให้กระทำความโสมมและความชั่ว (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อันกะบูต : 45)  

          นั่นเป็นเพราะว่าการละหมาดคือแสงสว่างที่จะช่วยส่องจิตใจของผู้ศรัทธาบนโลกนี้และในวันอาคิเราะฮฺ ท่านรอซูลได้กล่าวไว้มีความว่า การละหมาดนั่นคือแสงสว่าง (รายงานโดยมุสลิม)

ซึ่งใครก็ตามที่รักษาไว้ซึ่งการละหมาดเขาจะได้รับแสงสว่างและความสำเร็จในวันอาคิเราะฮฺ

- ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การละหมาดมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นหลักการข้อที่สองของรุก่นอิสลาม(หลักการอิสลาม)

2.การละหมาดคือการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺที่มุสลิมทุกคนต้องดำรงไว้อย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ

3.การละหมาดเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของผู้เป็นบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา

4.การละหมาดห้าเวลาสามารถเป็นได้ทั้งการชำระล้างบาปและสิ่งสกปรกในจิตใจของมนุษย์ และยังเป็นเกราะกำบังจากการล่อลวงของชัยฏอนที่คอยชักจูงมนุษย์ในทางที่ผิด

5.การละหมาดเป็นแสงสว่างให้กับมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

- คำถามหลังบทเรียน

1.ท่านคิดว่าเหตุใดมุสลิมจึงต้องรักษาการละหมาดห้าเวลาทุกวัน?

2.ท่านคิดว่าการละหมาดมีผลทางจิตใจของท่านอย่างไรบ้าง?

3.ท่านเห็นว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้การละหมาดของท่านสมบูรณ์ และมีประโยชน์ต่อท่าน?

Translations ( 1 )
Also... ( 2 )
Go to the Top