His position and the importance of supplication

Articles Subject Information
Title: His position and the importance of supplication
Language: Thai
The Writer: Safi Othman
Short Discription: Talk in a brief statement of his home to pray for and importance of person Momin.
Addition Date: 2008-04-24
Short Link: http://IslamHouse.com/124727
This address categorized objectively under the following classifications
Translation of Subject Description: Thai - Arabic - Bengali - Malayalam - Bosnian - Uzbek - Turkish
Detailed Description

ในจำนวนความสำคัญของดุอาอ์ที่พอจะรวบรวมได้ ณ ที่นี้ คือ

1. ดุอาอ์ นั้นคือ อิบาดะฮฺ

ในอัล-กุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

وقال ربكم ادعوني أستجب لكم إن الذين يستكبرون عن عبادتي سيدخلون جهنم داخرين (سورة غافر : 60)

ความหมาย พระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านได้มีดำรัสว่า จงขอดุอาอ์ต่อฉันเถิด แล้วฉันจะตอบรับให้แก่พวกท่าน แท้จริงบรรดาผู้ยโสต่อการอิบาดะฮฺแก่ฉันจะได้เข้านรกญะฮันนัมด้วยความน่าอดสูยิ่ง

จากอายะฮฺนี้ และจากหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

الدعاء هو العبادة ( رواه أبو داود والترمذي والبغوي، انظرصحيح الترمذي 1/138)

ความหมาย ดุอาอ์นั้นคืออิบาดะฮฺ

จะสังเกตได้ถึงการให้ความสำคัญของอิสลามกับดุอาอ์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เรียกดุอาอ์ว่า อิบาดะฮฺในขณะที่ไม่พบมีการเรียกเช่นนั้นกับอามัลอื่น กรณีนี้คล้ายๆ กับที่ท่านเคยกล่าวว่า หัจญ์นั้นคือการวุกูฟ(หยุดพัก)ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ คือแกนสำคัญของอิบาดะฮฺหัจญ์ทั้งหมดนั่นเอง (ดูเพิ่มใน บักรฺ อบู ซัยด์, ตัศฮีหฺ อัด-ดุอาอ์ หน้า 18 )

2. การขอดุอาอ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺให้เกียรติ

ในหะดีษที่รายงานโดยอบีฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

ليس شيء أكرم على الله من الدعاء ( أحمد والبخاري في الأدب المفرد والترمذي والحاكم، وحسنه الألباني صحيح الأدب المفرد : 549)

ความหมาย ไม่มีสิ่งใดที่จะมีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ มากไปกว่าการดุอาอ์

ทั้งนี้ผู้ที่ขอดุอาอ์จะไม่รับความเสียหายอย่างใดเลยไม่ และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่ละอายอย่างยิ่งที่จะปฏิเสธการขอของบ่าวดังหะดีษ

إن ربكم تبارك وتعالى حيي كريم يستحيي من عبده إذا رفع يديه إليه أن يردهما صفر ( أبو داود والترمذي وابن ماجه والبغوي، وانظر صحيح الترمذي 3/179 وصحيح ابن ماجه  3865)

ความหมาย แท้จริงพระผู้อภิบาลของพวกท่านซึ่งทรงประเสริฐและสูงส่งนั้น เมื่อเห็นบ่าวผู้ใดได้ยกสองมือสู่พระองค์แล้ว พระองค์เป็นผู้ที่ทรงละอายและเปี่ยมประทานยิ่ง ที่จะปล่อยให้เขากลับด้วยมือเปล่า

ดังนั้น การขอดุอาอ์ของบ่าวนั้น กรณีการตอบรับมีอยู่สามประการด้วยกัน ดังมีระบุในหะดีษ

ما من مسلم يدعو الله بدعوة ليس فيها إثم ولا قطيعة رحم إلا أعطاه الله بها إحدى ثلاث : إما أن تعجل له دعوته، وإما أن يدخرها له في الآخرة، وإما أن يصرف عنه من السوء مثلها ( أحمد والترمذي، صحيح الترمذي 3/140 )

ความหมาย ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ ด้วยดุอาอ์ที่ไม่ประกอบด้วยบาป และการตัดขาดกับญาติมิตร นอกเสียจากพระองค์จะทรงประทานให้เขาหนึ่งในสามประการ นั่นคือ พระองค์อาจจะให้เขาสมหวังกับสิ่งที่เขาขอทันทีในโลกนี้ หรือพระองค์อาจจะเก็บมันไว้ให้เขาในโลกหน้า หรือพระองค์อาจจะลบล้างสิ่งชั่วร้ายที่ทัดเทียมกับสิ่งที่เขาขอเพื่อทดแทนกัน

3. ดุอาอ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺรัก

ในหะดีษที่รายงานโดยอิบนุ มัสอูด รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

سلوا الله من فضله فإن الله يحب أن يسأل (الترمذي في كتاب الدعوات باب انتظار الفرج، وضعفه)

ความหมาย พวกท่านจงขอความประเสริฐของอัลลอฮฺจากพระองค์เถิด เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงรักที่จะถูกขอจากพระองค์

หะดีษข้างต้นที่แม้จะมีสายรายงานที่อ่อน กระนั้นก็ได้หลักฐานอื่นๆ ที่มีน้ำหนักพอจะเอามาใช้เพื่ออ้างสนับสนุนได้ เช่น ดำรัสของอัลลอฮฺที่ได้ตรัสว่า

واسألوا الله من فضله (سورة النساء : 32)

ความหมาย และพวกท่านจงขอความประเสริฐของอัลลอฮฺจากพระองค์เถิด

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การไม่ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ทรงโกรธ ดังหะดีษ

من لم يسأل الله يغضب الله عليه ( أحمد والترمذي وابن ماجه والحاكم والبخاري في الأدب المفرد، وحسنه الألباني في الأدب المفرد 512)

ความหมาย ผู้ใดที่ไม่ขอจากอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทรงโกรธเขา

4. เป็นสิ่งที่กระทำได้ง่ายที่สุดทุกที่ทุกเวลา

ในหะดีษที่รายงานโดยอบี ฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

أعجز الناس من عجز عن الدعاء وأبخل الناس من بخل بالسلام (ابن حبان، انظر السلسلة الصحيحة 154)

ความหมาย คนที่อ่อนแอที่สุด คือคนที่อ่อนแอแม้เพียงจะขอดุอาอ์ และผู้ที่ตระหนี่ที่สุด คือผู้ที่ไม่ยอมแม้เพียงจะกล่าวสลาม

อันเนื่องมาจาก การขอดุอาอ์นั้นสามารถปฏิบัติได้ง่าย ไม่มีเงื่อนไขอะไรมากมาย ไม่จำกัดเวลาสถานที่ โอกาส หรืออิริยาบท ไม่ว่าจะด้วยภาษาใด ดังนั้นการละเลยโดยไม่ให้ค่ากับดุอาอ์จึงนับเป็นความอ่อนแอของบ่าวที่เห็นได้ชัดยิ่ง ทั้งนี้เพราะอัลลอฮฺนั้นทรงเตรียมพร้อมที่จะประทานความเมตตาแห่งพระองค์ให้เขาทุกเวลา ทว่าตัวบ่าวเองนั้นไม่รู้จักตักตวงสิ่งที่พระองค์เตรียมไว้ให้เขา

5. ดุอาอ์เป็นเหตุระงับตักดีรไม่พึงประสงค์

มีรายงานในหะดีษว่า

لا يرد القدر إلا الدعاء (أحمد وابن ماجه، وحسنه الألباني كما في الصحيحة 154)

ความหมาย ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะระงับต้านตักดีร(กำหนดการของอัลลอฮฺ)ได้ นอกจากดุอาอ์

อัช-เชากานีย์ ได้อธิบายว่า ในหะดีษนี้เป็นหลักฐานว่า อัลลอฮฺจะยกเลิกสิ่งที่พระองค์ได้กำหนดแล้วว่าจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยการขอดุอาอ์ของเขา (ดู ตุหฺฟะตุซ ซากิรีน หน้า 29 )

ในความหมายที่คล้ายกันมีหะดีษอีกบทหนึ่งว่า

لا يغني حذر من قدر والدعاء ينفع مما نزل ومما لم ينزل وإن الدعاء ليلقى البلاء فيتعلجان إلى يوم القيامة (الطبراني والحاكم والبزار، وحسنه الألباني في صحيح الجامع 7739)

ความหมาย การระวังตนไม่มีผลต่อกำหนดที่อัลลอฮฺได้วางไว้แล้ว ดุอาอ์นั้นจะมีประโยชน์ทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและที่ยังไม่เกิดขึ้นอีก ดุอาอ์กับกำหนดการทดสอบนั้นจะพบกัน(ก่อนที่มันจะลงมาโดนมนุษย์) แล้วทั้งสองก็จะปะทะต่อสู้กันจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ

คำอธิบายเปรียบเปรยนี้น่าจะให้ความหมายที่ชัดเจนว่าดุอาอ์จะเป็นตัวที่คอยระงับสิ่งที่เลวร้ายซึ่งอัลลอฮฺกำหนดให้เกิดกับมนุษย์เพื่อเป็นบททดสอบเขา แต่ถูกระงับและยกเลิกด้วยการที่บ่าวได้จริงจังในการขอวิงวอนให้อัลลอฮฺปัดเป่าความเลวร้ายเหล่านั้นให้พ้นไป

ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงได้ใช้และสนับสนุนอย่างจริงให้ขอดุอาอ์ ดังหะดีษ

من فتح له منكم بان الدعاء فتحت له أبواب الرحمة وما سئل الله شيئا يعطى أحب إليه من أن يسأل العافية إن الدعاء ينفع مما نزل ومما لم ينزل فعليكم عباد الله بالدعاء (الترمذي، وحسنه الألباني في صحيح الجامع 3409)

ความหมาย ผู้ใดที่ได้รับการชี้นำสู่ประตูแห่งการขอดุอาอ์ แน่แท้ว่าเขาได้ถูกประตูแห่งความเมตตาแก่เขาแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่ถูกขอจากอัลลอฮฺจะเป็นที่โปรดปรานมากไปกว่าการขอความอยู่รอดปลอดภัย แท้จริงดุอาอ์นั้นมีคุณทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและที่ยังไม่เกิดขึ้นอีก ดังนั้น ปวงบ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย พวกท่านจึงต้องใช้การขอดุอาอ์ 

วัลลอฮฺ อะอฺลัม

Related Topics ( 1 )
Go to the Top