Ҳожилар қурбонликлари
- ประเภทของสัตว์ที่ใช้ทำฮัดย์*
สัตว์ที่อนุญาตให้ใช้ทำฮัดย์ต้องเป็นสัตว์จำพวกอูฐ หรือ วัว หรือแพะ หรือแกะเท่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
((وَلِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنسَكًا لِّيَذْكُرُواْ اسْمَ اللَّهِ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِّن بَهِيمَةِ الأنْعَاـمِ فَإِلَـهُكُمْ إِلَـهٌ وَحِدٌ فَلَهُ أَسْلِمُواْ وَبَشِّرِ الْمُخْبِتِينَ)) [سورة الحج/34]
“และสำหรับทุก ๆ ประชาชาติเราได้กำหนดสถานที่ทำพิธีกรรม เพื่อพวกเขาจักได้กล่าวพระนามของอัลลอฮ์ ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา คือสัตว์สี่เท้า (เช่น อูฐ วัว แพะ แกะ) ฉะนั้นพระเจ้าของพวกเจ้าคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นสำหรับพระองค์เท่านั้น พวกเจ้าจงนอบน้อมและจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้จงรักภักดีนอบน้อมถ่อมตนเถิด” (อัลหัจญ์, 34)
“สัตว์สี่เท้า” ในที่นี้หมายถึง อูฐ วัว แพะ และแกะ
แพะและแกะหนึ่งตัวใช้ได้สำหรับคนเพียงหนึ่งคนเท่านั้น ส่วนอูฐ หรือวัวหนึ่งตัวใช้ได้สำหรับคนเจ็ดคน
ญาบิร เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
{ أَمَرَنا رسول الله صلى الله عليه وسلّم أن نشتركَ في الإبل والبقر، كلُّ سبعةٍ منا في بَدَنة [متفق عليه] “ท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้สั่งให้พวกเราร่วมหุ้นกันในอูฐหนึ่งตัว หรือวัวหนึ่งตัว ทุกๆเจ็ดคนในหมู่พวกเรา(จะร่วมหุ้นกัน)ในอูฐหนึ่งตัว” (มุตตะฟักอะลัยฮฺ) เงือนไขของสัตว์ที่ใช้เชือดฮัดย์ต้องประกอบด้วย 1. ต้องมีอายุครบสมบูรณ์ตามเกณฑ์ นั่นคือ - อูฐ ต้องมีอายุครบห้าปีบริบูรณ์ - วัว ต้องมีอายุครบสองปีบริบูรณ์ - แพะ ต้องมีอายุครบหนึ่งปีบริบูรณ์ - แกะ ต้องมีอายุครบหกเดือนบริบูรณ์ ส่วนสัตว์ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
{ لا تذبحوا إلا مُسنة إلا أن يَعسر عليكم فتذبحوا جذعةً من الضأن } [رواه الجماعة إلا البخاري] { “สี่ประเภท นั่นคือ สัตว์ที่ขาเป๋อย่างชัดเจน สัตว์ที่ตาบอดข้างอย่างชัดเจน สัตว์ที่ป่วยอย่างชัดเจน และสัตว์ที่ผอมแห้งจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้” ส่วนตำหนิต่างๆที่น้อยกว่านั้น เช่นตำหนิที่หู และเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่มักรูฮฺ (น่ารังเกียจที่จะใช้ทำฮัดย์) แต่ไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามตามทัศนะที่มีน้ำหนักกว่า ส่วนลักษณะที่ควรจะมีสำหรับสัตว์ที่จะใช้ทำฮัดย์ คือควรจะเป็นสัตว์ที่อ้วนท้วน แข็งแรง ร่างใหญ่ ดูสวยงาม และยิ่งดีเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่พอใจของอัลลอฮฺ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ดี ซึ่งพระองค์จะไม่ทรงรับนอกจากสิ่งที่ดีเท่านั้น สถานที่ที่อนุญาตให้เชือดสัตว์ฮัดย์ คือ มีนา และอนุญาตให้เชือดที่มักกะฮฺ และในเขตหะรอมอื่นๆ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า { كل فجاج مكة منحرٌ وطريقٌ } “ทุกๆ ซอกของมักกะฮฺคือสถานที่สำหรับเชือดฮัดย์และเป็นเส้นทางเดิน” (บันทึกโดยอบูดาวูด) อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า “เขตหะรอมทุกแห่งคือสถานที่เชือดสัตว์ฮัดย์ ที่ไหนก็ตามที่มีการเชือดถือว่าใช้ได้ทั้งในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ” ดังนั้น ถ้าการเชือดฮัดย์ที่มักกะฮฺเป็นประโยชน์ต่อบรรดาผู้ที่ขัดสนมากกว่า (การเชือดที่อื่น) ก็ (ส่งเสริม) ให้เขาเชือดที่มักกะฮฺ ไม่ว่าจะเชือดในวันอีด หรือในสามวันให้หลัง และผู้ใดเชือดสัตว์ฮัดย์นอกเขตหะรอม ไม่ว่าจะเป็นที่อะเราะฟะฮฺ หรือเขตหะลาลอื่นๆ ถือว่าการเชือดของเขาใช้ไม่ได้ตามทัศนะที่มัชฮูร เวลาสำหรับการเชือดสัตว์ฮัดย์ (จะเริ่มตั้งแต่) วันอีดหลังจากเวลาได้ผ่านไปประมาณช่วงเวลาของการละหมาด (อีด) นั่นคือ หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นสูงประมาณหนึ่งไม้สอย จนถึงพลบค่ำของวันตัชรีก (ค่ำของวันที่ 13 ซุลหิจญะฮฺ) เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้เชือดสัตว์ฮัดย์ของท่านในเวลาสาย (ฎุฮา) ของเช้าวันอีด ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า { كل أيام التشريق ذبح } “ทุกๆวันตัชรีก (วันที่ 11-13 ซุลหิจญะฮฺ) คือวันเชือด” ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้เชือดฮัดย์ตะมัตตุอฺ และกิรอนก่อนวันอีด (หมายถึงก่อนการละหมาดอีด) เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่เคยเชือดสัตว์ฮัดย์ก่อนวันอีด และท่านกล่าวว่า { خُذوا عني مناسككم } “พวกเจ้าจงเอาแบบอย่างการทำหัจญ์จากฉัน” เช่นเดียวกับที่ไม่อนุญาตให้ชักช้าในจนเลยวันตัชรีกไปแล้ว เพราะ (หลังจากวันตัชรีก ถือว่าเป็นวันที่) พ้นเขตของวันแห่งการเชือดแล้ว และอนุญาตให้ทำการเชือดในสี่วันนี้ (วันอีด และวันตัชรีก นั่นคือสามวันหลังจากนั้น) ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่การเชือดกลางวันถือว่าประเสริฐกว่า การเชือดอูฐ สุนนะฮฺให้เชือดแบบนะหัรขณะที่อูฐกำลังยืนอยู่ ในสภาพที่มือข้างซ้ายของอูฐถูกมัดไว้ และถ้าไม่สะดวกที่จะเชือดขณะที่อูฐกำลังยืนอยู่ ก็ให้เชือดขณะที่อูฐกำลังนั่งคุกเข่าลงกับพื้น ส่วนการเชือดสัตว์จำพวกอื่นจากอูฐ สุนนะฮฺให้เชือดแบบซับหฺในสภาพที่นอนตะแคงบนสีข้าง ส่วนความแตกต่างระหว่างการเชือดแบบนะหัรกับการเชือดแบบซับหฺ คือ การเชือดแบบนะหัรเป็นการเชือดในช่วงล่างสุดของคอก่อนถึงหน้าอก ส่วนการเชือดแบบซับหฺ คือการเชือดในช่วงบนสุดของคอก่อนถึงหัว ทั้งการเชือดแบบนะหัรและการเชือดแบบซับหฺจำเป็นต้องให้มีการหลั่งเลือดออกมา ด้วยการตัดเส้นเลือดที่คอทั้งสองเส้น เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
{ ما أنهر الدم وذُكرَ اسم الله عليه فكلوا ما لم يكن سِناً أو ظُفرا } [متفق عليه] “สัตว์ที่มีการหลั่งเลือดออกมา และมีการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ พวกเจ้าก็จงทานมัน ตราบใดที่มันไม่ใช่ฟันและเล็บ” (มุตตะฟักอะลัยฮฺ) ผู้ที่ดำเนินการเชือดจำเป็นต้องกล่าวคำว่า “บิสมิลลาฮฺ” ขณะเริ่มทำการเชือดซับหฺและนะหัรด้วย ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้ทานสัตว์เชือดที่ไม่มีการเอ่ยพระนามของอัลลอฮฺขณะที่เริ่มเชือด เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสว่า ((وَلاَ تَأْكُلُواْ مِمَّا لَمْ يُذْكَرِ اسْمُ اللَّهِ عَلَيْهِ وَإِنَّهُ لَفِسْقٌ وَإِنَّ الشَّيَـطِينَ لَيُوحُونَ إِلَى أَوْلِيَآئِهِمْ لِيُجَـدِلُوكُمْ وَإِنْ أَطَعْتُمُوهُمْ إِنَّكُمْ لَمُشْرِكُونَ)) [سورة الأنعام، 121] “และพวกเจ้าจงอย่าบริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์มิได้ถูกกล่าวบน มัน และแท้จริงมัน เป็นการละเมิดแน่ๆ และแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหาย ของมัน เพื่อพวกเขา จะได้โต้เถียงกับพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังพวกเขา แน่นอนพวกเจ้าก็เป็นผู้ให้มีภาคีขึ้น” (อัลอันอาม, 121) อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับวิธีการแจกจ่ายเนื้อฮัดย์ว่า " “ดังนั้นพวกเจ้าจงกินเนื้อมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน” (อัลหัจญ์, 28) ตามสุนนะฮฺของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้นำเนื้อฮัดย์มาทานส่วนหนึ่ง และนำอีกส่วนหนึ่งมาปรุงเป็นอาหารเลี้ยงผู้คน และไม่เป็นการเพียงพอกับการเชือดฮัดย์แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ โดยปราศจากการนำส่วนหนึ่งไปบริจาคทานและอีกส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์(ด้วยการปรุงเป็นอาหาร) เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการทำลายทรัพย์สินโดยเปล่าประโยชน์ และไม่ได้นำมันมาใช้เลี้ยงอาหารตามที่อัลลอฮฺทรงสั่งไว้ นอกจากว่าจะมีบรรดาผู้อนาถาอยู่ในบริเวณนั้น ดังนั้นจึงอนุญาตให้เขาเชือดฮัดย์แล้วส่งมอบ (ทั้งตัว) ให้แก่พวกเขา (โดยปราศจากการแตะต้องใดๆ) ดังนั้น ผู้ทำหัจญ์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับฮัดย์ในทุกๆด้าน เพื่อให้ฮัดย์ของเขาถูกรับ เป็นสิ่งที่นำไปสู่การใกล้ชิดอัลลอฮฺ และยังประโยชน์แก่บ่าวของพระองค์ พึงตระหนักว่า การที่ผู้ปฏิบัติหัจญ์ตะมัตตุอฺและกิรอนถูกบังคับ (วาญิบ) ให้เชือดฮัดย์ หรือถือศิยามในกรณีที่ไม่มีความสามารถนั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าปรับสำหรับเขา และไม่ได้เป็นการทรมานเขาโดยปราศจากผลประโยชน์ แต่ที่บังคับเช่นนั้นก็เพื่อให้อิบาดะฮฺหัจญ์ของเขาได้สำเร็จและสมบูรณ์ลงอย่างเต็มรูปแบบ และมันเป็นส่วนหนึ่งจากความเมตตาและคุณธรรมของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงบัญญัติแก่บ่าวของพระองค์ในสิ่งที่ทำให้อิบาดะฮฺของพวกเขาสมบูรณ์ลง ทำให้พวกเขาได้ใกล้ชิดพระองค์ ทำให้มรรคผลของพวกเขาเพิ่มพูน ทำให้สถานะของพวกเขาสูงขึ้น ทั้งยังเป็นการใช้จ่ายที่ได้รับการทดแทน และเป็นการแสวงหาที่ได้รับการขอบคุณ นี่คือความโปรดปรานจากอัลลอฮฺที่ควรค่าแก่การขอบคุณด้วยการเชือดฮัดย์ หรือกระทำการ (ใดๆเพื่อเป็นการ) ทดแทน ด้วยเหตุนี้เลือดของฮัดย์ที่หลั่งออกมาคือเลือดของการขอบคุณ ไม่ใช่เลือดของการบังคับ ดังนั้นผู้ทำหัจญ์จึงสามารถทานจากเนื้อของมัน ทำเป็นของกำนัล และบริจาคทาน มีประชาชนจำนวนมากที่ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ใหญ่หลวงนี้ และพวกเขาไม่ได้คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ดังนั้นจึงพบว่าพวกเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงจากการถูกบังคับให้เชือดฮัดย์ และพยายามทำให้ไม่ต้องเชือดด้วยวิธีการต่างๆ กระทั่งว่า มีบางคนเนียตทำหัจญ์มุฟร็อดเพียงเพราะต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนต้องเชือดฮัดย์หรือถือศิยามชดเชย ดังนั้น จึงเท่ากับว่าเขาได้สกัดกั้นตัวเองจากผลบุญของการทำหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ และผลบุญของการเชือดฮัดย์ หรือสิ่งที่ทำชดเชยจากมัน วัลลอฮุลมุสตะอาน. ------------------------------ *สัตว์ฮัดย์คือ สัตว์ที่ผู้ทำหัจญ์ตะมัตตุอฺ และหัจญ์กิรอน ใช้เชือดในวันที่สิบและวันตัชรีก - บรรณาธิการ
“พวกเจ้าจงอย่าเชือด (สัตว์สำหรับฮัดย์และอุฎหิยะฮฺ) นอกจาก (สัตวที่มีอายุในระยะที่เรียกว่า) มุสินนะฮฺ (หมายถึงช่วงอายุอูฐ วัว และแพะที่มีอายุตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น) นอกจากว่าจะเป็นการลำบากแก่พวกเจ้า ดังนั้นจึงอนุญาตให้พวกเจ้าเชือดแกะ (ที่มีอายุในระยะที่เรียกว่า) ญิซอะฮฺ” (หมายถึงแกะที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป) (บันทึกโดยญะมาอะฮฺนอกอัลบุคอรีย์)
1. สัตว์ที่ตาบอดข้างหนึ่งอย่างชัดเจน และตาบอดทั้งสองข้างถือว่ายิ่งมีตำหนิที่น่าเกลียด ดังนั้นจึงถือว่าใช้ไม่ได้
2. สัตว์ที่ป่วยอย่างชัดเจน เช่นป่วยด้วยโรคเรื้อนหรืออื่นๆ
3. สัตว์ที่ขาเป๋ (พิการ) อย่างชัดเจน เป้นอัมพาตที่ไม่สามารถเดินได้ และขาขาดข้างใดข้างหนึ่งถือว่ายิ่งมีตำหนิที่น่าเกลียด
4. สัตว์ที่ผอมแห้งจนไม่มีไขในกระดูก
อิมามมาลิกได้รายงานจากอัลบัรรออฺ บิน อาซิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า มีคนถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า “สัตว์อุฎหิยะฮิประเภทใดที่จำเป็นต้องหลีกห่าง?” ดังนั้นท่านจึงชี้ด้วยมือแล้วกล่าวว่า